บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาคุณสมบัติวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของคำกริยาพื้นฐาน ‘เปิด’ เมื่อปรากฏการคู่กับศัพท์เฉพาะทาง ศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ปริชานแบบอิงฐานข้อมูล ข้อมูลนำมาจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ พบความหมายทั้งสิ้น 7 ความหมายจากศัพท์เฉพาะทางทั้งหมด 13 หมวด มีดังนี้ 1) เผยสิ่งที่แต่เดิมอยู่สภาพปิด 2) อนุญาตให้กระทำบางอย่าง 3) มีลักษณะเป็นช่องหรือโพรง 4) เริ่มการกระทำ 5) สร้างขึ้นใหม่ 6) แสดงการเคลื่อนที่ ที่ไม่สามารถหยุดได้ในขอบเขตที่กำหนด และ 7) ดำเนินกิจการ
คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของเปิด ปรากฏทั้งในหน่วยสร้างคำประสมและวลี เปิดที่เป็นคำประสมทำหน้าที่เป็นสกรรมกริยาประเภทเดียวมีความหมายแบบเข้าศูนย์ และเปิดที่ปรากฏในหน่วยสร้างวลีที่เป็นได้ทั้งสกรรมกริยาและกริยาบอกสภาพ ได้แก่ความหมายเผยสิ่งที่แต่เดิมอยู่สภาพ อนุญาตให้กระทำบางอย่าง และเริ่มการกระทำ ที่ปรากฏเป็นสกรรมกริยา ได้แก่ความหมายสร้างขึ้นใหม่ ดำเนินกิจการ ประเภทสุดท้าย เปิดปรากฏเป็นกริยาบอกสภาพ ได้แก่ ความหมายมีลักษณะเป็นช่องหรือโพรง และแสดงการเคลื่อนที่ที่ไม่สามารถหยุดได้ในขอบเขตที่กำหนด
Abstract
This corpus-based cognitive semantic article aims to study syntactic and semantic properties of the basic verb /pə̀ət/ used in technical terms in Thai. The data were retrieved from Thai National Corpus (TNC). The result revealed 7 meanings out of 13 technical term categories, that is, for the main sense: 1.) to reveal something which is previously in closed state, for the peripheral ones: 2) to be allowed to do something, 3) to be cavity-like, 4) to start to do something, 5) to create, 6) to exceed its designated limitation, and 7) to run business.
With syntactic and semantic properties, /pə̀ət/ was both found in compound and phrase constructions. In compound construction, only transitive verb was performed and reckoned an endocentric one. For /pə̀ət/ in phrase-level, meaning (1), (2) and (4) could be both transitive and stative. Transitive verb was found in meanings (5) and (7). Lastly, meanings (3) and (6) was considered the stative verb.
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2542). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พงษ์ศักดิ์ อันประเสริฐ และกนกพร นุ่มทอง. (2556). การประยุกต์ใช้หลักการแปลกับการแปลงานวิศวกรรมเรือจากภาษาจีนเป็น ภาษาไทย. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (9)1. 120
พิมพ์ใจ สุรินทรเสรี. (2549). ประมวลศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับสัญญาเช่า. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการแปลภาษาอังกฤษและไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ราชบณัฑติยสถาน. (2554). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพมหานคร: ราชบณัฑติยสถาน.
Yao, S. (2559). คำประสมคำนามกับคำนามที่มีคำว่า /ɕin55/ (ใจ) ในภาษาจีน: การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 36, 2.
Bauer, L. (2017). Compounds and Compounding. Cambridge University Press.
Craig, C. G. (1986). Jacaltec Noun Classifiers: A Study in Grammaticalization. Lingua, 70: 241-284.
Lakoff, G., (1987). Women, Fire and Dangerous Things: What Categories Reveal About the Mind. Chicago: University of Chicago Press.
De Mattia-Viviès, M. (2009). The passive and the notion of transitivity. Review of European Studies Study, 1 (2), pp.94-109.
Rosch, E. (1976). Basic Objects in Natural Categories. Cognitive Psychology 8, 382-439.
Talmy, L. (2000). Toward a Cognitive Semantics. MIT Press.Vol.1, 4.
Wang, B., & Su, L. (2015). On the Principled Polysemy of -kai in Chinese Resultative Verbs. Chinese Language and Discourse, 6:1, 2-27. 2015
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publications.