ฤาโควิด-19 ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางดิจิทัล

Untitled design

แปลและเรียบเรียงโดย พบกานต์ อาวัชนาการ
เวลาที่ใช้อ่านโดยประมาณ: 6 นาที

 

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ได้เป็นแค่เพียงตัวเร่งปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างทั้งในด้านของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หากแต่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างกลุ่มต่างๆในชนชั้นทางสังคม โดยบทความนี้ชิ้นนี้จะเป็นการแปลและเรียบเรียงบทความของ Sea Insights ซึ่งมีความน่าสนใจอย่างมากต่อการอธิบายถึงผลกระทบการโควิด-19 ในปัจจุบัน ซึ่งการแบ่งแยกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ‘การแบ่งแยกทางดิจิทัล (Digital Divide)’

การแบ่งแยกดังกล่าวเริ่มต้น และถ่างกว่างมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การเกิด digital disruption หรือการที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม การดำเนินธุรกิจ และวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม โดยการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกดิจิทัลที่รุนแรงมากขึ้น

 

การแบ่งแยกทางดิจิทัล ไม่ได้เป็นเพียงแค่การเข้าถึงทางกายภาพเท่านั้น

ในบทความของ Wan, Loh and Tan (2021) ได้ทำการศึกษาประเด็นนี้ โดยใช้งานวิจัยที่มีอยู่ ร่วมกับผลสำรวจ Youth Survey ของ World Economic Forum โดยเมื่อกล่าวถึงการแบ่งแยกทางดิจิทัล สิ่งที่คนส่วนใหญ่นึกถึง ก็คือ การเข้าถึงสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการแบ่งทางดิจิทัล มีความซับซ้อนมากขึ้นและครอบคลุมมากกว่าแค่การเข้าถึงทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน หรือ อินเตอร์เน็ต เท่านั้น สามารถที่จะจำแนกอุปสรรคที่ทำให้เกิดการแบ่งทางดิจิทัลออกเป็น 4 ประการหลัก ดังนี้

  1. Motivation (แรงจูงใจ) แรงจูงใจที่นำไปสู่การแบ่งแยกทางดิจิทัลนี้ เกิดจากการขาดความสนใจและ/หรือความกลัวในเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ขัดขวางหรือกลายเป็นอุปสรรคไม่ให้ผู้คนทดลองใช้ตั้งแต่แรก
  2. Physical access (การเข้าถึงทางกายภาพ) ไม่ได้หมายถึงแค่การมีโทรศัทพ์มือถือ (smart phones) หรืออินเทอร์เน็ตเพียงเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงคุณภาพของการเข้าถึงเช่นเดียวกัน (quality of access)
  3. Digital skills (ทักษะทางดิจิทัล) การแบ่งแยกทางดิจิทัลในที่นี้ เกิดจากการขาดทักษะดิจิทัล เช่น การต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานเทคโนโลยี และความรู้ในการค้นหา เลือก และประมวลผลข้อมูลจากแหล่งข้อมูลดิจิทัลที่หลากหลาย เป็นต้น
  4. Usage (การใช้งาน) การแบ่งแยกทางดิจิทัล เกิดจากการขาดโอกาสในการใช้เครื่องมือดิจิทัลแม้ว่าจะมีแรงจูงใจการเข้าถึงและทักษะก็ตาม ตัวอย่างเช่น บางคนอาจจะมีทักษะการเขียนโปรแกรม แต่คน ๆ นั้นอาจไม่มีโอกาสฝึกฝน เนื่องจากเพราะงานของเขาไม่ต้องการ (ไม่จำเป็น) ใช้งานทักษะการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เป็นต้น

 

digital divide 1

รูปที่ 1 Flowchart adapted from Van Dijk (2020): Digital Divide (see link here)

 

COVID-19 ทำให้ความแตกแยกทางดิจิทัลในอาเซียนทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

จากการสำรวจเยาวชนจำนวน 70,000 คนใน ASEAN แสดงให้เห็นถึง อุปสรรคบางประการเกี่ยวกับการเข้าถึงดิจิทัลของเยาวชนในภูมิภาคในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19

 

1. อินเตอร์เน็ตมีต้นทุนสูงและคุณภาพต่ำ

จากการสำรวจดังกล่าว พบว่า ค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือคุณภาพอินเทอร์เน็ต เป็นอุปสรรคสำคัญในช่วงการระบาด (ดูรูปที่ 2 ด้านล่าง) โดยผู้ตอบแบบสำรวจร้อยละ 41 และร้อยละ 29 รู้สึกว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการทำงานระยะไกล (remote working)

นอกจากนี้ การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต (access to internet) นี้ ยังขึ้นอยู่กับคุณภาพและความเข้มข้นของการใช้งานในระดับที่แตกต่างกันอีกด้วย และเมื่อเยาวชนจำนวนมากถูกบังคับให้เปลี่ยนไปทำงานและเรียนในระยะไกล ทำให้เรามองเห็น ‘การแบ่งแย่งทางดิจิทัล’ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ในขณะที่อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วทั้งอาเซียน แต่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดความท้าทายที่มากขึ้น นอกเหนือไปจากประเด็นการเข้าถึงดิจิทัลแค่เพียงทางกายภาพ

digital divide 2

รูปที่ 2  อุปสรรคในการทำงานของเยาวชนในอาเซียนในช่วง COVID-19

 

2. การขาดทักษะทางดิจิทัล (Lack of digital skill)

การสำรวจครั้งนี้ ยังพบว่า การขาดทักษะด้านดิจิทัล เป็นข้อจำกัด/เป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุด สำหรับการทำงานระยะไกลหรือการเรียนในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ระบาดหนักในอาเซียน โดย 84% ของผู้ตอบแบบสำรวจ ระบุว่า การขาดทักษะด้านดิจิทัลทำให้พวกเขาทำงานระยะไกลได้ยากลำบาก (ดูรูปที่ 3)

digital divide 3

รูปที่ 3 ผลการสำรวจทักษะด้านดิจิทัล

 

แม้ว่า ข้อจำกัดด้านทักษะดิจิทัล’  จะไม่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุด แต่ก็เป็น ‘สิ่งที่สำคัญมากที่สุด’ โดยการเรียนรู้และพัฒนาทักษะดิจิทัล ได้กลายมาเป็นอุปสรรคว่าเป็นอุปสรรคมีแนวโน้มที่จะต่อสู้กับการทำงานจากระยะไกลมากที่สุด

ตัวอย่างเช่น Van Dijk (2020) ทักษะดิจิทัลในระดับพื้นฐานเริ่มต้นจาก (1) เทคนิคและเป็นทางการ (Technical and Formal) ตั้งแต่การใช้งานแอปพลิเคชันมือถือไปจนถึงการท่องอินเทอร์เน็ต และค่อยๆพัฒนาไปสู่ (2) ทักษะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา (Content-Related Skills) เช่น การค้นหา ประเมินข้อมูลที่ถูกต้อง ทักษะการสื่อสาร และความสามารถในการสร้างเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต และ (3) ทักษะเชิงกลยุทธ์ (Strategic) ซึ่งเป็นทักษะที่ทำได้ยากที่สุด โดยเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายทั้งในระดับอาชีพและส่วนบุคคล

 

3. การใช้งาน (Usage)

นอกเหนือจาก การเข้าถึงทางกายภาพและทักษะดิจิทัลแล้ว การสำรวจของ Sea Insights นี้ ยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เครื่องมือดิจิทัลของประชาชนในกลุ่มอาเซียนกับผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจในช่วงการระบาดของ COVID-19

ประการแรก พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องมือดิจิทัล แม้ว่าจะอยู่ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ก็ตาม ตัวอย่างเช่น 15% ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่ได้แอพลิเคชั่นด้าน E-commerce เพื่อซื้อของออนไลน์ในช่วง Lockdown การใช้เครื่องมือดิจิทัลในระดับที่ต่ำนี้ เกิดจากปัจจัยหลายประการ รวมไปถึง การขาดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในที่ทำงานหรือในชีวิตประจำวัน

ประการที่ 2 พบว่า ระดับการใช้งานเครื่องมือดิจิทัลที่ต่ำมีความสัมพันธ์อย่างมากกับสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้เครื่องมือดิจิทัลที่จำเป็น ในช่วงที่มีการแพร่ระบาด เช่น E-commerce, E-banking และ E-wallet

 

เยาวชนที่ไม่ได้ใช้เครื่องมือดิจิทัลประสบปัญหามากขึ้นในการทำงานหรือเรียนจากระยะไกล

ตัวอย่างเช่น เยาวชนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการซื้อของออนไลน์ (E-commerce buying) ประสบปัญหาในการเรียนหรือทำงานจากระยะไกล คิดเป็น 78% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด (เท่ากับ69%) ที่ประสบปัญหาในการทำงานจากระยะไกล (ดูรูปที่ 4)

digital divide 4

รูปที่ 4 ความยากลำบากจากการทำงานระยะไกลของผู้ที่ไม่ได้ใช้เครื่องมือดิจิทัล

 

การขาดการเข้าถึงดิจิทัล ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมที่มีอยู่

บทความของ Wan, Loh and Tan (2020) ยังชี้ให้เห็นว่ากลุ่มเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงดิจิทัลโดยทั่วไป มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความยากลำบากในการทำงาน / การศึกษา จากระยะไกล

กลุ่มบุคคลเหล่านี้ ได้แก่ ผู้ที่อาศัยอยู่นอกเขตเมือง ผู้ที่ทำงานในองค์กรที่มีความมั่นคงด้านรายได้ต่ำ ไม่ว่าจะเป็น Gig Economy องค์กรการกุศลและกิจการเพื่อสังคม ผู้ที่ระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น  นอกจากนี้ ภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19 ได้แก่ เกษตรกรรม บุคคลากรทางการศึกษา และนักเรียนนักศึกษา

digital divide 5

รูปที่ 5 กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคในการเข้าถึงดิจิทัล

 

Digital inclusion เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการเติบโตอย่างยั่งยืน

COVID-19 ได้เปิดเผยถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่ทุกคนตั้งแต่ผู้บริโภคไปจนถึงธุรกิจขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม ยังแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ถูกกีดกันจากกระบวนการนี้ ต้องเผชิญความท้าทายที่มากขึ้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลเหล่านั้น

นอกจากนี้ เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้ทราบว่ารัฐบาลหลายประเทศในภูมิภาคของเรากำลังดำเนินการเชิงรุกเพื่อช่วยปรับปรุงการรวมระบบดิจิทัลเข้ากับภูมิภาคของเราเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น สิงคโปร์ได้ผลักดันพิมพ์เขียวความพร้อมด้านดิจิทัล ในขณะที่อินโดนีเซียได้ใช้มาตรการอุดหนุนและสิ่งจูงใจหลายประการเพื่อช่วยให้ SMEs สามารถทำธุรกิจออนไลน์ได้

 

เอกสารอ้างอิง

Wan. M., Loh. B. and Tan. B. (2021). A Closer Look at the Digital Divide. สืบค้นจาก https://medium.com/seainsights/a-closer-look-at-the-digital-divide-2d2a4307454d

Van Dijk, J. (2020). The Digital Divide and the Covid-19 Pandemic. สืบค้นจาก The-Digital-Divide-and-the-Covid-19-Pandemic-1.pdf (un.org)

Share via
Copy link
Powered by Social Snap