บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอสตรีในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนโดยใช้แนวคิดของ van Dijk (2008) จากการวิเคราะห์พบกลวิธีทางภาษา พบ 1) ชุดคำศัพท์ 2 ประเภท คือ ชุดคำเรียกที่สื่อถึงสตรีเชิงบวกและเชิงลบ และชุดกริยาวลีที่สื่อสตรีที่มีอำนาจและอยู่ใต้อำนาจ 2) โครงสร้างประโยค 4 ประเภท คือ ประโยคกรรตุวาจก ประโยคกรรมวาจก ประโยคเงื่อนไข และประโยคแสดงเหตุผล 3) วัจนกรรม 5 ประเภท ตามแนวคิดของ Searle (1969) 4) วาทศิลป์ในการใช้โวหารและการเปรียบเทียบ 5) อวัจนภาษา 6) การนำเสนอฝ่ายเรา-เขา กลวิธีที่ปรากฏแสดงให้เห็นความคิด ความเชื่อ และทัศนคติของคนในสังคมที่สตรีต้องปฏิบัติตามกฎหมายและบรรทัดฐานที่สังคมกำหนด และทำตามผู้มีอำนาจในสังคม คือ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสูงสุด พ่อแม่มีอำนาจเหนือลูก และสามีมีอำนาจเหนือภรรยา สตรีส่วนใหญ่ต้องอยู่ใต้อำนาจของพ่อแม่ สามี และของรัฐ มีเพียงสตรีสถานภาพแม่ที่มีอำนาจเหนือลูกและได้รับการยกย่อง เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนนำเสนอสตรีที่ไม่เท่าเทียมผู้ชาย อีกทั้งสตรีต้องได้รับโทษหากไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่สังคมคาดหวัง ทำให้เห็นค่านิยม ความคิด ความเชื่อที่ครอบงำสังคมภายใต้การปกครองของรัฐและโครงสร้างทางสังคมที่ชายเป็นใหญ่
กรมศิลปากร. (2510). เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 11). ธนบุรี: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2515). สยามเมืองยิ้ม. กรุงเทพฯ: ก้าวหน้า.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2543). ขุนช้างขุนแผนฉบับอ่านใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000.
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2562). การวิเคราะห์ข้อความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2551). ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี: ประวัติศาสตร์เรื่องเพศ/ เรื่องเพศในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม (วปส.) มหาวิทยาลัยมหิดล.
ดารัณ อุดมรัตนปภากุล. (2562). กากี สีดา วันทอง ในเพลงรักร่วมสมัย: การศึกษาภาพตัวแทนความเป็นหญิง
ในเพลงที่ประกอบด้วยนางในวรรณคดี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
ปทุมธานี.
ทรงธรรม อินทจักร. (2563). ภาษา เจตนา และปริบท. ใน ดียู ศรีนราวัฒน์ (บรรณาธิการ), ภาษาและ ภาษาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). รื้อสร้างมายาคติ “ความเป็นชาย” ในสังคมไทย – การทบทวนความเป็นชายใน
สังคม. สืบค้นจาก https://www.sac.or.th/conference/2017/blog-post/การทบทวนความเป็นชาย/
นววรรณ พันธุเมธา. (2563). คลังคำ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
นววรรณ พันธุเมธา. (2565). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะ
อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พลูหลวง. (2524). ปุจฉา-วิสัชนา โหราศาสตร์ : ภาคพิธีกรรม กับ นรลักษณ์. กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ.
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ:
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
ราชบัณฑิตยสภา. (2550). กฎหมายตราสามดวง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานราช
บัณฑิตยสภา.
ราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นจาก
https://dictionary.orst.go.th/index.php
แลงกาต์. (2505). กฎหมายตราสามดวงเล่ม 2. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
แลงกาต์. (2506). กฎหมายตราสามดวงเล่ม 3. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
วิกานดา เกียรติมาโนชญ์. (2558). รูปแบบและหน้าที่ของการสาบานและสาปแช่งในวาทกรรมการเมืองไทย
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป). กรุงเทพฯ:
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2560). วรรณกรรมเอกของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
อภิวันทน์ อดุลยพิเชฏฐ์. (2544). สถานภาพและบทบาทของผู้หญิงและผู้ชายไทยในอดีต: ภาพสะท้อนจาก
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
อัญชลี วงศ์วัฒนา. (2565). ไวยากรณ์ไทยเชิงสื่อสาร: การวิเคราะห์แนวภาษาศาสตร์หน้าที่นิยมเชิงแบบ
ลักษณ์. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Joos, M. (1967). The five clocks. A Linguistic Excursion into the Five Styles of English Usage. New
York: Harcourt, Brace and world.
Searle, J. (1969). Speech Acts: An Essay in the Philosophy of Language. Cambridge: Cambridge
University Press.
van Dijk, T. A. (1997). Discourse as Structure and Process (Discourse Studies: A Multidisciplinary
Introduction). London: Sage.
van Dijk, T. A. (2008). Discourse and Power. New York: Palgrave Macmillan.