VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

ความเข้าใจไม่ตรงกันในการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์

ศิริพร ปัญญาเมธีกุล

Abstract



บทคัดย่อ

การสื่อสารผ่านแอบพลิเคชั่นไลน์เป็นการสื่อสารที่นิยมมากในประเทศไทย เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่ผู้สนทนาสามารถพูดคุยได้เสมือนเห็นหน้ากัน  แต่อย่างไรก็ตาม  ความสะดวกรวดเร็วในการสนทนาทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกันเกิดขึ้น  ในงานวิจัยนี้จึงทำการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกันในการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์  โดยเก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน  100  คน  และใช้แนวคิดความเข้าใจไม่ตรงกันของบาซซาเนลล่าและดามิอาโน (Bazzanella & Damiano. 1999) ในการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างแบบสอบถาม  ผลการวิเคราะห์พบว่าสาเหตุสำคัญของการเข้าใจไม่ตรงกันเกิดจากการอ่านข้อความไม่ครบถ้วน อ่านข้ามข้อความ  และการตีความหมายในการสื่อสารผิด  นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์พบความต่างเพียงข้อเดียวที่มีความสัมพันธ์กับเพศ  คือ  เพศชายให้ความสำคัญกับความเข้าใจไม่ตรงกันที่เกิดจากการอ่านข้อความไม่ครบถ้วน อ่านข้ามข้อความมากกว่าเพศหญิงเป็นพิเศษ


Abstract

Communication through the application Line is a very popular in Thailand since it is like talking face to face. However, the ease of communication sometimes leads to misunderstandings. In this research, we analyze the causes of misunderstanding in communication through the application Line. Data were collected from 100 participants who complete a questionnaire. The framework of Bazzanella & Damiano (1999) was used to analyze the data and to construct a questionnaire. The analysis shows that the major cause of misunderstandings was due to incomplete reading, skipping messages and wrong interpretation of communication. We found that the only difference between genders was that males put more importance on misunderstandings caused by the incomplete reading of the text and skipping messages than did females.


Keywords


ความเข้าใจไม่ตรงกัน; การปฏิสัมพันธ์; การสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์

Full Text:

PDF

References


ศิริพร ปัญญาเมธีกุล และติยนุช รู้แสวง. (2560, มกราคม-มิถุนายน). การใช้คำไทยไม่ตรงตามมาตรฐานในการสื่อสารออนไลน์. วารสารวจนะ, 5(1) ค้นจาก http://www.vacanajournal.mfu.ac.th/?page_id=45

ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2558). ภาษาและอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร: พริ้นท์ คอร์เนอร์.

Bazzanella, C. & Damiano, R. (1999). The interactional handling of misunderstanding in everyday conversation. Journal of Pragmatics, 31(6), 817-836.

Dua, H. (1990). The phenomenology of miscommunications. In S.H. Riggins (ed.), Beyond Goffman. Berlin: Mouton de Gruyter.

Herring, S. (1999). Interaction coherence in CMC. Journal of Computer-Mediated Communication, 4(1). Retrieved from https://doi.org/10.1111/j.1083-6101.1999.tb00106.x

Tzanne, A. (2000). Talking at Cross-purposes. Amsterdam: John Benjamins.

Weigand, E. (1999). Misunderstanding: The standard case. Journal of Pragmatics, 31(6), 763-785.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size