ความเชื่อมโยงระหว่างการบิน การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย
ปัจจัยที่ทำให้ผู้โดยสารเติบโต ได้แก่ 1. จำนวนสายการบินเพิ่มขึ้น 2. ราคาตั๋วต่ำลง 3 .โปรโมชั่นจากสายการบิน Happy Hour 4.อุปสงค์การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากวัฒนธรรมล้านนาและเทศกาลต่างๆ 5.การการเตรียมการขยายเส้นทางการบินจากภูมิภาคสู่ภูมิภาค เช่น เชียงราย-อุดร เชียงราย-กระบี่ ที่จะทำให้ผู้โดยสารเดินทางท่องเที่ยวได้สะดวกสบายมากขึ้น ผนวกกับแผนพัฒนาสนามบินในระยะสั้นและระยาวของสนามบินโดยเร่งเตรียมพร้อมเพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น โดยได้มีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารใหม่ เช่น การเพิ่มจำนวนเค้าเตอร์ให้บริการ เพิ่มหลุมจอด และอื่นๆ
“จำนวนผู้โดยสารผ่านสนามบินแม่ฟ้าหลวงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2559 โดยจำนวนผู้โดยสารโตถึง 20% เมื่อเทียบกับสถิติจำนวนผู้โดยสารปี 2558 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีผู้โดยสารมากถึง 172,450 คน และมีแนวโน้มเติบโตที่จะขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
จากโอกาสการเติบโตนี้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมว่ากลุ่มผู้โดยที่เข้ามาเชียงรายได้มีการกระจายตัวไปสู่ภาคเศรษฐกิจอะไรเป็นส่วนใหญ่ หากเราทราบอัตราส่วนการมีส่วนร่วมในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ของผู้โดยสารจะทำให้กำหนดกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เช่น กลุ่มที่เดินทางมาเชียงรายเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อมารักษาพยาบาล มาปฏิบัติธรรม เพื่อการค้าการลงทุน หรือแม้แต่ผ่านเข้ามาเพื่อไปเที่ยวต่อที่คิงโรมันส์ สปป.ลาวกี่คน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาค การท่องเที่ยวและบริการ ควรมีการศึกษาเชิงประจักษ์ว่าภาพการเติบโตของผู้โดยสารเป็นภาพลวงตาหรือไม่ นักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วมีการใช้จ่ายต่อหัวเท่าไหร่ เขามาแล้วไปทานอะไร พักที่โรงแรมไหน เข้าไปสู่ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ไหนบ้าง อีกทั้งระดับความพึงพอใจมากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญในอนาคตผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวมีความต้องการที่จะกลับมาเที่ยวเชียงรายอีกหรือไม่ โจทย์ที่สำคัญคือเราจะทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวอีก ไม่เพียงแค่มาครั้งเดียวแล้วไม่กลับมาอีกเลย ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจเชียงรายเติบโตจึงหนีไม่พ้นรายได้จากการท่องเที่ยว
ขอบคุณรูปภาพจาก Along The Way