VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

ความเข้าใจและความพึงพอใจของผู้ชมชาวไทยต่อกลวิธีการ แปลคำภาษาสเปนในของภาพยนตร์เรื่อง Coco เป็นภาษาไทย

อาสาฬห์ เกษตรสุนทร

Abstract


บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลสำรวจความเข้าใจและความพึงพอใจของผู้ชมชาวไทยต่อกลวิธีการแปลคำภาษาสเปนที่แทรกอยู่ในต้นฉบับภาษาอังกฤษในภาพยนตร์เรื่อง Coco (วันอลวน วิญญาณอลเวง) จากคำภาษาสเปนที่พบในต้นฉบับภาษาอังกฤษในภาพยนตร์182 กรณี  ผู้วิจัยได้เลือกคำภาษาสเปนทั้งที่เป็นคำแสดงปฏิสัมพันธ์ คำเรียกขาน คำเรียกญาติ และคำทางวัฒนธรรม รวม 11 กรณี ที่แปลโดยใช้กลวิธีต่าง ๆ ได้แก่  การทับศัพท์ การแปลตรงตัว การแปลแบบเอาความ และการละ มาจัดทำแบบสอบถาม ที่ประกอบด้วยคนในช่วงอายุ 15-40 ปีจำนวน 100 คน โดยใช้คำถามทั้งหมดสามคำถามในแต่ละฉากภาพยนตร์ จากการสำรวจพบว่ากลวิธีการแปลแบบตรงตัวเป็นกลวิธีที่ผู้ตอบแบบสอบถามที่อ่านบทบรรยายไทยแล้วเข้าใจมากที่สุด แต่ผู้ตอบแบบสอบถามพึงพอใจการแปลคำเรียกขานและคำทางวัฒนธรรมด้วยการทับศัพท์มากที่สุด เนื่องจากเห็นว่าผู้ชมจะได้สัมผัสถึงความเป็นวัฒนธรรมเม็กซิกันและได้รู้จักคำภาษาสเปน อีกทั้งภาพในฉากยังสื่อความให้เข้าใจได้เพียงพอ หรือมีกลุ่มตัวอย่างประชากรบางคนเข้าใจคำภาษาสเปนเหล่านั้นอยู่แล้วเช่น amigo (เพื่อน) doña (คุณผู้หญิง) ดังนั้นหากผู้แปลพิจารณาเห็นว่าบริบทในภาพยนตร์นั้นจะทำให้ผู้ชมชาวไทยเข้าใจคำภาษาสเปนดังกล่าว การที่ผู้แปลใช้วิธีทับศัพท์โดยไม่แปลควาหมายก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการรับชมหรือความเข้าใจต่อผู้ชมไทยแต่อย่างใด

 

Abstract

This article aims to explore the understanding and satisfaction of Thai audience into translation strategies of Spanish words in Coco movie. From 11 scenes which appear Spanish words in original English soundtrack, each type of Spanish words uses different translation strategies for example; address terms which translated by meaning based translation, interactional language which translated by literal translation etc. From this survey has examined with example of Thai audience 100 people from age 14 – 40 years old by using 3 questions for each scene. For the study found that literal translation is the strategy which help Thai audience understand Thai subtitle the most but they are another group of examples of audience who like transmission strategy due to they still have sense and feeling Mexican culture and get to know new Spanish words and content in movie is enough still help them to understand. Surprisingly, many examples of Thai audience understand some Spanish word such as amigo (friend) doña (lady) Therefore, if translator consider from context in that movie that might not effect Thai audience’s understanding, translator can keep those Spanish words.

 


Keywords


กลวิธีการแปล; การแปลคำต่างประเทศ; การปนภาษา; วัฒนธรรมเม็กซิกัน; บทบรรยายภาพยนตร์

Full Text:

PDF

References


ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์, วีรกาญจ กนกกมเลส, และ ปรีชา คะเนตนอก. (2563). การศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการแปลนวนิยายภาษา อังกฤษเป็นภาษาไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 8(4), 1269-1282.

สตรีรัตน์ ไกรอ่อน. (2556). กลวิธีการแปลคําทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนงค์นาฏ นุศาสตร์เลิศ. (2556, กันยายน-ธันวาคม). การใช้คำเรียกขานในภาษาการเมือง กฎหมาย ภาษาสื่อและภาษาวิชาการของไทย. วารสารคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์, 30(3), 117-130.

Rothman, J. & Rell, A. (2005). A linguistic analysis of Spanglish: relating language to identity. Linguistics and the Human Sciences, 1(3), 515-536.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size