VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

การคุกคามหน้าคู่สนทนาของชูชก ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ฉบับเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ Jujaka’s Face Threatening Strategies against Addressees: Mahavessantara Jataka, 13-Sermon Mahachat

สัพพัญญู สุขพิระวัฒนกุล, ศิริพร ปัญญาเมธีกุล

Abstract



บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการคุกคามหน้าคู่สนทนาของชูชกในเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก ฉบับเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ โดยใช้เกณฑ์การคุกคามหน้าของบราวน์และเลวินสัน (Brown &  Levinson, 1987) ในการวิเคราะห์  ผลจากการศึกษาพบว่าชูชกใช้กลวิธีการคุกคามหน้าคู่สนทนา 17 กลวิธี แบ่งเป็นการคุกคามหน้าด้านบวกของผู้ฟัง 6 กลวิธี คือ การโอ้อวด การบริภาษ การพูดถึงสิ่งต้องห้าม การยกเรื่องที่ไม่สมควรขึ้นมาพูด การใช้คำเรียกขานที่ไม่เหมาะสม และการปฏิเสธ ส่วนการคุกคามหน้าด้านลบของผู้ฟังพบ 11 กลวิธี คือ การสัญญา การสั่ง การสอน การขอร้อง การให้ข้อเสนอ การชม การอวยพร การท้าทาย การข่มขู่ การโน้มน้าว และการกล่าวหา จากผลการวิเคราะห์พบว่าชูชกเลือกใช้กลวิธีการคุกคามหน้าคู่สนทนา โดยพิจารณาจากอำนาจและสถานภาพของคู่สนทนาเป็นหลัก

 

Abstract

This article aims to analyze Jujaka’s face threatening strategies against addressees in Mahavessantara Jataka, 13-Sermon Mahajati using face threatening criteria of Brown and Levinson (1987). The results show that Jujaka uses 17 strategies in face threatening 6 of which are positive face threatening which includes boasting, scolding, talking about the forbidden, talking about the inappropriate, name calling, and refuting. Eleven strategies are negative face threatening which includes promising, commanding, teaching, begging, offering, complimenting, wishing, dare, threatening, persuading and blaming. It was found that Jujaka’s chosen face threatening strategies against addressees are mainly based on the addressee’s power and status.


Keywords


การคุกคามหน้า; ชูชก; มหาเวสสันดรชาดก

Full Text:

PDF

References


จักริน จุลพรหม (2560).ชูชก: จากชาดกสู่งานศิลปะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(1), 140-153.

ปรมานุชิตชิโนรส, กรมสมเด็จพระ และคณะ. (2533). วรรณคดีมหาเวสสันดรชาดก: ฉบับเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์. กรุงเทพฯ: โครงการมูลนิธิหอไตร.

ทรงธรรม อินทจักร. (2550). แนวคิดพื้นฐานด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระครูวินัยธรรมานพ กันฺตสีโล. (2551). สถานที่และบทบาทของตัวละครในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก. ใน เฉลิมศักดิ์ เย็นสำราญ เทศน์มหาชาติมหากุศลเฉลิมพระเกียรติ ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระมหาธวัชชัย มาตาเบ้า. (2557). วัจนกรรมปฏิเสธของภิกษุ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาศาสตร์การศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

พระสมหมาย ปวโร (ติตะปัน). (2555). การศึกษาวิเคราะห์วรรณมหาเวสสันดรชาดก: กรณีศึกษาชูชกกัณฑ์ ในคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (พระพุทธศาสนา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนุเทพ ขนฺติพโล (สุขศรี). (2556). การศึกษาวิเคราะห์ปรากฏการณ์การบูชาชูชกในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (พระพุทธศาสนา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วิสันต์ สุขวิสิทธิ์. (2547). วัจนกรรมการบริภาษในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2563). ความหมายและการตีความ. กรุงเทพฯ: พริ้นท์ คอร์เนอร์.

ศิวดล วราเอกศิริ. (2556). วัจนกรรมเกี่ยวกับความสุภาพและแนวคิดเรื่องหน้ากับการคุกคามหน้าของตัวละครในรามเกียรติ์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(1), 175-213.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สุวนีย์ ชวนสนิท. (2519). วิเคราะห์ร่ายยาวมหาเวชสันดรชาดกทางวัฒนธรรมไทย. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brown, P., & Levinson, S. C. (1987). Politeness: Some Universals in Language Usage. Cambridge: Cambridge University Press.

Chen, I-Ju. (2017). Face-Threatening Acts: Conflict between a Teacher and Students in EFL Classroom. Open Journal of Modern Linguistics, 7, 151-166

Searle, J. R. (1979). Expression and Meaning: Studies in the Theory of Speech Acts. Cambridge: Cambridge University Press.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size