VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

ระบบวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นแพร่

วิภาวรรณ ถิ่นจันทร์

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบเสียงวรรณยุกต์ ภาษาไทยถิ่นแพร่ด้วยวิธีทางกลสัทศาสตร์โดยเก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 8 อำเภอ ซึ่งหนึ่งอำเภอประกอบด้วยผู้บอกภาษาจำนวน 2 คน ผู้บอกภาษาในงานวิจัยครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 16 คน ในการวิเคราะห์ระบบเสียงวรรณยุกต์ใช้แนวคิดกล่องทดสอบวรรณยุกต์เก็ดนีย์ (Gedney, 1972) เพื่อศึกษาจำนวนและการแยกเสียง
รวมเสียงวรรณยุกต์ ส่วนการวิเคราะห์สัทลักษณะวรรณยุกต์ใช้วิธีการทางกลสัทศาสตร์ด้วยโปรแกรมพราท (praat) เพื่อวิเคราะห์ค่าความถี่มูลฐานและแปลงเป็นค่าเซมิโทน ผลการวิจัยพบว่า ภาษาไทยถิ่นแพร่ปรากฏการแยกเสียงรวมเสียงแบบ A12-34 B123-4 C123-4 DL123-4 และ DS123-4  ประกอบด้วย 6 หน่วยเสียง ดังนี้ วรรณยุกต์ที่ 1 กลางค่อนข้างต่ำขึ้น [214] วรรณยุกต์ที่ 2 กลางขึ้น [35] วรรณยุกต์ที่ 3 กลางค่อนข้างต่ำระดับ [22] วรรณยุกต์ที่ 4 กลางตก [31] วรรณยุกต์ที่ 5 กลางระดับ [33] และวรรณยุกต์ที่ 6 กลางค่อนข้างสูงตก [41] นอกจากนี้ ภาษาไทยถิ่นแพร่ยังปรากฏวรรณยุกต์รูปแปรที่เป็นระบบวรรณยุกต์ย่อยอันเกิดจากปัจจัยทางด้านสังคม จากการเปรียบเทียบผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นแพร่อันได้แก่ จำนวนเสียงวรรณยุกต์ การแยกเสียงรวมเสียงวรรณยุกต์        และสัทลักษณะของวรรณยุกต์ยังคงรักษารูปแบบเช่นเดียวกับผลการศึกษาในอดีต


Keywords


ระบบวรรณยุกต์, ภาษาไทยถิ่นเหนือ, ภาษาไทยถิ่นแพร่

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size