บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในสำนวนภาษาฝรั่งเศสที่ใช้สัตว์สื่อความหมาย โดยเก็บข้อมูลจากรูปภาษาแสดงอุปลักษณ์ที่ใช้ “สัตว์” ประเภทเลี้ยงลูกด้วยนมสื่อความหมายจากหนังสือ “สำนวนฝรั่งเศสและสำนวนไทย” (2539) และหนังสือ “การเทียบเคียงสำนวนไทยกับฝรั่งเศส” (2533) ผลการศึกษาพบว่า อุปลักษณ์สัตว์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบมีจำนวน 23 ชนิด ได้แก่ อุปลักษณ์หมา อุปลักษณ์หมู อุปลักษณ์แมว อุปลักษณ์หมาป่า อุปลักษณ์วัวตัวผู้ อุปลักษณ์ลาตัวผู้ อุปลักษณ์กระต่าย อุปลักษณ์ม้า อุปลักษณ์สิงโต อุปลักษณ์วัวตัวเมีย อุปลักษณ์กระต่ายป่า อุปลักษณ์ลิง อุปลักษณ์หนูหริ่ง อุปลักษณ์แพะตัวเมีย อุปลักษณ์หมี อุปลักษณ์ลูกแกะ อุปลักษณ์ลาตัวเมีย อุปลักษณ์ล่อตัวเมีย อุปลักษณ์หมาจิ้งจอก อุปลักษณ์เสือ อุปลักษณ์หนูตะเภา อุปลักษณ์หนูท่อหรือหนูท้องขาว อุปลักษณ์แพะตัวผู้ และพบมโนทัศน์ที่สะท้อนแนวความคิดของคนในสังคมฝรั่งเศส โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มความหมาย มนุษย์และสิ่งที่สัมพันธ์กับมนุษย์และ 2) กลุ่มความหมาย ที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งแสดงให้เห็นมโนทัศน์ของคนในสังคมฝรั่งเศสว่า สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญและผูกพันในการดำรงชีวิตของคนในสังคมฝรั่งเศส จึงมีการถ่ายโยงความหมายของสัตว์ออกมาในรูปของสำนวนให้มีความหมายที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในสังคมฝรั่งเศส
Abstract
The purposes of this research are to study animal metaphors in French expressions, and to investigate concepts reflected on animal metaphors. The results reveal that there are 23 metaphors of animals in French expressions: dog, pig, cat, wolf, ox, male donkey, rabbit, horse, lion, cow, hare, monkey, mouse, female goat, bear, lamb, female donkey, mule, fox, tiger, guinea pig, rat, and male goat. In French expressions, the metaphorical expressions of ANIMALS related to 2 main concepts: [ANIMALS ARE ANIMATE] and [ANIMALS ARE INANIMATE]. The conceptual study reflected that animals have important roles in daily life of the French language users. Accordingly, animals’ conceptual domains related to beliefs, cultural models, and social values of the language users.
จินดารัตน์ บุญพันธ์. (2547). ความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ในสำนวนไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2543). ภาษากับการสื่อสาร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชนิกานต์ วงค์ปิยะ. (2555). การเปรียบเทียบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับคนที่พบในสำนวนฝรั่งเศสและสำนวนไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัชวดี ศรลัมพ์. (2538). การแปลสำนวนในนวนิยายภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย. ศาสตร์แห่งภาษา, (7), 25-46.
ชัชวดี ศรลัมพ์. (2548). อุปลักษณ์ตามแนวคิดของทฤษฏีภาษาศาสตร์ปริชาน. วารสารศิลปศาสตร์, 5(1), 1-16.
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2561). มโนอุปลักษณ์แสดงอารมณ์หวัง ความใฝ่ฝัน หรือจินตนาการในภาษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์, 5(3), 172-185.
ดารณี พุทธรักษา. (2533). การเทียบเคียงสำนวนไทยกับฝรั่งเศส. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดารณี พุทธรักษา. (2539). สำนวนฝรั่งเศสและสำนวนไทย. ดวงกมล.
นววรรณ พันธุเมธา. (2544). คู่มือการใช้ภาษาไทยแนวใหม่ : คลังคำ. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพลับลิชชิ่ง.
ปิ่นอนงค์ อำปะละ. (2563). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เวลาเป็นการเคลื่อนที่ "ลง" ในภาษาไทยถิ่นเหนือ. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 7(1), 45-59.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). สืบค้นจาก https://dictionary.orst.go.th/
พราวพรรณ พลบุญ. (2561). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์จากบทเพลง J-POP. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 35(2), 331-361.
รังสิมา รุ่งเรือง. (2560). ความหมายเปรียบเทียบของสัตว์ในภาษาไทยและภาษาอินโดนีเซีย (วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อาทิมา วรินทร์อุดมสุข. (2561). อุปลักษณ์ที่แสดงมโนทัศน์น้ำท่วมในข่าวภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส (วิทยานิพนธ์ปริญญาหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Lakoff, G. & Johnson, M. (1980). Metaphor we live by. University of Chicago Press.
Lakoff, G. (1987). Women, Fire and Dangerous Things: What Categories Reveal about the mind. University of Chicago Press.
Larousse. (n.d.). Dans dictionnaire en ligne. Retrieved from https://www.larousse.fr/
Le Robert. (n.d.). Dans dictionnaire en ligne. Retrieved from https://dictionnaire.lerobert.com/
Ullmann, S. (1962). Semantics: An Introduction to the Science of Meaning. Basil Blackwell.
Ungerer, F. & Schmid, H-J. (1996). An Introduction to Cognitive Linguistics. Longman.