VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

ลักษณะภาษาและความหมายของชื่อร้านอาหารไทย ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

เพ็ญพรรษา ชัยธีระสุเวท

Abstract


บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะภาษาของการตั้งชื่อร้านอาหารไทยในประเทศจีน โดยใช้แนวคิด เรื่องการสร้างคำของ Katamba (1993) และ Yule (2005) และ 2) เพื่อศึกษาลักษณะความหมายของชื่อร้านอาหารไทย ในประเทศจีน โดยใช้ทฤษฎีการจัดกลุ่มทางความหมายและทฤษฎีความสัมพันธ์ทางความหมายของคำ ผลการศึกษาลักษณะ ภาษาของการตั้งชื่อร้านอาหารไทยในประเทศจีนพบว่า รูปแบบการนำเสนอภาษาที่ใช้บนป้ายร้านอาหารไทยในประเทศจีน มีการนำเสนอทั้งภาษาไทย ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ ในรูปแบบภาษาเดียว สองภาษา และสามภาษา โดยป้ายที่นำเสนอเป็น ภาษาจีนและภาษาอังกฤษพบมากที่สุด สำหรับลักษณะการตั้งชื่อร้านอาหารไทยในประเทศจีนพบ 8 ลักษณะ โดยการประสม พบมากที่สุด รองลงมา คือ การยืมคำ การบัญญัติศัพท์ การซ้ำคำ การตัดคำ การใช้ชื่อย่อหรืออักษรย่อ การรวมคำ และการ เติมหน่วยคำแปลงตามลำดับ ผลการศึกษาลักษณะความหมายของชื่อร้านอาหารไทยในประเทศจีนพบ 22 กลุ่มความหมาย โดยคำแสดงความหมายเกี่ยวกับ “ไทย” พบมากที่สุด รองลงมา คือ “อาหารและเครื่องดื่ม” และ “สถานที่และสิ่งก่อสร้าง” พบเป็นลำดับที่ 2 และ 3 ตามลำดับ สำหรับโครงสร้างชื่อร้านอาหารไทยตามองค์ประกอบทางความหมายจำแนกออกเป็น 2 โครงสร้าง ได้แก่ โครงสร้างแบบเดี่ยวและโครงสร้างแบบประสม โดยโครงสร้างแบบประสมนิยมมากที่สุดและชื่อร้านอาหาร ไทยในประเทศจีนส่วนใหญ่นิยมประกอบขึ้นจาก 3-5 กลุ่มความหมาย


Keywords


การตั้งชื่อ; ชื่อร้านอาหารไทยในประเทศจีน; ลักษณะภาษา; ความหมาย

Full Text:

PDF

References


กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). มหัศจรรย์ ผลไม้ไทย.https://www.mhesi.

go.th/index.php/en/all-media/infographic/8112-651104general2.html

ขวัญเบญจรงค์. (2563). เบญจรงค์ คือ อะไร. https://www.xn--22ceidya4g8c5a4hthzf.com/article/1/

ชินวัฒน์ ศรีพล และหวังเวมิน. (2567). การศึกษาแนวนิยมการตั้งชื่อร้านอาหารไทย : กรณีศึกษาชื่อร้านอาหารไทย เมืองปักกิ่ง ในประเทศจีน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(9), 284-291.

ซอทอง บรรจงสวัสดิ์. (2558). คำไทยในภูมิทัศน์ฝรั่งเศส : การศึกษาเชิงสัญญะของชื่อร้านอาหารไทยในปารีส. วารสารศิลปศาสตร์, 15(2), 162-176.

ณัฐา ค้ำชู, กันต์รพีสมจิตร์, ชนิกานต์กู้เกียรติ, ศริญญา ขวัญทอง, อภิรักษ์ชัยปัญหา และจุฑามาศ ศรีระษา.(2567). ความหมายของชื่อร้านอาหารเกาหลีในจังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(7), 140-151.

ณิชา กลิ่นขจร. (2564). รูปแบบและการตั้งชื่อร้านอาหารบนเกาะรัตนโกสินทร์: การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 43(2), 174-196.

ธัญญรัตน์ กีรติวินทกร. (2549). กลวิธีการตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. Thammasat University Digital Collections.

https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:112046

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2560). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่. รวมสาส์น (1997).

นควัฒน์ สาเระ. (2550). การตั้งชื่อร้านค้าในจังหวัดปัตตานี : ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อร้านค้ากับวิถีชีวิตในชุมชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University

Intellectual Repository. https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2007.1881

นควัฒน์ สาเระ. (2557). การตั้งชื่อร้านในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส : ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อร้านค้ากับวิถีชีวิตด้านการทำมาหากิน (การค้า). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นันทนา รณเกียรติ. (2556). ทัศนคติการตั้งชื่อเล่นสองพยางค์ของคนไทย. ภาษาและภาษาศาสตร์, 31(1), 1–19.

นันทวดี วงษ์เสถียร. (2563). การสร้างคำภาษาอังกฤษในสื่อโฆษณากลางแจ้งของไทย. วารสารภาษาปริทัศน์, 35, 166-198.

เพ็ญพรรษา ชัยธีระสุเวท. (2566). ลักษณะภาษาและความหมายที่ปรากฏในชื่อแบรนด์ภาษาจีนของผลิตภัณฑ์อาหารไทยในประเทศจีน. วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา, 45(3), 1-19.

ภัทรินทร์ ทยะราษฎร์. (2551). การศึกษาการสร้างคำและกลวิธีการเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาในนิตยสารผู้หญิง. วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย, 2(3), 94-108.

เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2555). การสำรวจและศึกษาวิเคราะห์ชื่อร้านค้าธุรกิจของคนไทยเชื้อสายจีนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2), 63-89.

ลัดดาวัลย์ คีรีเมฆ. (2541). แนวนิยมในการตั้งชื่อร้านค้าในเขตเทศบาลนครขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วราลีรุ่งบานจิต, วรทา รุ่งบานจิต, วรนาถ แซ่เซ่น, วรากร แซ่พุ่น และภากร นพฤทธิ์. (2562). รายงานการวิจัยการสำรวจและศึกษาการตั้งชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเมืองจังหวัดยะลา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิไล ลิ่มถาวรานันต์. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องชื่อร้านค้าภาษาจีนในประเทศไทย : แนวนิยมในการตั้งชื่อร้านค้าและบทบาททางสังคม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. (2565). คุยเฟื่อง เรื่อง ‘มะม่วง’ : โอกาสและความท้าทายของมะม่วงไทยในตลาดจีน. https://thaibizchina.com/article/คุยเฟื่อง-เรื่องมะม่วง/

สมชาย สำเนียงงาม. (2562). ป้ายชื่อร้านอาหารไทยในกรุงโซล : การนำเสนอภาษาและวัฒนธรรมไทย. ใน กุสุมา รักษมณี (บ.ก.), ภาษาสรร วรรณกรรมสาร : เนื่องในวาระ 50 ปี ภาควิชาภาษาไทยคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (น. 57-72). ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554.https://dictionary.orst.go.th/

สุทธิพร บุญมาก. (2556). ร้านอาหารไทยในประเทศออสเตรเลีย : ภาพสะท้อน “ความเป็นไทย” และ “การปรับตัว”. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5(1), 90-103.

สุภัทรา โยธินศิริกุล. (2561). การศึกษาชื่อร้านทองคำภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 7(2), 202-230.

สุวรรณา ตั้งทีฆะรักษ์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบความหมายของชื่อร้านค้าที่สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลของคนไทยและคนจีน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 15(2), 45-57.

Jinming Wang และลภัสรินทร์ ฉัตรวังคีรี. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบการตั้งชื่อร้านอาหารในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่และเมืองฝูโจวประเทศจีน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1), 225-239.

Nestle professional. (2565). อาหารฟิวชั่น คืออะไร เคล็ดลับมัดใจลูกค้าด้วยรสชาติสไตล์เอเชียน.

https://www.nestleprofessional.co.th/trends-insights/asian-fusion-food

TAP Magazine. (2565). ทุนทางวัฒนธรรม พลัง Soft Power เชื่อมไทยสู่โลก : สัมภาษณ์พิเศษ ชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม. https://www.tap-magazine.net/blog-th/cs70

Katamba, F. (1993). Morphology. Macmillan.

Yilan Shangye. (2022). 泰餐已成规模化:1300 家、120%复合增长率 [Thai food has become scaled: 1300 restaurants, 120% compound growth rate]. https://www.yilantop.com/article/10457

Yule, G. (2005). The study of language (3rd ed.). Cambridge University Press.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size