งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์แนวทางการแต่งแบบเรียนอ่านเขียนภาษาไทยดรุณศึกษา ตอน กอ ขอ ซึ่งเป็นแบบเรียนเล่มแรกของแบบเรียนชุดดรุณศึกษา แต่งโดย ฟ.ฮีแลร์ ซึ่งเป็นนักบวชชาวฝรั่งเศสที่เคยสอนอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพ และเปรียบเทียบกับแบบเรียนมูลบทบรรพกิจซึ่งเป็นแบบเรียนเล่มแรกของแบบเรียนหลวงชุดมูลบทบรรพกิจซึ่งแต่งโดยพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ผู้วิจัยพบว่า ฟ.ฮีแลร์มีแนวทางหลายประการในสอนการอ่านและเขียนภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางเหล่านั้นเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้ ได้แก่ (1) การวางโครงสร้างของหนังสืออย่างเป็นระบบ (2) การใช้ภาษาและคำศัพท์ (3) การทบทวนความรู้เดิมที่เรียนแล้ว (4) ทิศทางและวิธีในการอ่าน และ (5) การเว้นวรรคและการใช้เครื่องหมายวรรคตอน อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยพบว่าการใช้แบบเรียนดรุณศึกษา ตอน กอ ขอ มีข้อจำกัดในการสอนอ่านเขียนภาษาไทย คือ (1) การขาดสัมพันธภาพและการประมวลองค์ความรู้ในภาพรวม (2) การขาดการสำเหนียกรู้ระบบเสียง และ (3) การขาดคำอธิบายทางไวยากรณ์หรือหลักภาษาศาสตร์
กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2546). การจัดการสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการจัดงานฉลองวันเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 100 ปี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2511). เอกสารเรื่อง จัดการศึกษา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
พระนคร: คุรุสภา.
ธวัช ปุณโณทก. (2555). วิวัฒนาการหนังสือแบบเรียนวิชาภาษาไทย. พิมพ์ครั้ง 10. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
นันทพร บรรลือสินธุ์. (2544). ดรุณศึกษา : ตำราเรียนภาษาไทย แต่งโดยครูฝรั่ง. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ – กรมศิลปากร. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/literatureandhistory/view/
-ดรุณศึกษา---ตำราเรียนภาษาไทย-แต่งโดยครูฝรั่ง
นิตยา กาญจนะวรรณ. (2554) . การสอนภาษาไทยแบบเดิม. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา THA3102 (LI332) การวิเคราะห์โครงสร้างภาษาไทย (ANALYSIS OF THAI STRUCTURE). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (อัดสำเนา).
นิยะดา เหล่าสุนทร. (2552). วัตนาการของแบบเรียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ลายคํา
บุญ อินทรัมพรรย์. (2545). การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทย ตามพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. วารสารราชบัณฑิตยสถานปีที่ 27 ฉบับที่ 2 เม.ย. - มิ.ย. 2545. หน้า 586 – 591.
เบ็ญจวรรณ สุนทรากูล. (2525). วิเคราะห์แบบเรียนไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
_______. (2550). วิวัฒนาการแบบเรียนไทย. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริยัติธรรมธาดา, พระยา. (2502). โบราณศึกษาและวิธีการสอนหนังสือ. โรงพิมพ์การช่างวุฒิศึกษา.
พุทธชาติ โปธิบาล รุจิรา เส้งเนตรและอรอินทรา ภู่ประเสริฐ. (2559). การศึกษาการอ่านคำเทียมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในสี่ภูมิภาคของไทย.
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559).
ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. (2564). การสอนอ่านแจกลูกสะกดคำในแบบเรียนภาษาไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน. วิวิธวรรณสารปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน 2564).
ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร), พระยา. (2498). มูลบทบรรพกิจ. อนุสรณ์ในการฌาปนกิจหม่อมอั๋น เกษมสันต์ ณ อยุธยา.
ศิลปากร, กรม. (2513). ประถม ก กา ประถม ก กา หัดอ่าน ปฐมมาลา อักษรนิติ แบบเรียนหนังสือไทย. พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร.
สถาบันภาษาไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559) คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ. dรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุลักษณ์ ศิวรักษ์. (2512). “ประวัติเจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์” ใน อัสสัมชัญอุโฆษสมัย ฉบับที่ระฤกวันมรณภาพครบ 1 ปีของเจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์. บริษัท ประชุมช่าง จำกัด, ไม่ปรากฏเลขหน้า.หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สบ.2.50/616 เอฟ ฮิลแลร์ (F.Hilaire) (21 กุมภาพันธ์ 2461 – 6 ตุลาคม 2473)
อเนก นาวิกมูล. (2538). หนังสืองานพระบรมศพ ร.๕ มีกี่เล่ม?. วารสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538.
อัสสัมชัญ, โรงเรียน. (2540ก). ประวัติเจษฎาจารย์ ฟ.ฮีแลร์ ใน วรรณกรรม ฟ.ฮีแลร์. กรุงเทพฯ : โรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพ, ไม่ปรากฎเลขหน้า.
_______. (2540ข). ดรุณศึกษา ตอน กอ ขอ ใน วรรณกรรม ฟ.ฮีแลร์. กรุงเทพฯ : โรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพ, หน้า 1 – 118.
_______. (2541). อัสสัมชัญประวัติ. กรุงเทพฯ : โรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพ.