China The Series: ติดตามสถานการณ์การค้าชายแดนไทย-จีน

ด้ด้

  1. มูลค่าการค้าชายแดนไทย-จีนตอนใต้

สถานการณ์ปัจจุบัน ในปีพ.ศ. 2560 ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงกรกฎาคม มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างจีนตอนใต้และประเทศไทยอยู่ที่ 7,414.59 ล้านบาท สูงขึ้นจากปีก่อนในช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 12.25 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 4,400 ล้านบาท (รูปที่ 1) เป็นผลจากการเติบโตของมูลค่าการส่งออกเป็นสำคัญที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 41.74 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออก ข้าว ยางพารา คอมพิวเตอร์ มังคุด ปลา ทุเรียน และลำไยอบแห้ง โดยสินค้าที่มีการขยายตัวสูงสุดคือ ข้าวร้อยละ 1,268.23 รองมาได้แก่ ยางพารา และลำไยอบแห้ง ขยายตัวร้อยละ 474.59 และ 270.89 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด รองมาคือ มังคุด และวงจรพิมพ์ (รูปที่ 2) ทั้งนี้ ด้วยมูลค่าการนำเข้าที่สูงกว่าการส่งออก ฉะนั้นการค้าชายแดนของประเทศไทยจึงเสียเปรียบดุลการค้ากับประเทศจีนอยู่ในช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ -4,612.09 ล้านบาท

หกอเก

รูปที่ 1 มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างจีนตอนใต้และประเทศไทย (ล้านบาท) เดือนมกราคม-กรกฎาคม พ.ศ.2559-2560 (กรมการค้าต่างประเทศ, เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2560)

กเก

รูปที่ 2 มูลค่าการส่งออกชายแดนระหว่างจีนตอนใต้และประเทศไทย 10 อันดับแรก (ล้านบาท)

เดือนมกราคม-กรกฎาคม พ.ศ.2559-2560 (กรมการค้าต่างประเทศ, เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2560)

สถานการณ์ในอดีต ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550 – 2559 มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทยและจีนการขยายตัวเฉลี่ยสะสม (Compound Average Growth Rate: CAGR) ร้อยละ 29.16 โดยมูลค่าการนำเข้ามีการเติบโตอย่างมากจากในอดีต ซึ่งมี CAGR อยู่ที่ร้อยละ 42.62 ขณะที่มูลค่าการส่งออกมี CAGR อยู่ที่ร้อยละ 18.92 ทั้งนี้ ในปีพ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา มูลค่าการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นจาก 27,878.14 ล้านบาท มาอยู่ที่ 42,823.93 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 19.88 ในทางตรงกันข้าม มูลค่าการส่งออกกลับหดตัวลดลงร้อยละ 8.56 หรือลดลงประมาณ 2,100 ล้านบาท

ดหกพำั้เ

รูปที่ 3 มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างจีนตอนใต้และประเทศไทย (ล้านบาท) ระหว่างปีพ.ศ.2551-2559 (กรมการค้าต่างประเทศ, เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2560)

ที่น่าสังเกตคือ ด่านที่มีมูลค่าการค้าชายแดนสูงสุดในปีพ.ศ. 2559 คือ ด่านศุลกากรมุกดาหาร โดยมีมูลค่าการค้าชายแดนอยู่ที่ 31,157.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 21.53 และมี CAGR อยู่ที่ร้อยละ 48.58 รองมาคือ ด่านศุลกากรเชียงของ นครพรม และเชียงแสน ขณะเดียวกัน ในด้านของการส่งออกก็เป็น ด่านศุลกากรมุกดาหาร เช่นเดียวกันที่มีมูลค่าสูงสุดอยู่ที่ 10,436.48 ล้านบาท ขยายตัวสูงขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.25 รองมาได้แก่ ด่านศุลกากรเชียงของ และเชียงแสนอยู่ที่ 5,260.91 และ 1,408.49 ล้านบาท ตามลำดับ แต่ด่านที่มีการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ด่านศุลกากรนครพนม ขยายตัวอยู่ละ 118.79 รองลงมาได้แก่ ด่านศุลกากรเชียงของ และมุกดาหาร ขยายตัวร้อยละ 80.70 และ 68.42 ตามลำดับ (รูปที่ 4) หากแต่ด่านที่มีการเติบโตระยะยาวที่ดีที่สุด คือ ด่านศุลกากรนครพนม ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมถึงร้อยละ 106.42 รองมาได้แก่ ด่านศุลกากรเชียงของ บึงกาฬ และมุกดาหาร ที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ร้อยละ 62.98, 47.13 และ 45.58 ตามลำดับ ทั้งนี้ มีเพียงด่านศุลกากรเดียวที่มีการหดตัวแต่เพียงเล็กน้อย คือ ด่านศุลกากรช่องเม็ก มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมร้อยละ -0.34 (รูปที่ 5)

หกเหกเดกเ

รูปที่ 5 มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างจีนตอนใต้และไทย (ล้านบาท) 4 อันดับแรกตามรายด่าน ปีพ.ศ. 2559 (กรมการค้าต่างประเทศ, เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2560)

กดพ้เด

รูปที่ 6 มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างจีนตอนใต้และไทย (ล้านบาท) ตามรายด่านสำคัญ ปีพ.ศ. 2550-2560 (มกราคม-กรกฎาคม)

(กรมการค้าต่างประเทศ, เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2560)

ในปี 2558 จะเห็นด่านศุลกากรนครพนมมีการก้าวกระโดดของมูลค่าการค้าชายแดนมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 จนถึง พ.ศ. 2558 เป็นช่วงที่มูลค่าการค้ามีการเติบโตอย่างมาก สาเหตุมาจากการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 ในปีปลายปี 2554 ทำให้ผู้ส่งออกสินค้าไปยังเวียดนาม และประเทศจีนหันมาใช้เส้นทางการขนส่งสินค้าสาย R12 เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเส้นทางที่มีระยะทางสั้นที่สุดไปยังเมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซี ประเทศจีน จึงได้รับความนิยมในการส่งออกสินค้าประเภทผลไม้สด ซึ่งความต้องการของเวียดนาม และจีนมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง[1] ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในปีงบประมาณ 2558 โดยบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่อย่าง ซีเกท ก็ได้ย้ายฐานการส่งออกมาที่บริเวณด่านนครพนม เป็นผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างมาก[2] อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 แนวโน้มการส่งออกสินค้าของด่านนครพนมกีทีท่าว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องไปในปี 2560

 

สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด สำหรับปีพ.ศ. 2559 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มีมูลค่าอยู่ที่ 9,817.26 ล้านบาท รองมาได้แก่ วงจรพิมพ์ มังคุด และข้าว แต่สินค้าที่มีการขยายของมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ข้าว ขยายตัวถึงร้อยละ 23,654.31 หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,156.76 ล้านบาท รองมาได้แก่ ลำไยอบแห้ง ปลา และทุเรียน มีการเติบโตร้อยละ 118.90, 65.30 และ 41.10 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าที่มีการส่งออกหดตัวอย่างมาก คือ น้ำตาล หดตัวร้อยละ 73.63 นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่นๆที่มีมูลค่าการส่งออกมีการหดตัวลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มังคุด และวงจรพิมพ์ (รูปที่ 7)

กด้เ

รูปที่ 7 สินค้าส่งออกชายแดนระหว่างจีนตอนใต้และไทย (ล้านบาท) 5 อันดับแรก ปีพ.ศ. 2559-2560 (มกราคม-กรกฎาคม)

(กรมการค้าต่างประเทศ, เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2560)

สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด สำหรับปีพ.ศ. 2559 สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มีมูลค่าอยู่ที่ 18,137.04 ล้านบาท รองมาได้แก่ เครื่องรับส่งสัญญาณและอุปกรณ์ติดตั้ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป และข้าว แต่กระนั้น สินค้าที่มีการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสูงสุด คือ เครื่องรับส่งสัญญาณและอุปกรณ์ติดตั้ง ขยายตัวถึงร้อยละ 313.36 รองมาได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อผ้าอื่นๆ และผ้าทอด้วยใยสังเคราะห์และใยเทียม มีการขยายตัวร้อยละ 99.61, 90.92 และ 88.64 ตามลำดับ ทั้งนี้ มีเพียงสินค้าเดียวที่มูลค่าการนำเข้ามีการหดตัว คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ หดตัวลดลงร้อยละ 13.82

่เ

รูปที่ 8 สินค้านำเข้าชายแดนระหว่างจีนตอนใต้และไทย (ล้านบาท) 5 อันดับแรก ปีพ.ศ. 2559-2560 (มกราคม-กรกฎาคม)

(กรมการค้าต่างประเทศ, เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2560)

  1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการค้าชายแดน

หากไม่นับรวมปัจจัยทางการผลิตแล้ว ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการค้าชายแดน ได้แก่ ปัจจัยด้านการขนส่ง และปัจจัยด้านกฎระเบียบพิธีการปฏิบัติด้านการนำเข้าและส่งออกชายแดน

  • ปัจจัยด้านการขนส่งสินค้าระหว่างชายแดนไทยและจีนตอนใต้

ปัจจุบันการขนส่งสินค้า/การค้าชายแดนไทย-จีนตอนใต้ได้ทำผ่านเส้นทางขนส่งทางแม่น้ำโขงและเส้นทางบกตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก รวมทั้งเส้นทางเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อมโยงอื่นๆ เช่น เส้นทางเศรษฐกิจ R8 และ R12 ดังนี้

  • เส้นทางการขนส่งทางแม่น้ำโขง

ปัจจุบัน การขนส่งสินค้าทางแม่น้ำโขงมักเริ่มต้นจากท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ไปยัง ท่าเรือกวนเหล่ย ประเทศจีน ขาขึ้นใช้เวลาเดินทาง 3 วัน ขาล่องใช้เวลาในการเดินทาง 2 วัน สินค้าที่นิยมขนส่งตามเส้นทางแม่น้ำโขงจากไทยไปจีนตอนใต้ ได้แก่ สินค้าเบ็ดเตล็ด ชิ้นส่วนไก่แช่งแข็ง สุกรมีชีวิต และน้ำตาลทรายขาว และจากจีนตอนใต้มายังไทย ได้แก่ สินค้าเบ็ดเตล็ด กระเทียมสด เมล็ดทานตะวัน และทัมทิบสด โดยมีอัตราค่าขนส่งตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 อัตราค่าขนส่งทางแม่น้ำโขง (จากทาเรือเชียงแสน)

ขนาดเรือ คาขนส่งทางเรือ คาขนส่งทางบก

(คาขนส่งและคายก)

หน่วย: บาทตอตัน

พ.ค.-ธ.ค. ธ.ค.-เม.ย.
80 ตัน (เหมาลํา) 150,000 – 160,000 175,000 – 200,000 2,000 – 2,500
120 – 150 ตัน (เหมาลํา) 175,000 – 200,000 225,000 – 250,000 2,000 – 2,500
การไมเชาเหมาลํา 600 – 2,250 บาทตอตัน 2,000 – 2,500

หมายเหตุ: ค่าขนส่งดังกล่าวไม่รวมค่าธรรมเนียมผ่านทางประเทศลาวร้อยละ 0.1 ไม่รวมภาษีนําเข้าประเทศจีนหรือภาษีการค้าชายแดนและค่าบำรุงท่าเรือ

ที่มา: ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ (2555)

  • เส้นทางการขนส่งทางบก

 เส้นทางการขนส่งสินค้าชายแดนทางบกที่เชื่อมโยงไทย-จีนตอนใต้มีอยู่หลายเส้นทาง (รูปที่ 9)  ประกอบด้วย 5 เส้นทาง ดังนี้ R3A และ R3B มีจังหวัดเชียงรายเป็นประตูสู่จีนตอนใต้เพียงจังหวัดเดียวในภาคเหนือ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วย 3 เส้นทาง ได้แก่ R8 ผ่านจังหวัดบึงกาฬ R9 ผ่านจังหวัดมุกดาหาร และ R12 ผ่านจังหวัดนครพนม เข้าสู่จีนตอนใต้

Screen Shot 2560-01-11 at 4.04.01 PM

รูปที่ 9 เส้นทางขนส่งทางบกจากไทยสู่จีน

ที่มา : https://www.kehakaset.com/newsactivities_details.php?view_item=256

หากพิจารณาเฉพาะการขนส่งผลไม้ทางบกจากไทยไปจีนมีด้วยกัน 5 เส้นทาง ดังนี้

  • เสนทาง R3 ประกอบดวย R3A และ R3B โดย R3A จากเชียงของไปห้วยทราย หลวงน้ำทา บ่อเต็น ของประเทศ สปป. ลาว ผ่านบ่อหานไปยังเชียงรุ้ง (จิงหง) นครคุนหมิง ในประเทศจีน ส่วนเส้นทาง R3B จากแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผ่านท่าขี้เหล็ก เชียงตุง ของประเทศเมียนมา ผ่านต้าลั้ว ไปยังเชียงรุ้ง นครคุนหมิง ในมณฑลยูนนาน ของประเทศจีน โดยมีการกระจายสินค้าจากคุนหมิงไปยังเมืองต่างๆ ในประเทศจีน เช่น หนานหนิง เฉิงตู ฉงชิ่ง และซีอาน
  • เส้นทาง R8 จากบึงกาฬ เข้าเขตปากซันของลาว ผ่านเมืองวิงห์ มุ่งสู่กรุงฮานอยของเวียดนาม และไปสิ้นสุดที่กว่างซี การขนส่งทางถนนในเส้นทางผ่าน R8 นี้ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 32.30 ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 1,797 กิโลเมตร
  • เส้นทาง R9 จากมุกดาหาร ผ่านสะหวันเขต และแดนสะหวันของ สปป.ลาว ไปยังลาวบาว และฮานอยของประเทศเวียดนาม เข้าสูประเทศจีนทางด้านด่านผิงเสียง ไปยังเมืองหนานหนิงเข้าสู่ตลาด เจียงหนานใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 35.30 ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 1,960 และมีการกระจายสินค้า โดยทางบกจากนครหนานหนิงไปยังเมืองต่างๆ ในประเทศจีน เชน คุนหมิง เฉิงตู ฉงชิ่ง และกวางโจว
  • เส้นทาง R12 จากกรุงเทพสู่ด่านพรมแดนจังหวัดนครพนม ผ่านด่านนาพาว เมืองทาแขก แขวงคํามวน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว (สปป. ลาว) ผ่านด่านลางเซิ่น ประเทศเวียดนาม ไปด่านโหยวอี้กวาน เขตกว่างซีจวง ไปยังหนานหนิง ใข้เวลาในการเดินทางประเทศ 29.30 ชั่วโมง ระยะทางประมาณ 1,700 กิโลเมตร และมีการกระจายสินค้าโดยทางบกจากนครหนานหนิงไปยังเมืองต่างๆ ในประเทศจีน เชน คุนหมิงฉงชิ่ง เฉิงตู และกวางโจว

อย่างไรก็ตาม เส้นทางการขนส่งสินค้าชายแดน ประเภทผลไม้ ที่นิยมกันมากที่สุด ได้แก่ เส้นทาง R12 ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีต้นทุนการขนส่งค่อนข้างต่ำ รองลงมาจากเส้นทาง R8 (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบเส้นทางการขนส่งไปยังประเทศจีนผ่านทางชายแดน

เส้นทางการขนส่ง ระยะทาง (กิโลเมตร) ระยะเวลา (ชั่วโมง) ต้นทุน

ขนส่ง (บาท)

ค่าใช้จ่ายด่านศุลกากร (บาท) รวม
เส้นทาง R3A 1,858 50 274,400 274,400
กรุงเทพ-เชียงราย 830   109,900
เชียงราย-เชียงของ 110  
เชียงของ-บ่อเต็น /บ่อหาน 228  
บ่อหาน-คุนหมิง 690   164,500
เส้นทาง R3B 1,383 45 329,000 329,000
กรุงเทพ-เชียงราย-แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก-ต้าลั้ว     161,210
ต้าหลั้ว-คุนหมิง     197,790
เส้นทาง R8 1,797 32.5 121,000 80,000 131,000
กรุงเทพ-บึงกาฬ 718 11.5 40,000 4,500
ปากซัน-ด่านน้ำพาว 222 5 16,000 8,100
ด่านเกาแจว-ด่านหล่างเซิน 657 13 48,000 47,900
ด่านโหยวยี่กวน-หนานหนิง 200 3 17,000 17,700
เส้นทาง R9 1,959 35 134,000 78,000 212,000
กรุงเทพ-มุกดาหาร 609 10 34,000 3,500
สะหวันนะเขต-แดนสะหวัน 250 4 18,000 7,100
ลาวบาว-หนานหนิง 900 18 65,000 49,700
ด่านโหยวยี่กวน-หนานหนิง 200 3 17,000 17,000
เส้นทาง R12 1,694 29.5 114,000 80,000 194,000
กรุงเทพ-นครพนม 724 11 41,000 3,500
นครพนม-ท่าแขก-นาพาว 150 3.5 11,000 9,200
จาลอ-หล่างเซิน 620 12 45,000 49,600
โหยวยี่กวน-หนาน
หนิง
200 3 17,00 17,000

ที่มา: ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ (2555), บุญทรัพย์ และคณะ (2560)

  • ปัจจัยด้านระเบียบพิธีการปฏิบัติด้านการนำเข้าและส่งออกชายแดน

แนวทางปฏิบัติด้านการนำเข้าและส่งออกของไทยและจีน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้านเช่นลาว และประเทศจีน ล้วนมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการค้าชายแดนไทยและจีนตอนใต้ ซึ่งได้หยิบยกเหตุการณ์บางส่วนที่เกี่ยวข้องมานำเสนอดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจ
  • การเปลี่ยนภาษีมูลค่าเพิ่มของสปป.ลาว

จากสถานการณ์การค้าชายแดนที่ได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลลาวเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละ 10อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 นั้น ทำให้ชาวลาวมาซื้อสินค้าของไทยน้อยลง และส่งผลให้มูลค่าการค้าชายแดนของไทยลดลงกว่าปีก่อนมาก เนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยสินค้าไทยของชาวลาวลดลง และชาวลาวหันกลับไปบริโภคสินค้าภายในประเทศมากขึ้น สะท้อนให้เห็นจากการค้าชายแดนด้าน จ.เชียงราย ในช่วงครึ่งปีพ.ศ. 2560 ลดลงอย่างมากพร้อมกันทั้ง 3 ด่าน (ด่านชายแดนแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ)

นอกจากนี้ จากการเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมที่ไม่แน่นอนและเวลาการเปิดไม่ชัดเจนของศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าของสปป.ลาว ตามเส้นทางการขนส่งสินค้าจากสะพานแม่น้ำโขงไทย-สปป.ลาวแห่งที่ 4 อำเภอเชียงของ ไปตามเส้นทาง R3A ที่เชื่อมไทย-สปป.ลาว-จีนตอนใต้ รวมทั้งขั้นตอนที่ยุ่งยากของพิธีการปฏิบัติด้านการตรวจสอบสินค้านำเข้าจีนตอนใต้ ณ ด่านชายแดนเมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว กับด่านชายแดนโมฮาน ประเทศจีน ส่งผลให้ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน พ.ศ.2560 หรือครึ่งปีแรกของปีนี้มีการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ผ่านด่านศุลกากรแม่สายและเชียงแสน มีมูลค่ารวม 44,820.20 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 54.54 โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 18,013.63 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 52.63 และนำเข้ามูลค่า 2,359.95 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 65.25 ทำให้ดุลการค้าลดลงเหลือเพียง 15,653.67 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 49.89 จากมูลค่าดังกล่าว ทำให้การค้าชายแดนไทยกับจีนตอนใต้ (บนเส้นทาง R3A) ลดลงร้อยละ 51.71 ขณะที่การค้าชายแดนไทยกับสปป.ลาวลดลงร้อยละ 61 (สำนักงานพาณิชย์ จ.เชียงราย, ประชาชาติ)

  • การเปลี่ยนแปลงภาษีนำเข้าของเมียนมา

จากที่กล่าวไปแล้วว่า การค้าชายแดนไทย-เมียนมา จ.เชียงราย ในช่วงครึ่งปีพ.ศ. 2560 ลดลงอย่างมาก อาจมีสาเหตุจาก ค่าเงินจ๊าตของประเทศเมียนมาอ่อนค่าลงจากไตรมาสที่ 3 ของปีก่อน ซึ่งเดิมเคยแลกเปลี่ยนเงินสกุลไทยได้ 0.0345 บาท ก็ลดลงเหลือเพียง 0.02475 บาท นอกจากนี้ เมียนมาได้ปรับระบบภาษีนำเข้าสินค้าที่ทำให้การค้าชายแดนลดลง อีกทั้งเส้นทางคมนาคมในประเทศเมียนมามีความสะดวกมากขึ้น ทำให้ชาวเมียนมานิยมเดินทางไปซื้อสินค้าที่ตลาดชายแดนโดยตรงมากกว่านำเข้าจากชายแดนไทย นอกจากนี้ การลดลงของการค้าชายแดนไทย-เมียนมา อาจเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน และการบังคับใช้กฎระเบียบด้านแรงงานต่างด้าวของไทยที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานกลับประเทศเมียนมามากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ การค้าชายแดนไทย-เมียนมา ณ ด่านชายแดนเชียงแสน ได้รับผลกระทบเนื่องจากการแจ้งยกเลิกการใช้เมืองท่าสบเหลย ของประเทศเมียนมา ซึ่งเดิมไทยได้ใช้เป็นเส้นทางการค้าชายแดนทางน้ำ เพื่อขนสินค้าผ่านชายแดนเชียงแสนที่ท่าสบเหลยของเมียนมา เพื่อส่งต่อไปยังประเทศจีนทางตอนใต้ หรือไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน ประเทศเมียนมา ต่อมามีการปิดการใช้บริการท่าเรือสบเหลยซึ่งส่งผลกระทบด้านการค้าชายแดนไทยเป็นอย่างมาก

  • การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการนำเข้าสินค่ของจีน

ความรู้ความเข้าใจในกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าของจีนมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนที่มีระเบียบพิธีปฏิบัติทางการนำเข้าสินค้าค่อนข้างมาก ผู้นำเข้า-ส่งออกชายแดนไทย-จีนจำเป็นต้องติดตามข่าวสารดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และควรมีแนวทางรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย ซึ่งที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าของจีนได้ส่งผลกระทบต่อการค้าชายแดนไทย-จีนค่อนข้างมาก กฎระเบียบทางการค้าและมาตรการนำเข้าสินค้าของจีนในด้านการนำเข้าสินค้าอาหารที่สำคัญมีดังนี้ (ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ , 2555)

กฎระเบียบการนำเข้าสินค้าอาหาร

กฎระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าประเภทอาหาร รวมทั้งผลไม้ (สํานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเฉิงตู ประเทศจีน) ซึ่งผู้ส่งออกไทยจำเป็นต้องปฏิบัติดังนี้

  • สาระสําคัญของกฎหมายว่าด้วยหลักอนามัยอาหารของจีน
    • สินค้าอาหารสําเร็จรูปที่นําเข้าจากต่างประเทศ ต้องผ่านการตรวจสอบตามกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องของจีน หากทางการจีนยังไม่มีหลักเกณฑ์สำหรับสินค้าอาหารนั้นๆ ผู้นำเข้าจะต้องแสดงหลักฐานเกี่ยวกับใบรับรองสุขภาพอนามัย ซึ่งรับรองโดยกน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประเทศที่ส่งออก และต้องผ่านการตรวจสอบจากสํานักงานควบคุมการนําเข้าและส่งออกของจีน (Entry-Exit Inspection and Quarantine Bureau. PR. China) สําหรับอาหารประเภทนั้นๆ หลังจากนั้นหน่วยงานดังกล่าวจะดําเนินการแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีของจีน เพื่อขออนุมัติการนําเข้าสินค้าอาหารนั้นๆ ต่อไป
    • สินค้าอาหารห้ามใส่ยา แต่ไม่รวมสินค้าอาหารที่ทําด้วยยา
    • อาหารสําเร็จรูปที่รับประทานโดยตรงต้องมีการบรรจุหีบหอเป็นซองเล็ก แล้วบรรจุรวมเป็นซองใหญ่ หรือมิฉะนั้น ก็ต้องใช้วัสดุที่ปราศจากสารพิษมาทำเป็นภาชนะสําหรับบรรจุหีบห่อ
    • ข้อมูลอธิบายสําหรับสินค้าอาหารนั้น ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตามความจริงทุกประการ
    • สัดส่วนของสารปรุงแต่งในสินค้าอาหาร ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของจีนโดยผู้นำเข้าสินค้าอาหารของจีน ต้องแสดงเอกสารรับรองการตรวจสอบสารปรุงแต่งในอาหารของประเทศผู้ส่งออก
  • กฎระเบียบควบคุมฉลากของสินค้าอาหารนำเข้า
    • ผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศต้องยื่นเอกสารไปให้สํานักงานควบคุมการนำเข้าและการส่งออกสินค้าของจีน (Entry-Exit Inspection and Quarantine Bureau) ที่ประจําในแต่ละมณฑลหรือยื่นต่อสํานักงานใหญ่ที่กรุงปกกิ่ง เพื่อขอใบรับรองฉลากของสินค้าอาหารนำเข้าจากหน่วนงานดังกล่าวโดยปกติจะใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ถ้าไม่มีใบรับรอง ห้ามนำเข้าสินค้าอาหารชนิดนั้น
    • ผู้นำเข้าสินค้าอาหารต้องเตรียมเอกสารในการยื่นขอใบรับรองฉลากของสินค้าอาหารประกอบด้วย แบบฟอร์มการขอใบรับรองฉลากของสินค้าอาหารนำเข้า หลักฐานการออกแบบของฉลากพร้อมหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเกี่ยวกับคําอธิบายในฉลาก กฎระเบียบที่ข้องด้านฉลากของประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหาร และตัวอย่างฉลากสินค้าอาหารจํานวน 6 ชุด
    • ภาษาที่ใช้ในฉลากสินค้าอาหารที่นำเข้าต้องเป็นภาษาจีน
    • สิ่งที่ต้องแสดงออกในฉลากของสินค้าอาหาร: ชื่อผู้ผลิต (Product’s Name) ส่วนประกอบ (Ingredients) รหัสมาตรฐาน (Standard Code) ฉลากที่ได้รับอนุญาต (Approved Label) วันผลิต (Production Date) ระยะเวลาเก็บรักษา (Preservation Period) วิธีการเก็บรักษา (Storage Method) ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต (Manufacture’s Name and Address) และเลขทะเบียนการรับรองสุขอนามัยพืชและสัตว์ (Quarantine and Sanitary Registration and Certificate Registration Number)

ระบบการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้า และการเรียกเก็บภาษีธุรกิจในประเทศจีน

กระบวนการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าและภาษีธุรกิจในประเทศจีน มักมีขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การเรียกเก็บภาษีนำเข้าและภาษีมูลคาเพิ่ม (VAT) (เก็บโดยกรมศุลกากร)

  • ภาษีนำเข้า (Import Tariff) สวนใหญ่คิดร้อยละ 0 ภายใต้ China-Asean FTA
  • ภาษีมูลคาเพิ่ม มีสองอัตราคือ ร้อยละ 13 หรือ 17 ขึ้นออยู่กับประเภทสินค้า โดยสินค้าเกษตรทั่วไปคิดร้อยละ 13 ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมคิดร้อยละ 17 ซึ่งผลไม้ไทยอยู่ในอัตราร้อยละ 13

ขั้นตอนที่ 2 ภาษีรายได้ (Income Tax) เก็บโดยสํานักภาษีท้องถิ่น ( Local Tax Bureau) ของแต่ละมณฑล หรือแต่ละเมืองนั้น โดยทั่วไป ภาษีรายได้คิดในอัตราร้อยละ 25 – 90 ขึ้นอยูกับองค์ประกอบหลายประการ เช่น ภาพรวมของอุตสาหกรรมนั้นๆ ระดับผลประกอบการของบริษัทและผลกําไรทั้งหมดของผู้ประกอบการโดยปกติจะคิดจากผลกําไร หักค่าใช้จายต่างๆ การคํานวณการเก็บภาษีดังกลาว มีความซับซ้อนจากองค์ประกอบหลายด้าน และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสํานักภาษีท้องถิ่นของแต่ละมณฑลหรือแต่ละเมือง แต่อัตราต่ำสุดคือ ร้อยละ 25

การยื่นขอใบตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้าก่อนวางจําหน่าย

ผู้นําสินค้าเข้าจากไทยต้องเข้ายื่นตัวอยางทุกรายการเพื่อตรวจสอบมาตรฐานสินค้า และความปลอดภัยต่อหน่วยงานตรวจสอบสุขอนามัย CIQ ประจํามณฑล ถ้าผ่านการตรวจสอบจะสามารถจําหน่ายได้ทั่วประเทศจีน โดยที่ประเทศจีนจะมีขั้นตอนในการตรวจสอบดังนี้

  • ตรวจทุกรายการสินค้าที่นำเข้า โดยเสียค่าใช้จ่ายรายการละ 1,000 หยวน (ประมาณ 5,000 บาท)
  • สินค้านำเข้าใหม่ต้องยื่นใหม่ทุกครั้ง (ผลตรวจจะระบุวันที่ตรวจสอบในล็อตนั้นๆ)
  • เวลาการตรวจจะใช้เวลา 1 เดือนถึง 1 เดือนครึ่ง จึงเสร็จและออกใบรับรองให้

กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

            โดยทั่วไป สินค้านำเข้าจะต้องผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองจากองค์กรจีน CIQ (China Entry-Exit Inspection and Quarantine Bureau) โดยสินค้าอาหารจะต้องได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน QS (Quality Safety) จากสํานักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคแห่งชาติจีน (General Administration of Quality Supervision Inspection and Quarantine) โดยพื้นฐาน สินค้านำเข้าควรมีบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า โดยตราสินค้าที่ต้องการจําหนายในจีนจะต้องผ่านการจดทะเบียนตราสินค้าและสัญลักษณ์จากหน่วยงาน Trademark Office of The State Administration For Industry & Commerce of the People’s Republic of China ที่กรุงปักกิ่ง

คณะนักวิจัยโอเบลส์

 

เอกสารอ้างอิง

ประชาชาติธุรกิจ. (16 ก.พ. 2559). เลาะล้วงจังหวัดริมโขง “นครพนม” เมืองซอยตันสู่เกตเวย์ R12 ส่งออกเวียดนาม-      หนานหนิง. สืบค้นจากhttps://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1455513412

ประชาชาติธุรกิจ. (25 ส.ค. 2558). ผู้ส่งออกย้ายซบด่านนครพนม ค้าชายแดนพุ่งจ่อทะลุแสนล้าน. สืบค้นจาก            https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1440581235

ประชาชาติธุรกิจ. (11 ส.ค. 2560). ค้าชายแดนครึ่งปี 12 ด่านส่งออกลด เชียงรายฮวบ 52%-แม่สอดแผ่ว-กัมพูชาร่วงยก  แผง. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-20562

บุญทรัพย์ และคณะ. (2560). โครงการวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้เขต      ปกครองตนเองกว่างซีจ้วง. รายงานฉบับสมบูรณ์, สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง กระทรวงการต่างประเทศ.

ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์. (2555). โครงการศึกษาการขยายตลาดผลไม้สดไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้            การเปิดเขตการค้าเสรีไทย-จีน. รายงานฉบับสมบูรณ์, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.myinterlogistic.com/2016/03/10/transport-china-to-thai/

Share via
Copy link
Powered by Social Snap