VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

กลวิธีการตั้งชื่อเล่นกับการนำเสนออัตลักษณ์ของนักศึกษาจีน ในประเทศไทย

ธีระ บุษบกแก้ว, ซิเทียน หวัง

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การตั้งชื่อเล่นกับการนำเสนออัตลักษณ์ของนักศึกษาจีนที่อยู่ในประเทศไทย ข้อมูลเก็บจากนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาจีนส่วนใหญ่เริ่มใช้ชื่อเล่นหลังจากได้มาอยู่ประเทศไทย 2) ด้านผู้ตั้งชื่อเล่น นักศึกษาจีนส่วนใหญ่ตั้งชื่อเล่นด้วยตนเอง 3) ด้านจำนวนพยางค์ของชื่อเล่น คนจีนนิยมตั้งชื่อเล่น 2 พยางค์มากที่สุด ทั้งนี้จำนวนพยางค์เฉลี่ยของชื่อเล่นคนจีนคือ 1.61 พยางค์ 4) ด้านภาษาที่ใช้ตั้งชื่อเล่น คนจีนนิยมใช้ภาษาจีนในการตั้งชื่อเล่นมากที่สุด รองลงมาคือใช้ภาษาอังกฤษ 5) ด้านความหมายของชื่อเล่นคนจีน พบกลุ่มความหมายเกี่ยวกับชื่อเฉพาะมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6) ด้านที่มาของชื่อเล่นคนจีน พบการตั้งชื่อเล่นให้สัมพันธ์กับชื่อ-นามสกุลมากที่สุด รองลงมาคือการตั้งชื่อเล่นให้ออกเสียงง่ายและไพเราะ การตั้งชื่อเล่นเหล่านี้สะท้อนอัตลักษณ์ของนักศึกษาจีน 2 ประการ คือ อัตลักษณ์ของความเป็นจีนและการเป็นคนทันสมัย

This research aims to analyze the naming of nicknames and their role in shaping the presentation of Chinese student identity in Thailand. The data was collected from students at Mae Fah Luang University using a Google Form. The findings reveal the following: 1) The majority of Chinese students begin using nicknames after their arrival in Thailand. 2) Concerning the origins of the nicknames, most informants named themselves. 3) In terms of the number of syllables, nicknames consisting of two syllables were the most prevalent, with an average of 1.61 syllables per nickname. 4) With regard to the language origin of the nicknames, Chinese was the most frequently employed, followed by English. 5) In relation to the meaning of the nicknames, the most prevalent category is specific names, followed by those associated with nature and the environment. 6) Regarding the origins of the nickname, the primary rationales are derived from phonological, semantic, and morphological considerations of their given names and surnames, and those related to simple pronunciation and melodiousness rank second. These adopted nicknames represent two aspects of Chinese students' identities: identity as Chinese and being modern.


Keywords


กลวิธีการตั้งชื่อเล่น; ชื่อเล่นของนักศึกษาจีน; อัตลักษณ์ของนักศึกษาจีน; The Strategy of Naming Nicknames; Chinese students' Nicknames; Chinese Student Identity

Full Text:

PDF

References


จรัลวิไล จรูญโรจน์, หม่อมหลวง. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง ภาษาและภาพสะท้อนของวัฒนธรรมจากชื่อเล่นของคนไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จริญญา ธรรมโชโต. (2540). การศึกษาภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อเล่นของคนไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตรัง (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธนัชชา ทีปรักษพันธ์, พฤศจีก์ เศรษฐทอง, ศิรินาถ พานิชวรพันธ์ และจอมขวัญ สุทธินนท์. (2561). ค่านิยมที่สะท้อนผ่านความหมายของชื่อเล่นของชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีอายุระหว่าง 50-70 ปี ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 12(2), 77-95.

นพดล สมจิตร์. (2560). กลวิธีการตั้งชื่อเล่นของนักเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นันทนา รณเกียรติ. (2555). ทัศนคติการตั้งชื่อเล่นสองพยางค์ของคนไทย. ภาษาและภาษาศาสตร์, 31(1), 11-19.

ปวีร์ พฤกษเศรษฐ. (2561). ชื่อภาษาจีนของชาวไทย : ลักษณะและความเปลี่ยนแปลงระหว่างปีพุทธศักราช 2503-2561 (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาจรีย์ วิเชียรมณี. (2557). ค่านิยมในการตั้งชื่อเล่นเป็นภาษาอังกฤษของคนไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฟาง ฟาง. (2554). การตั้งชื่อคนไทยและการตั้งชื่อคนจีน: การศึกษาเปรียบเทียบ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. (2566). รายงานจำนวนนักศึกษาปัจจุบันต่างชาติจำแนกตามประเทศ. https://stat.mfu.ac.th/th/current-student-stat/869?freezeId=869

วิไล ธรรมวาจา. (2559). ทัศนคติของนักศึกษาชาวจีนที่มีต่อชื่อภาษาไทย. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 11(2), 28-39.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักข่าวอิศรา. (2566). 10 ปี จีนอันดับหนึ่ง! ส่องสถิติ น.ศ.ต่างชาติในไทยปี 55-65 เมียนมาครองเบอร์สอง. https://isranews.org/article/isranews-scoop/115794-isranews-09

หลุยหลุ่ย เจียง. (2559). การศึกษาชื่อภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่อยู่ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภัสนันท์ ทองใบ. (2562). การตั้งชื่อจีนของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (การศึกษาเอกเทศปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมรรัตน์ วันยาว. (2545). การตั้งชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ (การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Cheang, J. (2008). Choice of foreign names as a strategy for identity management. Intercultural Communication Studies, 17(2), 197–202.

Chen, J. (2021). The adoption of non-Chinese names as identity markers of Chinese international students in Japan: A case study at a Japanese comprehensive research university. Names: A Journal of Onomastics, 69(2), 11-19.

Chien, G. C-W. (2012). Elementary school EFL learners’ adoption of English names and implications for classroom practice. Theory and Practice in Language Studies, 2(3), 469-474.

Cotterill, S. (2020). Call me Fei: Chinese-speaking students’ decision whether or not to use English names in classroom interaction. Language, Culture and Curriculum, 33(3), 228-241.

Diao, W. (2014). Between ethnic and English names: Name choice for transnational Chinese students in a US academic community. Journal of International Students, 4(3), 205-222.

LaBelle, S. (2011). Language and identity. In A. Mooney, J. Peccei, S. LaBelle, E. Eppler, P. Pichler, A. Irwin, S. Preece, & S. Soden (Eds.), Language, Society and Power: An Introduction (3rd ed., pp. 173-188). Routledge.

Li, D. C. S. (1997). Borrowed identity: Signaling involvement with a western name. Journal of Pragmatics, 28(4), 489–513.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size