VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนที่เกี่ยวกับความรักในภาษาไทยจีน

อาภรณ์ ถิรกันต์

Abstract


 

บทคัดย่อ

ปัญหาของงานวิจัยนี้มาจากคำถามที่ว่าในด้านความหมายและโครงสร้างของสำนวนที่เกี่ยวกับความรักในภาษาไทยจีนมีจุดร่วมและต่างกันอย่างไร ในงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ(Qualitative Research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาเปรียบเทียบระดับความเหมือนทางด้านความหมายของสำนวนและระดับความเหมือนของสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบในสำนวน 2) ศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของสำนวนความรักไทยจีน โดยในการศึกษานี้ได้ใช้แนวคิด อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ และทฤษฎีการวิเคราะห์องค์ประกอบ ใช้วิธีศึกษาข้อมูลในเชิงเอกสาร(Documentary Research) โดยการคัดคำศัพท์ออกมาจากพจนานุกรมจีนไทยแล้วนำมาเปรียบเทียบ เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดความเข้าใจการใช้สำนวนที่เกี่ยวกับความรัก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) นำเสนอโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ จากนั้นสรุปผล

ผลจากการวิจัยพบว่า: 1) ในด้านความหมายของสำนวนและระดับความเหมือนของสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท รวมเป็น 23 คู่สำนวน 2)ในด้านรูปแบบโครงสร้างในสำนวนความรักของไทยมีจำนวนพยางค์ที่สั้นที่สุดจำนวน 2 พยางค์ ยาวที่สุด 12 พยางค์ สำนวนความรักของจีนจำนวนพยางค์ที่สั้นที่สุดมี 3 พยางค์ ยาวที่สุดมี 10 พยางค์ ในด้านรูปแบบโครงสร้างของคำ 9 รูปแบบ มีรูปแบบโครงสร้างที่มีความเหมือนร่วมกัน 5 รูปแบบ ส่วนในด้านโครงสร้างไวยากรณ์ของสำนวนความรักใน  7 รูปแบบพบว่า มีลักษณะร่วมเหมือนกัน6 รูปแบบ

Abstract

The research question is about the meaning and structure of the Love idioms in Thai and Chinese, what are the similarities and differences, This qualitative research aims to achieve the following objectives. 1) To conduct a comparative study of the resemblance of both the meanings and the similarities between objects being compared. 2)To study and compare the structure of Thai-Chinese love idioms. In this research used Ethnosemantics concept and Factor analysis theory by conducting documentary research, selecting words from a Thai-Chinese dictionary, then conducting a comparative analysis. Research tool was the comprehension test of Thai-Chinese love idiom.The statistics used for data analysis were mean and standard deviation. The data was analyzed by utilizing content analysis, and presented by implementing descriptive analysis.

Research results reveal that:1) The meanings of the idioms and the degrees of similarity between the idioms being compared can be divided into 5 types, making a total of 23 pairs of idioms. 2) The forms and structures of Thai love idioms typically contain at the very least 2 syllables, and the longest idioms contain 12 syllables. As for Chinese love idioms the smallest number of syllables is 3 syllables, and the longest is 10 syllables. The form and structure of words in Chinese-Thai love idioms can be divided into 9 categories, and it was found that 5 categories have the same style. Finally, out of the 7 patterns of the grammatical structure of love idioms, it was found that 6 patterns had the same style.


Keywords


Idioms ; love ; A comparative study

Full Text:

PDF

References


ขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธุ์)(2541).สำนวนไทย.สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น),พิมพ์ ครั้งที่ 2.

จุไรรัตน์ อารยะกิตติพงศ์(2544).สนุกกับสำนวนจีน.สำนักพิมพ์ จุไรรัตน์ ธัญอนันต์กูล.

จินดาพร พินพงทรัพย์(2545).การศึกษาสำนวนจีนที่ประกอบด้วยตัวอักษรมากกว่า 4 ตัว.วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉินหยงหลิน(2526).สำนวนจีนและสำนวนไทย:การศึกษาเปรียบเทียบ.วิทยานิพนธ์ อ.ม.(ภาษาไทย). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ถ่ายเอกสาร.

ชัญญพร ปริญญาวุฒิชัย(2543).การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนที่มีตัวเลขในภาษาจีนและภาษาไทย. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัชศรัณย์ เชิดชูตระกูลชัย(2544).สำนวนกริยา-กรรมแบบสามพยางค์ที่ใช้บ่อยในภาษาจีน.วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ(2546).พจนานุกรมจีน-ไทย(ฉบับใหม่).บริษัท รวมสาส์น(1977)จำกัด.

พงจันทร์ ศรัทธา(2541).สำนวนไทยและสุภาษิต.สำนักพิมพ์เสริมวิทย์ บรรณาคาร.

พิรยา สุรขจร(2544).สำนวนจีนและสำนวนไทยที่มีคำเกี่ยวกับสัตว์:การศึกษาเปรียบเทียบวิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยิ่งลักษณ์ งามดี(2536).สุภาษิต คำพังเพยและสำนวนไทย.กรุงเทพ:โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

วรรณณิดา ถึงแสง(2545).การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนกับสำนวนไทยที่มีคำบอกอวัยวะ”ตา”.วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิเชียร์ เกษประทุม(2550).สำนวนไทยฉบับสมบูรณ์.สำนักพิมพ์ บจก. พัฒนาศึกษา.

เอกรัตน์ อุดมพรและคณะ(2544).2000 สำนวนไทย.สำนักพิมพ์ บจก. พัฒนาศึกษา.

อุรา เด่นวิภัยเลิสล้ำ(2548).การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนที่มีคำว่าเงิน ทองและของมีค่าในภาษาจีนกับในภาษาไทย.กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

岑容林(2011).中泰成语对比研究.泰国:皇太后大学孔子学院出版社.

崔希亮(2005).汉语熟语与中国人文世界.北京:北京语言大学出版社.

金宪经.金周姬编(2002).四字成语.北京:商务印书馆.

刘振平(2012).汉语成语与中国婚姻爱情文化.北京:世界图书版公司北京公司.

马盛静恒(2002).听故事学成语.北京:北京语言大学出版社.

莫彭龄(2001).汉语成语与汉文化.南京:江苏教育出版社.

梅萌(2011).汉语成语大全.北京.商务印书馆国际有限公司.

唐志超(2002).中华成语大词典.延吉:延边人民出版社.

王勤(2006).汉语熟语论.济南:山东教育出版社.

徐朗(2009).常用成语分类使用手册.南京:南京大学出版社.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size