VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

การศึกษาอุดมการณ์เด็กดีตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ที่ปรากฏในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2567)

จันทกานต์ อยู่คง, ศานิตย์ ศรีคุณ, สกาวเดือน ซาธรรม

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์อุดมการณ์เด็กดีที่ปรากฏในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2567 โดยใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (critical discourse analysis) และคุณลักษณะทางวัจนลีลากับตัวบ่งชี้ทางภาษา ของ อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2558) ในการวิเคราะห์ ภาษาในการสร้างวาทกรรม “อุดมการณ์เด็กดี” ผลการศึกษาพบว่า อุดมการณ์เด็กดีที่ปรากฏในหนังสือเรียนผ่านคุณลักษณะ ทางวัจนลีลา มีทั้งหมด 12 ประการจาก 14 ประการ ได้แก่ ความแจ่มชัด ความเป็นทางการ ความเป็นวัตถุวิสัย การบังคับชี้นำ ความถูกต้องแม่นยำ ความชัดถ้อยชัดคำ ความปิดบังอำพราง ความสั้นกระชับ ความเป็นอัตวิสัย การโน้มน้าว ความเป็น ปึกแผ่น และความเบี่ยงบัง โดยมีชุดความคิดที่สะท้อนอุดมการณ์เด็กดีจำนวน 14 ประการ ได้แก่ การเชื่อฟังผู้ใหญ่การดูแล ตนเอง การประหยัดอดออม การมีสติและสมาธิการอนุรักษ์ธรรมชาติการอนุรักษ์มรดกของชาติความขยันหมั่นเพียร ความ ซื่อสัตย์ความประพฤติดีความภาคภูมิใจในชาติความมีน้ำใจ ความมีมารยาท ความมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ อุดมการณ์เด็กดีที่ปรากฏจึงมีความสอดคล้องกับจุดหมายและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในหลักสูตรแกนกลาง ซึ่งได้รับการ พัฒนาอย่างเป็นระบบจากกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านการออกแบบเนื้อหาและการใช้ภาษาที่สะท้อนความคาดหวังทางสังคม และวัฒนธรรม วาทกรรม “อุดมการณ์เด็กดี” ที่ได้สร้างขึ้นจึงทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการชี้นำและกำหนดกรอบพฤติกรรม และทัศนคติของนักเรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้


Keywords


วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์, อุดมการณ์เด็กดี; หนังสือเรียน; หลักสูตรแกนกลาง; ภาษาพาที

Full Text:

PDF PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2567). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). ตะไคร้หอม Citronella grass. https://services.pharm.tu.ac.th/turxherbgarden/uploads/20210615287116245.pdf

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไทยรัฐ. (2566). จบดราม่าหนังสือ “ภาษาพาที” หันมาปรับเปลี่ยนแบบเรียนภาษาไทย ให้ทันยุค. https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2689340?

มาริษา หมัดหนิ. (2565). วาทกรรม “เด็กดี” : การศึกษาเปรียบเทียบแบบเรียนชั้นประถมศึกษาไทยกับมาเลเซีย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18028

โรงพยาบาลรามคำแหง. (2566). สัญญาณเตือน!.. ว่าสุขภาพคุณเริ่มแย่แล้ว. https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2262

วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2503-2544 : การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository. https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2011.2072

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2558). ภาษาแห่งอำนาจ : การวิเคราะห์วัจนลีลาของภาษากฎหมาย ภาษาการเมือง ภาษาสื่อ และภาษาวิชาการของสังคมไทย. ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาวัลย์ ชีช้าง. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและอุดมการณ์ในเรื่องเล่าสำหรับเด็กในหนังสือวันเด็กแห่งชาติ พ.ศ. 2523-2553 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository. https://doi.org/10.58837/CHULA. THE.2012.1719

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: The critical study of language. Longman.

van Dijk, T. A. (2009). Discourse studies: A multidisciplinary introduction. Sage.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size