Posts by obels office_obels

แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย

แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้าพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมและการค้าชายแดนระหว่างพรมแดนเชียงรายของประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญอย่าง สปป.ลาว และเมียนมา สำหรับการวิเคราะห์งานวิจัยชิ้นนี้ ได้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย (Gross Provincial Products: GPP) จำนวนประชากร ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อประชากร และมูลค่าการค้าชายแดน การส่งออกและการนำเข้า รวมทั้งดุลการค้าชายแดน ครอบคลุมระยะเวลา 10 ปีตั้งแต่ปีพ.ศ.2547 ถึง...

ความยากง่ายในการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ความยากง่ายในการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

การจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน (World Competitiveness Rankings) ของสถาบัน International Institute for Management Development (IMD) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี 2556 พบว่า ไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันอันดับที่ 27 จาก 60 ประเทศทั่วโลก ...

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดเชียงราย: มุมมองด้านการค้า แรงงาน และสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดเชียงราย: มุมมองด้านการค้า แรงงาน และสิ่งแวดล้อม

ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมขึ้นอย่างมหาศาล  ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ นอกจากจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคม แล้วยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม อันเป็นสาเหตุของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญๆ เช่น สภาวะโลกร้อน มลภาวะทางน้ำ และ มลภาวะทางอากาศ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะมองเพียงแค่ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาหลักที่ควรศึกษาอย่างเดียวไม่ได้ เพราะหากมองเช่นนั้น ก็เท่ากับว่าเรากำลังเพียรพยายามที่จะเข้าใจปัญหาแบบการถ่ายรูป “ยอดภูเขาน้ำแข็ง” ซึ่งเห็นเพียงแต่ยอดที่ลอยพ้นน้ำเท่านั้น แต่มองไม่เห็นฐานภูเขาน้ำแข็งที่ลึกและกว้างกว่ายอดมาก...

ความท้าทายในการบริหารจัดการพื้นที่เชียงของ

ความท้าทายในการบริหารจัดการพื้นที่เชียงของ

อำเภอเชียงของกำลังจะเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ หากได้รับการบริหารจัดการที่ดีก็จะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่อย่างก้าวกระโดด ถ้าเป็นในทางตรงกันข้ามคนในพื้นที่ก็จะได้รับผลกระทบรุนแรงและกว้างขวาง การบูรณาการจากทุกภาคส่วนจึงมีความสำคัญยิ่งยวด ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน บทความนี้จะเริ่มด้วยการฉายภาพการเปลี่ยนแปลงของเชียงของในช่วง 5 ปีที่ผ่าน ตามด้วยรายละเอียดโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ สุดท้ายจะนำเสนอประเด็นท้าทายในมิติต่างๆ ที่ต้องได้รับการบูรณาการประกอบการตัวเลขประมาณการต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพที่จะเกิดขึ้นใน 10 ปีข้างหน้า ข้อมูลเหล่านี้ได้จากสำรวจข้อมูลในพื้นที่ เก็บข้อมูลสถิติจากหน่วยงานต่างๆ และสัมภาษณ์ผู้กำหนดนโยบายในระดับพื้นที่ เช่น ปลัดอำเภอ นายองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ...

A Preliminary Study of Tourism Competitiveness in Thailand:  An Approach to Revealed Comparative Advantage Index

A Preliminary Study of Tourism Competitiveness in Thailand: An Approach to Revealed Comparative Advantage Index

This study aims to explore tourism competitiveness in Thailand and Asian countries. The revealed comparative advantage (RCA) measure is employed...

เข้าสัมภาษณ์และขอข้อมูลจากหอการค้าจังหวัดตาก

เข้าสัมภาษณ์และขอข้อมูลจากหอการค้าจังหวัดตาก

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2556 ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เข้าสัมภาษณ์และขอข้อมูลจากหอการค้าจังหวัดตาก ในเรื่อง “ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนและสังคมเมืองชายแดนในเขตภาคเหนือต่อนโยบายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาเมืองชายแดนจังหวัดเชียงรายและจังหวัดตาก” ณ ห้องประชุมสำนักงานหอการค้าจังหวัดตาก สำนักงานแม่สอด

พฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

พฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 โอเบลส์โพล (OBELS Poll) ที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ (OBELS) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เผยผลสำรวจเกี่ยวกับ “พฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย” พบว่า นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศส่วนใหญ่ต้องการที่จะเข้าไปเที่ยวในเชียงของโดยตรง และไม่คิดว่าปัญหาทางด้านการเมือง รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการมาท่องเที่ยวในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

1409257415-1057199610-o

วรรณกรรมชายแดนปริทัศน์ กับ ทุนนิยมชายแดน นิคมยางพารา และการเปลี่ยนแปลงของสังคมเกษตรกรรมในลาวใต้

หลังจากที่สงครามเวียดนามสิ้นสุดลงในปีค.ศ. 1973 ลาวได้ประกาศตนเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปีค.ศ. 1975 และปีค.ศ. 1986 ชนชั้นนำลาวได้หันเหทิศทางการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ในประเทศการที่จะพัฒนาประเทศให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้ ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนชุดความรู้คำอธิบาย เพื่อรองรับและสร้างความชอบธรรมให้กับการพัฒนานั้น ด้วยความที่หลังปี ค.ศ.1975 ลาวมีระบบการเมืองการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ ดังนั้นในทางกฎหมายแล้วเท่ากับว่าการตัดสินใจ การออกแบบแผนพัฒนา และอำนาจทุกอย่างต้องรวมอยู่ภายใต้รัฐบาลกลางเพียงหน่วยงานเดียว ส่งผลให้การสร้างฉันทามติของการพัฒนาเกิดขึ้นอย่างง่ายดายจากเพียงส่วนกลางเพียงส่วนเดียว แต่ในความเป็นจริงอำนาจท้องถิ่นของชนชั้นนำในแขวงต่างๆก็ยังคงมีอิทธิพลอยู่เช่นกัน เป็นช่องว่างทำให้ชนชั้นนำในท้องถิ่นอ้างอิงฉันทามติของรัฐส่วนกลาง...

ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของจังหวัดเชียงราย

ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของจังหวัดเชียงราย

การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขัน (Global Competitiveness Index: GCI) โดย World Economic Forum ซึ่งทำการประเมินความสามารถในการแข่งขันจากปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยยกระดับประสิทธิภาพ และปัจจัยนวัตกรรมและศักยภาพทางธุรกิจชี้ให้เห็นว่า ในปี 2013 ประเทศไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันโดยรวมลดลงจากปีที่ผ่านมา (ลำดับที่ 49) ขณะที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย...

3th Thailand-Lao Friendship Bridge

การส่งเสริมและผลักดันการค้าชายแดนไทย-ลาว สู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจภูมิภาค

ในทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้มีความพยายามที่จะส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยกับสปป.ลาว ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกบริเวณชายแดนไทย-ลาวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 109,000 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งชายแดนของไทยบริเวณชายแดนแถบตะวันออกเฉียงเหนือกับสปป.ลาว มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างมาก หลังจากที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) เริ่มใช้งานในปี 2552 ทำให้ประชาชนชาวไทยและลาวสามารถข้ามไปมาหากันได้ผ่านทางสามจังหวัดที่ติดกับชายแดนทางภาคตะวันออกฉียงเหนือ สปป.ลาว ได้แก่ จังหวัดหนองคาย...

1 17 18 19 20