“ด่านชายแดนบ้านฮวก” ก่อนและหลังการเปิดด่านผ่านแดนถาวร

Slide1

 

“ก่อนเป็นด่านถาวร”

ด่านชายแดนบ้านฮวก-กิ่วหก อ.ภูซาง จ.พะเยา มีอาณาเขตติดกับแขวงไชยะบุรี สปป.ลาว ได้มีการทำข้อตกลงระหว่างจังหวัดพะเยากับแขวงไชยะบุรี สปป.ลาว ณ จุดผ่อนปรนชายแดนไทย–สปป.ลาว โดยกำหนดให้ด่านบ้านฮวก ให้เป็น “ด่านผ่อนปรน” เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2536 ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์หลักทางด้านมนุษยธรรม และเพื่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับท้องถิ่นระหว่างชาวภูซางและแขวงไชยะบุรี โดยอนุญาตให้ประชาชนทั้งสองประเทศสัญจรไปมาเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภคบริโภคระหว่างกัน  ซึ่งกำหนดระเบียบการสัญจรไปมา ประเภทสินค้าที่สามารถติดต่อซื้อขาย ระยะเวลาเปิดปิดจุดผ่อนปรน มาตรการควบคุมการเดินทางเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และมีหน่วยงาน 2 ส่วนที่สำคัญในการกำกับดูแล ได้แก่ ศูนย์อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (ศอป.ปค.) อำเภอภูซางประจำอยู่ มีหน้ารับผิดชอบดูแลการเข้าออกของประชาชนภายใต้การดูแลของฝ่ายกิจการพิเศษที่ทำการปกครองอำเภอภูซางซึ่งมีนายอำเภอภูซางเป็นผู้ดูแล และศุลกากรเชียงของ จังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการนำเข้าสินค้าผ่านเข้า-ออกบริเวณจุดผ่านแดน

สถานการณ์โดยทั่วไปด้านความมั่นคงบริเวณแนวชายแดนในระยะเวลาที่ผ่านมามีความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ โดยไม่ปรากฏสถานการณ์ด้านความรุนแรง โดยหน่วยทหารกลางของสปป.ลาวยังคงวางกำลังรักษาสถานการณ์ชายแดนลาดตระเวน (ลว.) ทำหน้าที่สืบหาข่าวความเคลื่อนไหวด้านความรุนแรง และไม่มีการปฏิบัติการทางทหารในเขตไทยแต่อย่างใด สถานการณ์ทั่วไปมีการติดต่อซื้อขายสินค้าตามปกติ

ส่วนสถานการณ์ด้านการค้า[1]ก่อนเปิดเป็นด่านชายแดน พบว่ามูลค่าการค้าชายแดนผ่านจุดผ่อนปรนบ้านฮวก ขึ้นตรงกับด่านศุลกากรเชียงชอง โดยมีรายการสินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ ไม้แปรรูป เปลือกไม้บง เปลือกไม้บงลาว  เปลือกไม้จ้าหลอด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลูกเดือย รถตักดิน และหินโม่ ส่วนรายการสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่  เครื่องจักร รถกระบะบรรทุกและอุปการณ์ พาหนะเครื่องจักหนัก น้ำมันดีเซลหมุมเร็ว น้ำมันเบนซินไร้สาร เหล็กเส้น เสาไฟฟ้า คอนสปัน ปูนซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์ไฟฟ้า และมีแนวโน้มความต้องการเติบโตต่อเนื่องแปรันตามระดับพัฒนาเศรษฐกิจ และการขยายการลงทุนจากฝั่งไทยเข้าไปบริเวณบ้านปางมอญ สปป.ลาว และบริเวณใกล้เคียง หากพิจารณามูลค่าการค้าจะพบว่ามูลค่าการค้าชายแดนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด ดูได้จากตารางที่ 1

ตารางที่ 1 สถิติการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ผ่านด่านผ่อนปรนบ้านฮวก ด่านศุลกากรเชียงของ

ปี

ราษฎรไทย

เดินทางไป ลาว(คน/ครั้ง)

ราษฎรลาว

เดินทางเข้าไทย(คน/ครั้ง)

มูลค่านำเข้า

(บาท)

มูลค่าส่งออก

(บาท)

ดุลการค้า

(บาท)

2,553

4,231 27,238 4,100,799 24,454,217

20,353,437

2,554

3,656 27,879 3,564,028 38,386,132

34,822,104

2,555

3,513 34,630 5,883,478 177,681,954

171,798,476

2,556

3,260 37,074 2,59,641 180,763,620

180,503,979

2,557

4,062 36,619 1,463,019 229,935,451

228,472,431

2,558 NA NA 21,833,798 334,230,642

312,396,843

รวม 18,722 163,440 36,845,122 985,452,016

948,347,270

ที่มา: สำนักงานพาณิชย์ จังหวัดพะเยา (2559)

สถานการณ์ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน จากการสัมภาษณ์พี่น้องชาวสปป.ลาวถึงงานที่เข้ามาทำในฝั่งประเทศไทยพบว่าส่วนใหญ่เข้ามาทำงานเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรในฤดูเกี่ยวเกี่ยว เช่น ข้าวโพด ลำไย และข้าว ส่วนใหญ่จะอาศัยบัตรผ่านแดนชั่วคราวที่อนุญาตเข้ามาในประเทศไทยได้ถึงอำเภอเชียงคำ และสามารถอยู่ได้จำนวน 7 วัน  โดยค่าจ้างที่ได้รับหลังจากหักค่าเดินทางและใช้จ่ายส่วนตัวจะได้รับประมาณ 1,000-1,300 บาทต่อ 7 วัน ส่วนทางเจ้าของสวนฝั่งไทยมองว่าเป็นการทดแทนการขาดแคลนแรงงานจากฝั่งไทยได้เป็นอย่างดี อีกส่วนหนึ่งคือชาวสปป.ลาวที่ข้ามมาซื้อของอุปโภคบริโภค ณ ตลาดเชียงคำและโลตัสเชียงคำ ดูได้จากรูปที่ 1

รูปที่ 1 สถานการณ์การเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามารับจ้างก่อนการเปิดด่านถาวร 2561

2

 

 

 

 

 

 

ที่มา: ผู้เขียน ถ่ายเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561

สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม พบว่าพื้นที่ด่านชายแดนบริเวณนี้เป็นพื้นที่ “พหุวัฒนธรรม” ที่มีความหลากหลายทาง “ชาติพันธุ์” ซึ่งในอดีตได้มีการติดต่อซื้อขาย การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติระหว่างชาวไทลื้อ-ไทยวน ที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกกได้แก่ เมืองคอบ เชียงฮ่อน เชียงลม สปป.ลาว รวมถึงเชียงของ เทิง เชียงคำ เชียงม่วน เมืองเงิน เมืองปัว ท่าวังผา ไปจนถึงเมืองน่าน (พระสุนทรกิตติคุณ, 2561) ทำให้กิจกรรมท่องเที่ยวในบริเวณนี้มีลักษณะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือชาติพันธุ์ โดยนักท่องเที่ยวมักจะรู้จักในนาม “เขตวัฒนธรรมไทลื้อ-ไทยวน” ที่เชื่อมโยวัฒนธรรมล้านนาตะวันตก เชียงตุง และสิบสองปันนา โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ชุมชนไทลื้อ หมู่บ้าน OTOP บ้านฮวก ตลาดชายแดนสองแผ่นดิน วนอุทยานน้ำตกอุ่นน้ำตกภูซาง น้ำตกโป่งผาถิ่นกำเนิดเต่าปูลู ฯ สินค้าท่องเที่ยวที่สำคัญจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ-ไทยวน หรือสินค้าตามอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ เช่น หัตถกรรมผ้าทอมือ ผ้าถักโครเชต์ ผ้าพื้นเมือง เป็นต้น ส่วนกิจกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กิจกรรมตักบาตรสองแผ่นดิน ตลาดนัดชายแดนสองแผ่นดินที่จัดทุกวันที่ 10 และ 30 ของทุกๆเดือน โดยชาวสปป.ลาวจะนำของป่าที่หาได้จากฝั่งลาวออกมาขาย เช่น น้ำผึ้งป่า เห็ด สมุนไพร อาหารชนเผ่า รวมถึงผ้าม้ง เป็นต้น

รูปที่ 2 สินค้าทางการท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์ไทลื้อ-ไทยวน

3

 

 

 

 

 

 

ที่มา: ผู้เขียน (2561)

 

“หลังเป็นด่านถาวร”

ด้วยสถานการณ์ด้านความมั่นคง การขยายตัวทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของสองฝั่ง จึงมีความพยามผลักดันด่านผ่อนปรนบ้านฮวกให้เป็น “ด่านถาวร” เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522 โดยความพยายามของคนในพื้นที่และธุรกิจทั้งสองฝ่าย ทำให้มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ได้ประกาศให้ด่านผ่อนปรนบ้านฮวกเป็น “จุดผ่านด่านถาวร” สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว ครั้งที่ 21 ที่แขวงจำปาสัก เมื่อต้นปี 2561 และจากการประชุมครม.สัญจรกลุ่มภาคเหนือตอนบน 2 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา โดยยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวรมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การขนส่ง การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเข้าด้วยกัน

“หลังการเปิดด่านถาวร” สิ่งที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นได้แก่ การก่อสร้างถนนและจุดเปลี่ยนช่องทางจราจร การก่อสร้างอาคาร การบูรณการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การกำหนดแผนงาน และการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกัน โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณด่านและบริเวณใกล้เคียง รวมถึงการปรับตัวขอภาคธุรกิจในระยะสั้นต่อการเปลี่ยนแปลง ได้แก่การปรับตัวของราคาที่ดินและการคาดการณ์ของนักลงทุน โดยกระแสการเปิดด่านถาวรรวมถึงการอนุมติโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงของได้ถูกพูดถึงในวงกว้าง ส่งผลให้ระดับราคาที่ดินบริเวณใกล้เคียงปรับตัวสูงขึ้น และได้ก่อให้เกิดการเข้ามาเก็งกำไรที่ดินในบางพื้นที่ ส่วนการคาดการณ์ของนักลงทุน ส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นโอกาสในการขยายความเชื่อมโยงระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงเป็นปัจจัยส่งเสริมระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนในและนอกพื้นที่ให้เข้ามาลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาคการก่อสร้างและภาคการท่องเที่ยวที่จะเห็นได้ชัดเจน

อย่างไรก็ตามนักลงทุนภายนอกได้ตั้งคำถามถึงค่าใช้จ่ายในการลงทุน ความคุ้มค่า และตลาดเป้าหมาย ว่าหากเข้าไปลงทุนจะคุ้มค่าหรือไม่ จากการศึกษาของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงรายได้ทำการรวบรวมข้อมูลชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญของบ้านฮวกและอำเภอภูซาง เพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน ได้ผลดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญของบ้านฮวก และ อ.ภูซาง จ.พะเยา ปี 2556-2560

ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ

2556 2557 2558 2559

2560

 GPP (ล้านบาท)

32,774

32,080 33,391 NA

NA

 จำนวนประชากร (คน)

486,744

484,454 482,645 479,188

NA

 รายได้ต่อหัว (บาท/ปี)

67,333

66,217 69,183 NA

NA

 การใช้จ่ายต่อครัวเรือน (บาท)

11,245

11,835 13,783 NA

NA

 หนี้สิน/ครัวเรือน (บาท)

80,663

114,332 148,001 NA

NA

 จำนวนนักท่องเที่ยว (คน)

252,709

258,659 274,443 NA

NA

 การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว (บาท)

1,188

1,228 1,294 NA

NA

 การนำเข้าชายแดน (บาท)

259,641

1,463,020 21,833,799 29,160,031

144,765,994

 การส่งออกชายแดน (บาท)

180,763,620

229,935,451 334,230,643 310,879,311

71,990,941

 อัตราดอกเบี้ย (%) _MRR_AVG

8

8 8 8

8

 อัตราเงินเฟ้อ (%)

3

2 2 -1

0

 จำนวนจดทะเบียนธุรกิจ (ราย)

NA

NA 1,004 1,087

1,157

 ประเภทธุรกิจ – การเกษตร

5

7 8 4

NA

 ประเภทธุรกิจ – การผลิต

10

10 10

10

NA

 ประเภทธุรกิจ – ค้าปลีกค้าส่ง

230

234 230 271

NA

 ประเภทธุรกิจ – การก่อสร้าง

100

265 260 200

NA

 ประเภทธุรกิจ – ขนส่งและโลจิสติกส์

26

28 31 25

NA

 ประเภทธุรกิจ – การเงิน

13

13 13 14

NA

 ประเภทธุรกิจ – อื่นๆ

4

5 3 2

NA

 จำนวนธนาคาร/สถาบันการเงิน

47

47 47 47

47

 ราคาประเมินที่ดิน (บ/ตรม)

150

150 150 275

275

 ราคาขายที่ดิน (ราคาตลาด) (บ/ตรม)

1,250

1,250 1,250 2,500

2,500

 ราคาเช่าที่ดิน (บ/ตรม/ด)

6

6 6 6

6

 ราคาค่าก่อสร้าง (บ/ตรม)

7,500

7,500 7,500 7,500

7,500

 ราคาค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ (บ/ตรม)

60

60 60 60

60

 ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจ (บาท)

10,520

10,520 10,520 10,520

11,020

 ค่าใช้จ่ายในการขออนุญาตก่อสร้าง

20

20 20 20

20

 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (บาทต่อเดือน)

7,000

7,000 7,000 7,000

7,000

 อัตราค่าน้ำประปา (บาทต่อเดือน)

NA

NA NA NA

500

 อัตราค่าไฟฟ้า (บ/ด)

1,000

1,000 1,000 1,000

1,000

 อัตราค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (บ/ด)

2,000

2,000 2,000 2,000

2,000

 อัตราค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร(บ/ด)

500

500 500 500

500

ที่มา: ฐานข้อมูลธุรกิจอัจฉริยะ อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย (NRBI)

จากการรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินธุรกิจ (Cost of Doing Business) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจากฐานข้อมูลธุรกิจอัจฉริยะ (NRBI) สามารถสรุปเป็นประเด็นที่สำคัญดังนี้

“ราคาประเมิน” ที่ดินจากธนารักษ์พื้นที่พะเยา 2559-2562 แจ้งว่าราคาประเมินที่ดินติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1093 (สายสบบง – บ้านฮวก – ผาตั้ง) เท่ากับ 450 บาท ต่อตารางวา ส่วนหลังจากเส้นทาง 1093 ถึงจังหวัดเชียงรายมีราคาประเมินเท่ากับ 800-1400 บาท ต่อตารางวา ทั้งนี้ราคาประเมินมีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ 3 ปี ราคาประเมินปี 2555-2558 ราคาประเมินที่ดินติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1093 (สายบ้านสบบง-บ้านฮวก) เท่ากับ 450-750 บาทต่อตารางวา หรือคิดเป็นไร่ละ 180,000- 300,000 บาท

“ราคาขายที่ดิน” จากการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ถึงราคาขึ้นอยู่กับพื้นที่ติดถนนหรือไม่หรือพื้นที่อยู่ในจุดศูนย์กลางธุรกิจหรือไม่ พบว่าหากอยู่ในตลาดบ้านฮวกหรือใกล้กับด่านชายแดนราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้นจากไร่ละ 1 ล้านบาท เป็น 4 ล้านบาท ภายใต้กระแสกการผลักดันด่านชายแดนถาวร ได้มีการเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุนนอกพื้นที่ ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์มติชนภูมิภาคได้สัมภาษณ์นาย โกวิท ไชยเมือง ประธานชมรมพ่อค้าเชียงคำ และเผยว่าราคาที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ โฉนด หรือนส.3 ไร่ละไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านบาท บางแปลงติดถนนราคาไร่ละ 4 ล้านบาท โดยราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระหว่างปี 60-62 ส่วนราคาเช่าที่ดินเพื่อประกอบธุรกิจติดถนนราคาไร่ละประมาณ 10,000 ต่อปี

“ราคาค่าก่อสร้าง” โกดัง โรงงาน ออฟฟิศ คลังเก็บสินค้า (warehouse) หลังคาโครงเหล็ก truss อาคารพาณิชย์สองชั้น ราคาประมาณตารางเมตรละ 7,000-8,000 บาท หรือขึ้นอยู่กับผู้รับเหมาก่อสร้างในแต่ละพื้นที่

“ราคาค่าเช่าอาคารพาณิชย์” ตึกหานึ่งคู่หา (2ชั้น หรือ 2 00ตารางเมตร) ราคาค่าเช่าประมาณ 5,000-6,000 บาทต่อเดือน จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการไม่นิยมเช่าพื้นที่เนื่องจากเป็นเจ้าของเอง หรือหากเป็นนักลงทุนข้างนอกจะนิยมซื้อที่และสร้างเอง

“ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจ” ราคาเริ่มต้นที่เฉลี่ยประมาณ 11,000 บาทต่อธุรกิจ ประกอบด้วยจ้างแรงงาน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าน้ำมัน และค่าโทรศัพท์ ซึ่งยังไม่รวมค่าเช่าที่หรืออาคารพาณิชย์ หากรวมค่าเช่าจะเป็น 16,000 บาทต่อธุรกิจ

“อัตราค่าจ้างแรงงาน” ในพื้นที่เท่ากับ วันละ 350 บาท ทำงาน 20 เท่ากับ 7,000 ในบางกรณีเช่นงานสวน ตัดหญ้า หรืองานเฉพาะ จะคิดเป็นวันละ 400 บาท เดือนละ 8,000

“ราคาค่าน้ำประปา” เนื่องจากในบริเวณบ้านฮวก ประชาชนนิยมใช้ประปาภูเขา จึงไม่มีค่าน้ำประปา แต่หลังจากปี 2560 ได้มีการใช้ระบบมิเตอร์ประปา เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้นำสิ้นเปลืองและปัญหาน้ำไม่พอใช้ ทำให้เริ่มมีการเก็บค่าน้ำประปา ราคาเฉลี่ยจากการสอบถามผู้ประกอบการขนาดเล็ก – ขนาดกลาง พบว่าในแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายประมาณ 500 ต่อเดือน รวมถึงการใช้งานในครัวเรือนด้วย

“ราคาไฟฟ้า” จากการสัมภาษณ์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดพะเยามีราคาเฉลี่ย 3.69 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ราคามีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ 3 เดือนขึ้นอยู่กับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ที่ประกาศเปลี่ยนแปลงจาก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กพพ) ซึ่งอัตราการเปลี่ยนแปลงจะเหมือนกันทั่วประเทศ ดังนั้นอัตราค่าไฟฟ้าต่อเดือนของแต่ละธุรกิจจะขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งานเป็นหลัก แต่ละจังหวัดจะไม่มีการได้เปรียบในด้านอัตราพลังงานไฟฟ้าไม่เท่ากัน

“ราคาน้ำมัน” ที่เติมต่อเดือนมีแนวโน้มถูกลงเมื่อเทียบกับปี 2556 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงจากตลาดโลก ทั้งนี้ปริมาณการใช้นำมันของแต่ละธุรกิจไม่เหมือนกัน โดยธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็กมีค่าน้ำมันเฉลี่ยเดือนละ 2,000 บาทต่อคัน เนื่องจากการเดินทางไปซื้อวัตถุดิบในตัวอำเภอ หรือต้องไปทำธุรกรรมทางการเงินในตัวอำเภอภูซางและเชียงคำ ซึ่งมีระยะทางไป-กลับประมาณ 40-60 กม.

“ราคาค่าโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต” เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ในพื้นที่บ้านฮวก ยังเข้าไม่ถึงการใช้นวัตกรรมหรืออินเทอร์เน็ตจึงทำให้อัตราค่าใช้จ่ายในการสื่อสาร โทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ตไม่สูงมาก ส่วนใหญ่จะใช้บริการโทรศัพท์มือถือรายเดือนของ AIS เนื่องจากมีสัญญาณชัด และการใช้อินเทอร์เน็ตในการดำเนินธุรกิจเช่น FB จะใช้อินเทอร์เน็ตจากเครือข่ายโทรศัพท์

 

“สิ่งที่ควรให้ความสำคัญในอนาคต”

การร่วมกันพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ชายแดน เนื่องจากพื้นที่ชายแดนมีความเป็นพหุวัฒนธรรมและมีมิติทางสังคมที่หลากหลาย ดังนั้นเป้าหมายการพัฒนาควรให้ความสำคัญกับปัจจัยทางสังคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การมีส่วนของชุมชน การสร้างผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทุนทางมนุษย์ วัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น เป็นต้น

“รัฐบาล” ได้ทำการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดพะเยาและเศรษฐกิจชุมชนด้วยการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ทั้งด้านที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค (Hard Infrastructure) ต่างๆ ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกด้านที่เป็น Soft Infrastructure ด้วยเช่นกัน เช่นเพิ่มประสิทธิภาพในการลดขั้นตอนกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนต่างๆ ขั้นตอนทางเอกสาร รวมถึงการให้แรงจูงใจให้เกิดการเข้ามาลงทุนอย่างยั่งยืน และสร้างเชื่อมโยงเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเป็นรูปธรรม

“ภาคเอกชน” ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนอย่างระเอียดก่อนการตัดสินใจ เนื่องจากชายแดนเป็นพื้นที่ที่มีบริบททางเศรษฐสังคมหลากหลายและเปลี่ยนแปลงได้ง่ายเมื่อเปรียบเทียบกับในเมืองหรือเขตอุตสาหกรรม และควรศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนชายแดนนั้นๆก่อนการเข้าไปลงทุนเพื่อไม่เกิดผลกระทบกับสังคมที่อาจสร้างปัญหาตามมาในอนาคต

“ภาคประชาสังคม” ควรเป็นเจ้าบ้านที่น่ารัก ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยศึกษากรอบนโยบายและเป้าประสงค์การพัฒนาของรัฐบาลอย่างจริงจังและให้ความร่วมมือในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่เช่น การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะและของเสีย การสร้างบรรยายในพื้นที่ให้เหมาะกับการค้าการลงทุนและการท่องเทียว และควรให้ความสำคัญกับการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และอัตลักษณ์ของชุมชนให้คงอยู่ รวมถึงควรมีการปรับปรุงหรือยกระดับวัฒนธรรมท้องถิ่นให้มีความร่วมสมัยและสอดคล้องบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ทั้งนี้การร่วมกันพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุดต้องอาศัยปัจจัยที่สำคัญที่สุดได้แก่ “ความร่วมมือของภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาสังคม” ที่ต้องดำเนินการร่วมกันอย่างจริงจัง และต้องบูรณาการร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยมิตรภาพอันจริงใจ…

 

เขียนโดย : วราวุฒิ เรือนคำ

 

 

[1] ข้อควรทราบเกี่ยวกับการค้าชายแดน ณ จุดผ่อนปรนบ้านฮวก ประกอบด้วย 2 ประการ ได้แก่ การส่งออกต้องขออนุญาตส่งออกที่ด่านศุลกากรเชียงของและจัดทำใบขนส่งสินค้าขาออก ยกเว้นส่งออกสินค้าทั่วไปที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 หมื่นบาทให้ทำเอกสารใบแจ้งรายละเอียดสินค้าขาออก (กศก. 153) ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเชียงของ และการนำเข้าสินค้าต้องทำใบขนส่งสินค้าขาเข้า ยกเว้นสินค้าทั่วไปมูลค่าไม่เกิน 5 หมื่นบาทสามารถขอชำระภาษีอากรปากระวางกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ ณ จุดผ่อนปรนบ้านฮวก-กิ่วหก สินค้าควบคุมอื่นๆ ต้องปฏิบัติตามระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย และควรสอบถามเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนนำเข้าสินค้า

 

เอกสารอ้างอิง

1.สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย (2560) ฐานข้อมูลธุรกิจอัจฉริยะ NRBI สืบคืนออนไลน์ จาก http://uat-nrbi.mfessolutions.com/

2.สุนทรกิตติคุณ (2561).  ด่านบ้านฮวก พหุวัฒนธรรมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน.สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต 2561. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

3.วราวุฒิ (2560). ธุรกิจเพื่อความเป็นสังคมเมืองในพื้นที่ชายแดนบ้านฮวก อ.ภูซาง จ.พะเยา. OBELS Outlook 2017

Share via
Copy link
Powered by Social Snap