ทีมวิจัย OBELS สำรวจโอกาสเศรษฐกิจบนเส้นทางรถไฟลาว-จีน
เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 2561 คณะวิจัยของสำนักงานเศรษฐกิจชายแดนและโลจิสติกส์ นำทีมโดยอาจารย์มัลลิกา จันต๊ะคาด ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2559 เป็นต้นมา สอดคล้องกับโครงการเส้นทางสายไหมใหม่ (One Belt, One Road : OBOR) ที่จีนได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงประเทศต่างๆในภูมิภาค เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจร่วมกัน จากการโครงการดังกล่าวจึงทำให้สปป.ลาวกลายมาเป็นประเทศผู้เชื่อม (Land linked) อย่างเต็มตัว
ทางคณะจึงได้ทำการสำรวจตั้งแต่แขวงหลวงน้ำทา แขวงอุดมไชย จนถึงแขวงหลวงพระบาง ทั้งทำการเข้าสังเกตกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ประเมินศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนเข้าข้อมูลเชิงลึกจากสภาการค้าของแต่ละแขวงในด้านของการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ตลอดจนความร่วมมือต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์โอกาสทางเศรษฐกิจของโครงการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงลาว-จีนที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต และให้ข้อเสนอแนะทางนโยบายที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งผู้ออกนโยบายภาครัฐ และภาคธุรกิจที่มีความพร้อม ความสนใจในการเข้าไปหาช่องทางลงทุนในสปป.ลาว
สถานีแรก: แขวงหลวงน้ำทา… เมืองท่องเที่ยวธรรมชาติ และเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
แขวงน้ำทาเป็นจุดสำรวจแรกของการที่ทางคณะได้เข้าไป หลังจากเดินทางออกจากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ระยะทางจากแขวงบ่อแก้วถึงแขวงหลวงน้ำทาอยู่ที่ 175 กิโลเมตร สภาพเส้นทางเป็นถนนลาดยาง ไม่ขรุขระ ทำให้ใช้เวลาระยะเวลาไม่มากในการเดินทาง
ตลอดเส้นทางได้พบเห็นการก่อสร้างภายใต้โครงการรถไฟความเร็วสูงลาว-จีน ทั้งที่กำลังปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นถนน และมีการขุดเจาะอุโมงค์ผ่าภูเขา ส่วนตัวเมืองน้ำทา ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของแขวงหลวงน้ำมีขนาดไม่ใหญ่มาก ถนนที่ตัดเข้ามาในตัวเมืองคือถนนเส้นที่เชื่อมมาจากแขวงบ่อแก้ว และสามารถไปต่อยังแขวงอุดมไชย พร้อมทั้งมีสถานีขนส่งที่เชื่อมไปยังแขวงอื่นๆ และสนามบินมีเที่ยวบินมาจากเวียงจันทร์เพียงไม่กี่เที่ยวต่อสัปดาห์ ภายในตัวเมืองจะพบเห็นกลุ่มนักท่องเที่ยวขนาดเล็กชาวต่างชาติแบกกระเป๋าค้นหาที่พักราคาย่อมเยา และสอบถามรายละเอียดทัวร์กับบริษัทที่ตั้งเรียงอยู่ในฝั่งเดียวกัน ทั้งนี้
ทั้งนี้ ทางคณะวิจัยได้โอกาสเข้าสัมภาษณ์สภาการค้าของแขวงหลวงน้ำทาเพื่อขอข้อมูลเชิงพื้นที่ในประเด็นต่างๆ จึงได้ข้อสรุปคร่าวๆ ดังนี้
การค้าและโลจิสติกส์ ด้วยความที่แขวงหลวงน้ำทาเป็นเมืองทางผ่านสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างจีน สปป.ลาว และไทย บนเส้นทาง R3A ทำให้นักธุรกิจจีนเข้ามาลงทุนด้านการเกษตรค่อนข้างมาก ได้แก่ กล้วย ยางพารา และแตงโม ผลจากการลงทุนดังกล่าวทำให้ยางพารา กล้วย และแตงโม กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของหลวงน้ำทาไปยังประเทศจีน
นอกจากนี้หลวงน้ำทายังมีสินค้าทางการเกษตร ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด กาแฟ และชา รวมถึงสินค้าหัตกรรม ได้แก่ ผ้าไหม และเครื่องจักสาน สำหรับเส้นทางการคมนาคมขนส่งสินค้าตามเส้นทาง R3A ถือได้ว่ามีความสะดวกในการขนส่ง เนื่องจากพื้นผิวถนนค่อนข้างดีแม้ว่าจะเป็นถนน 2 เลนเท่านั้น
การลงทุน
การท่องเที่ยว รูปแบบการท่องเที่ยวหลวงน้ำทาจะเป็นการเข้าไปเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน เดินป่า พายเรือคายัค และนอนโฮมสเตย์ชนเผ่า เนื่องจากมีเขตป่าสงวนน้ำห้าที่ทางสหประชาชาติ (UNDP) ได้เข้ามาอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ (Eco-tourism) ส่วนเมืองที่เป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ คือ เมืองสิงห์ ซึ่งเป็นเมืองหลักเก่าของแขวงหลวงน้ำในอดีต และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ความร่วมมือ แขวงหลวงน้ำทามีความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศรอบข้าง ซึ่งตัวอย่างความร่วมมือได้แก่ การร่วมมือกับไทยและจีนในการขยายเวลาเปิดปิดด่านผ่านแดนเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว การสร้างความร่วมมือเพื่อลงทุนด้านการท่องเที่ยวกับประเทศจีน เป็นต้น
สถานีต่อมา: แขวงอุดมไซย… ศูนย์การกลางการบริการ และเมืองท่องเที่ยวเกิดใหม่
…………
จากการเข้าสัมภาษณ์หอการค้าของแขวงอุดมไซยได้ข้อสรุปคร่าวๆในแต่ละประเด็น ดังนี้
การค้าและโลจิสติกส์ แขวงอุดมไซย ตั้งอยู่ในวงล้อมของแขวงพงสาลี หลวงพระบาง ไชยบุรี และหลวงน้ำทา เป็นแขวงที่ไม่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ ฉะนั้นแขวงอุดมไซจึงมีนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยการส่งเสริมเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่ง ขณะที่การค้าของแขวงอุดมไซด้านการเกษตรมีลักษณะคล้ายกับแขวงหลวงน้ำทาโดยสินค้าเกษตรที่ทำการส่งออกส่วนใหญ่เกิดจากการลงทุนของจีน ได้แก่ กล้วย และแตงโม นอกจากนี้ยังมีสินค้าเกษตรอย่างอื่น เช่น ข้าวโพด ลูกเดือย เป็นต้น ซึ่งการส่งออกสินค้าจะเป็นการส่งออกไปยังประเทศจีนเป็นหลัก
ขณะที่การนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากหลวงพระบางเป็นหลัก สำหรับเส้นทางการคมนาคมขนส่งสินค้าของแขวงอุดมไซหากส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนและไทยจะใช้เส้นทาง R3A ซึ่งเส้นทางระหว่างแขวงอุดมไซย-หลวงน้ำทาต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากเส้นทางมีลักษณะคดเคี้ยวตามไหล่เขา ระยะการมองเห็นค่อนข้างจำกัด หากเกิดอุบัติเหตุจะทำให้การขนส่งล่าช้า อีกทั้งการขนส่งสินค้าไปยังเวียดนามจะเป็นเส้นทางจากแชวงอุดมไซยไปยังชายแดนของแขวงพงสาลี
การลงทุน
การท่องเที่ยว
ความร่วมมือ มีความต้องการสร้างความร่วมมือกับไทยในแง่ของการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและโลจิสติกส์เนื่องจากยังมีอุปสรรคหลายประการในการขนส่งถ่ายโอนสินค้ารวมถึงการสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากร นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับเวียดนามในด้านการค้าระหว่างประเทศซึ่งลาวมีแผนที่จะเพิ่มการส่งออกไปยังเวียดนามในปี 2018 นี้
สถานีสุดท้าย: แขวงหลวงพระบาง… เมืองมรดกโลก เขตเศรษฐกิจพิเศษ และการสร้างเมืองใหม่
…………
จากการเข้าสัมภาษณ์หอการค้าของแขวงหลวงพระบางได้ข้อสรุปคร่าวๆในแต่ละประเด็น ดังนี้
การค้าและโลจิสติกส์ การค้าชายแดนของหลวงพระบางได้มีการส่งออกสินค้าทางการเกษตร ได้แก่ ข้าวโพด งา ลูกเดือย กำย่าน ผ้าฝ้าย และของป่า ซึ่งทำให้ส่งออกมายังประเทศไทยเป็นหลัก ขณะที่การส่งออกเป็นยังเวียดนามจะเป็นสินค้าทางด้านปศุสัตว์ ได้แก่ วัว กระบือ รวมถึงสินค้าหัตกรรมอย่างผ้าฝ้ายทอ โดยการนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากประเทศไทยทางจังหวัดหนองคาย เลย และอุตรดิตถ์
สำหรับการสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจเส้นทางระหว่างหลวงพระบาง-ด่านชายแดนห้วยโก๋น จังหวัดน่าน ซึ่งเส้นทางกลับจากหลวงพระบาง-ด่านชายแดนห้วยโก๋น จังหวัดน่าน ตลอดเส้นทางมีช่วงถนนที่พื้นผิวไม่ดี มีหลุมค่อนข้างเยอะระหว่างเส้นทางแยกจากหลวงพระบางเข้าแขวงไชยบุรีก่อนเข้าถึงเมืองหงสา จึงทำให้ไม่นิยมใช้ในการขนส่งสินค้ามากเท่าที่ควร
การลงทุน
การท่องเที่ยว ด้วยความที่แขวงหลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก ทำให้อัตลักษณ์ของความเป็นเมืองเก่าแก่ค่อนข้างมาก จึงมีนักท่องเที่ยวทุกชาติวนเวียนเข้ามาตลอดทั้งปี ซึ่งมีทั้งกลุ่มที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ก็มีน้ำตกกว่างสี ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอย่างมาก นอกจากนั้น บางกลุ่มก็เข้ามาในรูปแบบของการมาทำบุญ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย เนื่องจากมีวัดเก่าแก่ และมีความศักดิ์สิทธิ์จำนวนมากที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองหลวงพระบาง
ความร่วมมือ แขวงหลวงพระบางเป็นแขวงที่ให้บริการด้านการท่องเที่ยวเป็นหลักต้องการสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากรทั้งในด้านของการให้บริการการท่องเที่ยวและในภาคการเกษตรเพื่อสร้างเกษตรกรที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารเข้าสู่ตลาดในพื้นที่
ทั้งนี้ ข้อตกลงด้านการค้าหลายประการตามกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Sub-region: GMS) และการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences – AISP) ได้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการซึ่งเป็นผลดีต่อการส่งออกสินค้าประเภทกสิกรรมของประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทย