VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

กลวิธีทางภาษาในโฆษณาร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย

เรียว อิวาฮารา, สุจิตรา แซ่ลิ่ม

Abstract


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาของโฆษณาร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย เก็บข้อมูลจากข้อความในภาพโฆษณาร้านอาหารญี่ปุ่นที่ได้รับสัญลักษณ์ไลก์และมีผู้ติดตามในเฟซบุ๊กแฟนเพจ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ยาโยอิ โอโตยะ และฟูจิ ตั้งแต่มกราคม-ธันวาคม พ.ศ.2565 จำนวน 281 ชิ้น ผลการศึกษาพบกลวิธีทางภาษาและหน้าที่ในการสื่อสาร ดังนี้ 1) การใช้คำแสดงข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลด้านบวก สร้างภาพลักษณ์ที่ดี และสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริโภค 2) การใช้คำแสดงความสนิทสนม เพื่อสร้างความน่าสนใจ สร้างความเป็นกันเอง และดึงดูดความสนใจผู้บริโภค 3) การใช้คำแสดงความเป็นญี่ปุ่น เพื่อเน้นย้ำและแสดงภาพลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่น 4) การใช้คำแสดงการเชิญชวน เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภคให้ซื้อสินค้าและบริการ 5) การใช้คำหรือสำนวนในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นภาพและสร้างความน่าสนใจให้สินค้าและบริการ 6) การใช้คำแสดงความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมไทย เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างวิถีชีวิตของคนไทยกับอาหารญี่ปุ่น ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลวิธีทางภาษาเหล่านี้นอกจากจะนำเสนอข้อมูลที่ทำให้เกิดความรับรู้ในเชิงบวกแก่ผู้บริโภคแล้ว ยังโน้มน้าวใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการด้วย


Keywords


กลวิธีทางภาษา; การโฆษณา; ร้านอาหารญี่ปุ่น; เฟซบุ๊กแฟนเพจ

Full Text:

PDF

References


กีรติพร จูตะวิริยะ. (2561). วิถีการบริโภคอาหารญี่ปุ่นในสังคมไทยจากมุมมองสังคมวิทยา. วารสารวิชาการของสมาคมญี่ปุ่นศึกษาแห่งประเทศไทย, 8(ฉบับพิเศษ), 123-141.

จิรัฐฏิการณ์ บุญต่อ. (2565). ปริจเฉทการแนะนําอาหารและกลวิธีการใช้ภาษาในเฟซบุ๊กเพจ “ชีวิตติดรีวิว”. วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย, 8(1), 19-40.

ชมพูนุท บัวเอี่ยม. (2541). กลยุทธ์การโฆษณาของธุรกิจประกันชีวิต [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร มหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณธร ครุธเนตร. (2565). กลวิธีทางภาษาที่ใช้เขียนรีวิวของเพจ Café Story. วารสารวจนะ, 10(1), 138-159.

พัฒน์พินันท์ อยู่สำราญ และปนันดา เลอเลิศยุติธรรม. (2564). กลวิธีการโน้มน้าวใจของบล็อกเกอร์ด้านความงาม. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 5(2), 91-100.

วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา และธนพล เอกพจน์. (2564). กลวิธีทางภาษาในการโฆษณาอาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อสำหรับผู้ชาย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 29(3), 104-128.

สันทนา อมรเสถียรพงศ์. (2548). แรงจูงใจ: ปัจจัยสำคัญของการโฆษณา [การค้นคว้าอิสระปริญญาวารสารศาสตรบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น. (2565). ผลการสำรวจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยปี 2565. https://www.jetro.go.jp/ext_images/thailand/food/japaneserestaurantssurvey2022th.pdf

องอาจ ปทะวานิช. (2555). การโฆษณา. แสงดาว.

อภิสรา ชั้วทอง และเขมฤทัย บุญวรรณ. (2565). กลวิธีทางภาษาโน้มน้าวใจในรายการเกมโชว์: เกมต่อชีวิต. วารสารฟ้าเหนือ, 1(13), 97-116.

อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์ และอวยพร พานิช. (2561). การใช้ทฤษฎีการโน้มน้าวใจในวิทยานิพนธ์สาขานิเทศศาสตร์ของไทย. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 2(1), 54-62.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size