การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดเชียงราย: มุมมองด้านการค้า แรงงาน และสิ่งแวดล้อม

201603110930291-20021028190531-1

ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมขึ้นอย่างมหาศาล  ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ นอกจากจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคม แล้วยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม อันเป็นสาเหตุของปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญๆ เช่น สภาวะโลกร้อน มลภาวะทางน้ำ และ มลภาวะทางอากาศ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะมองเพียงแค่ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาหลักที่ควรศึกษาอย่างเดียวไม่ได้ เพราะหากมองเช่นนั้น ก็เท่ากับว่าเรากำลังเพียรพยายามที่จะเข้าใจปัญหาแบบการถ่ายรูป “ยอดภูเขาน้ำแข็ง” ซึ่งเห็นเพียงแต่ยอดที่ลอยพ้นน้ำเท่านั้น แต่มองไม่เห็นฐานภูเขาน้ำแข็งที่ลึกและกว้างกว่ายอดมาก

ช่วงระยะเวลา 5 ปีหลังมานี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550–2555 จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ที่มีเขตแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 2 ประเทศ คือ ประเทศเมียนมาร์ และ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันปัญหาหนึ่ง คือ ปัญหาหมอกควันจากการเผาไหม้ ซึ่งก็เป็นหนึ่งในสาเหตุให้เกิดมลภาวะทางอากาศ และ ยังเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาภาวะโลกร้อน

แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะเชื่อว่า สาเหตุของหมอกควันจากการเผาไหม้จะมาจากไปธรรมชาติ หรือ ไฟป่าที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ประเทศชายแดนทั้งสามเป็นพื้นที่การเกษตรสมัยใหม่ มีปฏิทินการผลิตที่แน่นอน ซึ่งก็อาจมีช่วงหนึ่งที่พื้นที่การเกษตรต้องทำการเผาเพื่อเตรียมหน้าดินอย่างพร้อมเพียงกันในช่วงเดือนมกราคม–เมษายนของทุกปี

จากการที่ 5 ปีหลังมานี้ ปริมาตรหมอกควันมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถามคำถามต่อปรากฏการณ์นี้ว่า ภายใต้ปรากฏการณ์หมอกควันไฟที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นในโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบใด

แน่นอนว่าคำตอบเบื้องต้นต่อคำถามดังกล่าวย่อมหลีกหนีไม่พ้นคำว่า โครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และทำให้เกิดคำถามตามมาอีกเช่น ในลักษณะทางภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดชายแดนที่มีเขตแดน โครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบชายแดนส่งผลอย่างไรต่อปรากฏการณ์หมอกควัน

นอกจากนี้ ลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบชายแดนมักเกี่ยวพันกับปรากฏการณ์การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ คำถามคือ ภายใต้โครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบชายแดน มีลักษณะการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างประเทศระหว่างประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร

ขอบคุณรูปภาพจาก matichon

 

Share via
Copy link
Powered by Social Snap