แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจชายแดนในยุคดิจิตอล
ช่วงปีค.ศ. 1750 นับว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกที่สร้างจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมด้วยเครื่องจักรไอน้ำ ต่อมาในครั้งที่สองเป็นการกำเนิดของเครื่องปั่นไฟฟ้าในช่วงปีค.ศ. 1870 และครั้งที่สาม คือ การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมในช่วงปีค.ศ. 1969 ซึ่งเปลี่ยนแปลงทั้งวิถีชีวิต วิถีการผลิต และกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จากหน้ามือเป็นหลังมือ
ทันใดนั้น ได้ถือกำเนิดของการปฏิวัติครั้งที่สี่ที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์แบบไม่มีวันหวนกลับ คือ การต่อยอดและการผสมผสานเทคโนโลยี จากการปฏิวัติครั้งที่สาม ซึ่งมีการพึ่งพาและอาศัยการแลกเปลี่ยนของข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการผลิต นำไปสู่การเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ที่มีความสะดวกสบายต่อการใช้งานของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมากขึ้นในระดับของปัจเจกบุคคล
เศรษฐกิจยุคดิจิตอลจึงกลายมาเป็นจุดเชื่อมที่สำคัญของแต่ละประเทศในการออกนโยบาย และยุทธศาสตร์ระดับชาติในการส่งเสริม และออกกฎระเบียบในครอบคลุม ทั้งนี้ เศรษฐกิจในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วผิดจากเศรษฐกิจในยุคก่อน อย่างระบบการเงินก็มีการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ จนเกิดเป็น FinTech (Financial Technology) ที่สามารถทำได้ตั้งแต่การโอนเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ การชำระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องพกเงินสดไปต่อแถวเพื่อชำระเงิน
นอกจากนี้ สิ่งที่พัฒนาไปพร้อมกันคือ ระบบการค้าขายแบบออนไลน์ หรือ E-commerce ที่ทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าลื่นไหลทั่วโลก ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญคงไม่พ้นการพัฒนาของระบบ Hardware อย่าง Smart Phone และ โครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่าง 3G และ 4G ที่เข้าถึงคนทุกกลุ่มทุกชนชั้น จนทำให้เกิดกลุ่มตลาดขนาดใหญ่ ฉะนั้นการผลิตสินค้าและบริการก็จะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ในช่วงเวลาอันสั้นลง ทำให้สินค้าที่ออกมาสู่ตลาดมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด
ขอบคุณรูปภาพจาก thansettakij