วิวาทะเรื่อง โลกาภิวัตน์

download

ในยุคที่ผ่านมาได้มีการพูดถึงโลกาภิวัตน์อย่างกว้างขวาง ทั้งที่มองเป็นวาทะกรรมและพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจโลก ในบริบทวาทะกรรมทางการเมืองในการนำเสนออุดมการณ์เสรีนิยมใหม่เพื่อเสริมสร้างการครอบงำของกลไกตลาดในฐานะเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง โลกาภิวัตน์ หมายถึงกระบวนการเคลื่อนย้ายของผู้คน สินค้า และวัฒนธรรมข้ามพรมแดนรัฐชาติ (ยศ, 2557)   ด้วยบริบทการเคลื่อนไหลของผู้คน สินค้า และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ทำให้เกิดวิวาทะระหว่างแนวคิด 2 รูปแบบเกี่ยวกับกระบวนการโลกาภิวัฒน์ที่ขัดแย้งกัน ดังนี้

1) โลกาภิวัตน์ เป็นผลให้เกิดกระบวนการสร้างความเหมือนหรือมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก (Standardization)

ในกระบวนการนี้ความสำคัญของรัฐจะเริ่มหมดพลังและความหมายในการกำกับควบคุมกลไกตลาดและการจัดสรรทรัพยากร โครงสร้างเศรษฐกิจและ สถาบันสังคม จะพัฒนาในทิศทางเดียวกัน ผ่านปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีสาระสนเทศ (ยศ ,2557)

ในด้านการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ จะพบเห็นการเปิดเสรีทางการค้า (Trade liberalization) การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและความร่วมมือระหว่างประเทศ (Trade integration and cooperation) เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ หลายประเทศให้ความสำคัญกับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศและจัดให้เป็นเครื่องยนต์ในการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ด้วยกระบวนการนี้ทำให้มูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับประเทศกำลังพัฒนา  และประเทศพัฒนาแล้วในการเลือกผลิตและส่งออกสินค้าที่ตนมีความเชียวชาญ (specialization) และมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (comparative advantage) หรือที่หลายๆคนรู้จักกันในนาม Export-led growth

นอกจากมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างประเทศแล้ว ผลลัพธ์ที่ตามมาหลังกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้แก่ การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี (Technology Transfer) ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา และการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ความเจริญอย่างเต็มรูปแบบ (Drive to maturity) และระดับอุดมโภคา (mass consumption) ตามลำดับ โลกาภิวัตน์ในแนวคิดนี้ส่งผลให้เกิดการยกระดับการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน การพิงพิงอาศัยและการรวมกลุ่มเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

2) ขณะเดียวกันมีกลุ่มผู้เห็นต่าง โต้แย้งว่ากระบวนโลกาภิวัตน์ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในมาตรฐานเดียวกัน แต่กลับเป็น ชุมชนภิวัฒน์ (Localization) ที่ทำให้เกิดความแตกต่างหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมมากขึ้น

โลกาภิวัตน์ในยุคหลัง ตั้งแต่เศรษฐกิจโลกเผชิญกับภาวะวิกฤตที่สำคัญๆ เช่น วิกฤตทางการเงินสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้ธนาคารกลางต้องควักกลยุทธ์ทางการเงินต่างๆมาฟื้นฟูวิกฤต หรือวิกฤตยูโรโซนที่นำซึ่งการทบทวนการตัดสินใจออกจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในอังกฤษและฝรั่งเศส หรือที่รู้จักกันในนาม BREXIT และ FREXIT ตามลำดับ หรือแม้แต่ภาวะตรึงเครียดในคราบสมุทรเกาหลีเหนือ ทำให้เกิดมุมมองและแนวความคิดเกี่ยวกับโลกาภิวัฒน์ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง

ในกระบวนการนี้รัฐเริ่มเข้ามามีบทบาทในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการปกป้องป้องกันการค้าระหว่างประเทศ (Protectionism) มากขึ้น เน้นปกป้องสินค้าและบริการที่ผลิตภายในประเทศเพื่อมิให้ถูกแข่งขันจากสินค้าหรือบริการจากต่างประเทศ รวมถึงเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานความแข็งแกร่งจากภายใน(Inward-looking) หรือการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาจากการค้าการลงทุนระหว่างประเทศผ่านการเปิดเสรีและความร่วมมือทางเศรษฐกิจดูเหมือนจะไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไปในแนวความคิดที่สองนี้

ความแตกต่างของทั้งสองแนวคิดนำมาซึ่งคำถามที่ชวนหาคำตอบ ว่าจริงๆแล้วภาวการณ์ปัจจุบันของโลก เราได้ก้าวผ่านยุคโลกาภิวัตน์แล้วหรือไม่ หากก้าวผ่านมาแล้วยุคปัจจุบันคืออะไร โดยเฉพาะภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนสูง นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น รวมถึงภาวะที่ประเทศยักษ์ใหญ่หันหัวเรือจากการเปิดเสรีทางการค้าเป็นกีดกันทางการค้ามากขึ้น เราจะรับมืออย่างไรกับภาวะที่ยากเกินจะคาดเดานี้ได้อย่างไร …..

วราวุฒิ  เรือนคำ

Share via
Copy link
Powered by Social Snap