ความยากจนที่ไม่ใช่รายได้ (Non-Income Poverty) สำคัญไฉน

Unemployed South African men wait for employers seeking casual labour beside the road near Cape Town. Passing trucks offer work in the construction and farming industries and a R60 ($8) payday for some, but others it is a long futile day. Job creation has been identified a priority for the South African economy and will form a key topic at this weekend's Growth and Development summit due to be held in Johannesburg. Picture taken May 27, 2003. REUTERS/Mike Hutchings MH/WS - RTROXSC

ในทางเศรษฐศาสตร์เมื่อพูดถึง “ความจน” หรือ “Poverty” ส่วนใหญ่แล้วมักใช้เกณฑ์ทางเศรษฐกิจ (Monetary Poverty) เป็นวัดระดับรายได้หรือค่าใช้จ่ายของประชาชนว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของคนในสังคมหรือไม่ เมื่อรายได้หรือค่าใช้จ่ายต่ำกว่าค่ามาตรฐานหรือเส้นมาตรฐาน(เส้นความยากจน) ของคนส่วนใหญ่ในสังคมจะถูกจัดให้เป็นคนจน

ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ ความยากจนประกอบด้วย 2 มิติ ได้แก่ ความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) คือ ความยากจนด้านความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค  ซึ่งความยากจนสัมบูรณ์ไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆที่กว้างกว่าความต้องการพื้นฐานของปัจเจกบุคคล เช่น คุณภาพชีวิต (Quality of life) หรือความเท่าเทียมทางสังคม (inequality in society) ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมนุษย์มีความต้องการมากกว่าปัจจัย 4 เรียกรวมๆกันว่าความต้องการทางสังคมและวัฒนธรรม (important social and cultural needs) (social and human sciences, UNESCO) เพื่อความหมายกว้างขึ้นจึงมีการคิดคำนิยามความยากจนอีกมิติหนึ่งคือ ความยากจนเชิงสัมพัทธ์ (relative poverty) ซึ่งเป็นการวัดความจนเปรียบเทียบ โดยเปรียบเทียบค่ามาตรฐานหรือคุณภาพการดำรงชีวิตของคนหนึ่งกับมาตรฐานเฉลี่ยของสังคม และค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพของคนในสังคม อีกทั้งยังพิจารณาถึงความไม่เท่าเทียมของรายได้ (income inequality) ด้วย

เมื่อได้คำนิยามความยากจน นักเศรษฐศาสตร์จึงคิดค้นเครื่องมือวัดระดับความยากจน(Measurement of Poverty) เช่น สัดส่วนคนจน (Headcount Index) ดัชนีช่องว่างความยากจน (Poverty Gap Index) ดัชนีความรุนแรงความยากจน (Severity of Poverty Index) และที่ได้รับความนิยมและเข้าใจได้ง่ายที่สุดคือ เส้นความยากจน (Poverty Line) คือเส้นบอกระดับรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่เพียงพอต่อการดำรงชีพทั้งด้านอาหารและไม่ใช่อาหาร เมื่อบุคคลมีรายได้หรือค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจนจะถือว่าบุคคลนั้นเป็นคนจน ซึ่งเส้นความยากจนได้ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการแบ่งแยกคนจนและคนไม่จนออกจากกัน เพื่อรัฐบาลจะได้หานโยบายช่วยเหลือได้ถูกกลุ่มเป้าหมาย

แนวคิดการคำนวณเส้นความยากจนในประเทศไทยประกอบด้วย 2 ช่วง ได้แก่ 1.) เส้นความยากจนเดิม โดยธนาคารโลก ในปี พ.ศ. 2505/06  ตามหลักสากล โดยดูจากความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ด้านอาหารและสินค้าอุปโภคของคนไทย เช่นความต้องการสารอาหาร (แคลอรีและโปรตีน) เป็นต้น ข้อด้อยของเส้นความยากจนเดิมคือไม่คำนึงถึงความแตกต่างด้านอายุ เพศ ราคาสินค้าในพื้นที่เมืองและชนชนบท จึงสะท้อนแบบแผนการบริโภคในปัจจุบันและการเปลี่ยนโปลงโครงสร้างประชากรไม่ได้ 2.) เส้นความยากจนใหม่ [1]ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จัดทำโดย สศช ริเริ่มโดย Kakwani and Medhi (1998) โดยเส้นความยากจนใหม่สามารถวัดความยากจนได้ในระดับบุคคล  ครัวเรือน ภูมิภาค และระดับประเทศได้โดยพิจารณาจากความต้องการพื้นฐานขั้นต่ำของปัจเจกบุคคล ทั้งด้านอาหารและสินค้าอุปโภคได้ดียิ่งขึ้น (รายงานสถานการความยากจนในประเทศไทยTDRI, 2015)

ดังนั้นเมื่อใช้เกณฑ์ดังกล่าว จะพบว่าสถานการณ์ด้านความยากจนในประเทศไทยดีขึ้นตามลำดับ คือมีสัดส่วนคนจนลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 โดยคนไทยทั้งประเทศ มีคนจนลดลงจาก 21.94 ล้านคน เหลือ 4.8 ล้านคน หรือลดลง 67% ใน 10 ปี ถือว่าเป็นผลงานอันยอดเยี่ยม สอดคล้องกับรายงานของธนาคารโลก : Getting Back on Track 2017  ที่ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ความยากจนของไทยดีขึ้น ถึงอย่างไรก็ตามคนจนตามเส้นความยากจนมีจำนวนเหลือ 4.8 ล้านคน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะภูมิใจไม่ได้

ฟฟหกด

ที่มา: ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนสำนักงานสถิติแห่งชาติ, ประมวลผลโดยสำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม สศช.

ขณะเดียวกัน หากดูสถานการณ์ความยากจนอย่างรุนแรง (Extreme Poverty Index) จากสถิติของธนาคารโลก จากจำนวนคนจนที่ใช้ชีวิตต่ำกว่า $1.90 หรือประมาณ 66.5 บาท ต่อวัน และต่ำกว่า $3.10 หรือ 108.5 บาทต่อวัน ซึ่งจะเป็นคนจนที่ประสบปัญหาความยากจนอย่างรุนแรงในประเทศไทย มีจำนวน  26,980และ 620,540 คนตามลำดับ คิดเป็น 0.04 และ 0.92 % ของประชากรไทยทั้งหมด ถึงแม้ตัวเลขจะลดลงอย่างต่อเนื่องและเป็นคนจำนวนน้อย แต่ปัญหาความยากจนอย่างรุนแรงก็ยังมีอยู่ในสังคมไทย คนจนที่เผชิญกับความยากจนรุนแรงก็ยังคงหลงเหลืออยู่จำนวนไม่น้อยในสังคมไทย…

ดกโฏ

ที่มา: World Bank, Development Research Group. Data are based on primary household survey data obtained from government statistical agencies and World Bank country

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นภาวะความยากจนที่มาจากด้านรายได้เท่านั้น นอกเหนือจากนั้นหากเราพิจารณาความยากจนในมิติกว้างขึ้นและสัมผัสได้มากขึ้น จะพบว่าปัญหาความยากจนเป็นปัญหาที่ไม่อาจมองข้าม และยังคงเกิดขึ้นในสังคมไทยในปัจจุบัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ความยากจนด้านรายได้ (Income-Poverty) คือความยากจนที่ไม่ใช่รายได้ (Non-Income Poverty) ต่างหาก..

หากถามชาวบ้านในท้องตลาดว่าจริงๆแล้วปัญหาความยากจนลดลงหรือไม่ ?” ชาวบ้านคงให้คำตอบคล้ายๆกันว่า “ฉันก็จนอยู่เหมือนเดิม เป็นหนี้เหมือนเดิม ไม่เห็นว่าจะรวยเหมือนคนอื่นเลย คนที่รวยก็รวยเอาๆ…” ดังนั้นถ้านักเศรษฐศาสตร์ไม่ใช้คำศัพท์ทางวิชาการที่หรูหราเช่น เส้นความยากจนหรือดัชนีความรุนแรงความยากจนออกไป เราจะอธิบายชาวบ้านว่าอย่างไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้  ดังนั้นคงต้องมาตั้งต้นใหม่กับคำนิยามของความยากจน หรือมิติที่กว้างขึ้นกว่ารายได้เพียงอย่างเดียว

ในการศึกษาของ สมจัย จิตสุชน 2548 (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย: TDRI) ได้ชี้ประเด็นให้สังคมได้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างและลึกซึ้งมากขึ้นถึงปัญหาความยากจนในสังคมไทย โดยศึกษาความยากจนในทัศนะของคนจนที่สัมผัสกับความจน จริงๆ  พบว่าคนจนให้ลักษณะความหมายของความจนที่มีความใกล้ตัวและสัมผัสได้ เช่น

                     “ไม่มีกิน ไม่พอกิน รายได้น้อย ไม่มีที่ทำกิน มีหนี้ ป่วย สุขภาพไม่ดี หรือพิการ…”

นอกจากนี้ยังให้คำจำกัดความที่เชื่อมโยงกับ เหตุ แห่งความจนได้อย่างชัดเจน คือ

                    “ ไม่มีที่ดินทำกิน การศึกษาต่ำ ไม่มีงานทำ รายได้น้อย ขาดแคลนเงินทุนหรือทรัพย์สิน ปัญหาสุขภาพ…”

และนอกจากนั้นยังให้คำจำกัดความที่เชื่อมโยงกับผลแห่งความจน คือ

                   “ ไม่พอกิน มีหนี้ ไม่มีทรัพย์สิน ไม่มีบ้านเป็นของตัวเองหรือสภาพบ้านไม่ดี ขาดแคลนอาหาร มีปัญหาสุขภาพเพระไม่มีเงินรักษา …”

คำตอบที่ได้จากการศึกษาทำให้รู้ว่าจริงๆแล้วสาเหตุ หรือผลลัพธ์จากความยากจนไม่สามารถพิจารณาเฉพาะรายได้อย่างเดียวได้ แสดงว่ามิติของความจนจริงๆแล้วไม่ได้เกี่ยวกับตัวเงินเพียงอย่างเดียว ยังมีอีกหลายๆมิติที่ไม่ใช่ตัวเงิน (Non-Income Dimension) เข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากมาย ดังนั้นระยะต่อมาจึงได้มีการศึกษาปัญหาความยากจนในมิติที่ลึกซึ้งมากขึ้น มีการพัฒนาเครื่องมือตัวชี้วัดที่หลากหลายมากขึ้น เช่น Human Poverty Index, Regional Human Achievement Index และ Multidimensional Poverty Index (MPI) โดยองค์กรด้านการพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ UNITED NATIONS DEVELOPMENT PROGRAMME: UNDP ได้เพิ่มมิติด้านสุขภาพ การศึกษา และมาตรฐานการครองชีพเข้ามาคำนวณดัชนีชี้วัดความยากจน ดังภาพ

ฤฆฏฆฏฮฌ

ที่มา: UNDP: http://hdr.undp.org/en/composite/MPIchanges

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการให้คำจำกัดความในวงการวิชาการส่วนใหญ่มักจะยึดติดกับมาตรฐานของคำว่า “คำจำกัดความ” อย่างเคร่งครัด (สมจัย จิตสุชน, 2548) โดยยึดติดกับกรอบทางความคิดในทางทฤษฎีจนลืมสัมผัสถึงปัญหาที่แท้จริงอย่างลึกซึ้ง จากปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้คำนิยามความจนไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด และย้ำเตือนกับวงการวิชาการเสมอมาว่าหากเรายังยึดติดกับกรอบทางความคิดหรือนั่งมองแต่ตัวเลข เราจะไม่มีวันเห็นปัญหาอย่างแท้จริง….

วราวุฒิ เรือนคำ

[1] ปี 2558 เส้นความยากจน (บาท/คน/เดือน) มีค่าเท่ากับ 2,644 บาท

เอกสารอ้างอิง

Worldbank Thailand, 2017, GETTING BACK ON TRACK:REVIVING GROWTHAND SECURING PROSPERITY FOR ALL, 59-82

Kakwani and Medhi, 1998, The growth–equity trade-off in modern economic development: the case of Thailand, Journal of Asian Economics 14 (2003) 735–757

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization, 2017, LEARNING TO LIVE TOGETHER, http://www.unesco.org/new/en/social-and-human sciences/themes/international-migration/glossary/poverty/

UNITED NATIONS DEVELOPMENT PROGRAMME, 2016, Human Development Reports, “Human Development Report 2016: Human Development For Everyone”

สมจัย จิตสุชน, 2548, ความยากจนคืออะไร และวัดได้อย่างไร, รายงานทีดีอาร์ไอ, สถาบัยวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย

ขอบคุณรูปภาพจาก brookings

Share via
Copy link
Powered by Social Snap