VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

การศึกษาอุดมการณ์เด็กดีตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ที่ปรากฏในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ฉบับปรังปรุง พุทธศักราช 2567)

จันทกานต์ อยู่คง, สกาวเดือน ซาธรรม, ศานิตย์ ศรีคุณ

Abstract


งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาอุดมการณ์เด็กดีที่ปรากฏในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2567) เนื่องจากหนังสือเรียนเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ซึ่งหนังสือเรียนดังกล่าวได้รับการปรับปรุงแก้ไขและได้มีการพิจารณาอนุญาตให้ใช้ในสถานศึกษาได้ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาอุดมการณ์เด็กดีตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ โดยใช้กรอบมิติวาทกรรมของแฟร์คลัฟ ได้แก่ มิติที่ 1 ตัวบท (Text) มิติที่ 2 วิถีปฏิบัติทางวาทกรรม (Discourse Practice) และมิติที่ 3 วิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรม (Socio-Cultural Practice) และได้วิเคราะห์อุดมการณ์ที่ปรากฏโดยใช้หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ภาษาด้วยคุณลักษณะทางวัจนลีลาที่บ่งชี้ถึงคุณลักษณะต่าง ๆ

ผลการวิจัยพบว่า มีอุดมการณ์เด็กดีที่ปรากฏ จำนวน 16 อุดมการณ์ ได้แก่ 1) การอนุรักษ์ (การอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์ธรรมชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรม และการอนุรักษ์มรดกของชาติ) 2) การเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3) การดูแลตนเอง (การดูแลตนเองด้านสุขภาพ และการดูแลตนเองด้านความปลอดภัย) 4) การประพฤติดี (การประพฤติดีต่อตนเอง และการประพฤติดีต่อสังคม) 5) การเชื่อฟังคำสอนของผู้ใหญ่ 6) ความมีน้ำใจ 7) การประหยัดอดออม 8) การมีมารยาท สุภาพ และอ่อนน้อม 9) การตั้งใจศึกษาเล่าเรียน 10) ความกตัญญู 11) ความขยันหมั่นเพียร  12) ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น 13) ความมีระเบียบวินัย 14) ความรักใคร่ กลมเกลียว สามัคคี 15) ความรับผิดชอบในหน้าที่ และ 16) การมีสติและสมาธิ ซึ่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์ จุดหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

งานวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นว่า ‘หนังสือเรียน’ ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดและปลูกฝังอุดมการณ์เด็กดี ผ่านการออกแบบเนื้อหาและภาษาที่สอดคล้องกับความคาดหวังของสังคมไทย เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่รัฐบาลได้มุ่งหวังไว้ วาทกรรมดังกล่าวจึงทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการกำหนดกรอบความคิด ทัศนคติของนักเรียน รวมถึงพฤติกรรมของนักเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาไทย


Keywords


วาทกรรม; วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์; อุดมการณ์เด็กดี; หนังสือเรียน; หลักสูตรแกนกลาง; ภาษาพาที

Full Text:

PDF PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2567). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). โครงสร้าง/หน้าที่/อัตรากำลัง. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/moe-a_02_4org-chart/.

กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). วิสัยทัศน์. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/vision/.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). ตะไคร้หอม Citronella grass. สืบค้นจาก chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://services.pharm.tu.ac.th/turxherbgarden/uploads/20210615287116245.

โรงพยาบาลรามคำแหง. (2566). สัญญาณเตือน!.. ว่าสุขภาพคุณเริ่มแย่แล้ว. สืบค้นจาก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2262

วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503-2544: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2558). ภาษาแห่งอำนาจ: การวิเคราะห์วัจนลีลาของภาษากฎหมาย ภาษา การเมือง ภาษาสื่อ และภาษาวิชาการของสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาวัลย์ ชีช้าง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและอุดมการณ์ในเรื่องเล่าสำหรับเด็กในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ. 2523-2553. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size