บทความนี้มุ่งนำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์คำช่วยกริยา “ไว้” ตามทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน โดยอาศัยทฤษฎี อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของเลคอฟและจอห์นสัน (Lakoff & Johnson) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ลักษณะ การใช้คำว่า “ไว้” ในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยอ้างอิงตัวอย่างจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2551–2560 ผลการศึกษาพบว่า คำว่า “ไว้” มิได้มีความเปลี่ยนแปลงด้านความหมายอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับความหมายที่ ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 และงานวิจัยของสัณห์ธวัช ธัญวงษ์ (2557) โดยพบเพียงความหมาย ใหม่เพิ่มอีก 2 ความหมาย อย่างไรก็ตาม ในด้านหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำว่า “ไว้” มีความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน คำนี้ได้ เปลี่ยนหน้าที่จากกริยาหลักมาเป็นคำช่วยกริยาที่ทำหน้าที่เสริมความหมายให้กับกริยาหลักในประโยค
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2550). TNC: Thai National Corpus. https://www.arts.chula.ac.th/ling/tnc3/
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th/
สัณห์ธวัช ธัญวงษ์. (2557). กระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำ “ไว้”. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46457
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์(ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. สํานักงานราชบัณฑิตยสภา.
Halliday, M. (2014). An introduction to functional grammar. Routledge.
Kövecses, Z. (2002). Metaphor: A practical introduction. Oxford University Press.
Kövecses, Z. (2010). Metaphor: A practical introduction (2nd ed.). Oxford University Press.
Lakoff, G. (1987). Women, fire, dangerous things: What categories reveal about the mind. The Chicago University.
Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphors we live by. The University of Chicago Press.
Le, D.T., & Vu, N.C. (2009). Introduction to linguistics. Social Science Publishing House.
Nguyen, T.G. (1998). Vietnamese lexicology. Education Publishing House.
Taylor, J. (1995). Linguistics categorization: Prototypes in linguistic theory (2nd ed.). Oxford University Press.