บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้าง ที่มาของภาษา ความหมาย รวมทั้งปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการตั้งชื่อหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดขอนแก่น ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชื่อหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 125 ชื่อ โดยผู้วิจัยเลือกเก็บข้อมูลออนไลน์โดยเก็บจากเว็บไซต์ www.nayoo.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลสำคัญของหมู่บ้านจัดสรรได้อย่างละเอียด
ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก โครงสร้างของชื่อหมู่บ้านจัดสรรสะท้อนให้เห็นมโนทัศน์ คือ 1) ให้ความสำคัญกับองค์กร 2) ให้ความสำคัญกับภูมินาม หรือสถานที่ตั้งสาขาย่อย และ 3) ให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวก ประการที่ 2 ที่มาของภาษาอื่นๆ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทย คือ 1) ทำให้ภาษาไทยมีคำที่ใช้ในภาษาเพิ่มขึ้น 2) ทำให้รูปแบบในการสร้างคำในภาษาไทยเปลี่ยนแปลงไป และ 3) ทำให้เกิดแนวเทียบผิดเกี่ยวกับการเขียนคำศัพท์ ประการที่ 3 ความหมายของชื่อหมู่บ้านจัดสรรสะท้อนให้เห็นค่านิยม คือ 1) ค่านิยมเกี่ยวกับความดีงาม 2) ค่านิยมเกี่ยวกับความร่ำรวย 3) ค่านิยมเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรือง 4) ค่านิยมเกี่ยวกับความใกล้ชิดสิ่งแวดล้อม 5) ค่านิยมเกี่ยวกับความสุขสบาย และ 6) ค่านิยมเกี่ยวกับความหรูหรา ประการสุดท้าย ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการตั้งชื่อหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดขอนแก่น คือ 1) การกระจายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ 2) การจัดตั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในท้องถิ่น
Abstract
The objective of this research paper was to study the structure, origin of language, meaning, as well as social and cultural factors affecting the naming of housing estates in Khon Kaen Province. The information used in this study was 125 housing names in Khon Kaen province, which the researcher chose to collect online data collected from www.nayoo.com, a website that gathers important information of the housing estate in detail.
The major findings revealed that, firstly, the structure of the housing estate name reflects the concept: 1) focus on the organization, 2) focus on the name or location of the sub-branch, and 3) pay attention to the facilities. Secondly, the origins of other languages influenced the change in Thai language: 1) Thai language has increased the number of words used in the language, 2) the format of the creation of words in Thai has changed, and 3) it caused a misconception in the writing of words. Thirdly, the meaning of the housing estate name reflected the values: 1) values about goodness, 2) values about riches, 3) values about prosperity, 4) values about environmental proximity, 5) values about comfort, and 6) values about luxury. Lastly, the social and cultural factors affecting the naming of housing estates in Khon Kaen were 1) the distribution of real estate business and 2) the establishment of a local real estate business.
น้องนุช มณีอินทร์. (2543). การปรับเปลี่ยนของชื่อหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2564). กรณีการขยายตัวเมืองขอนแก่น. เข้าถึงได้จาก http://www.tei.or.th/thaicityclimate/public/work-18.pdf
พรเพ็ญ เหล็กดีเศษ. (2559). การตั้งชื่อเรือยาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรวิภา ไชยสมคุณ. (2560). การตั้งชื่อโครงการหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรม, 6(1), 35-58.
พระมหาธีรวัฒน์ ถิรจิตฺโต, และวุฒิภัทร มูลศรี. (2564). การศึกษาภาษาบาลีกับการดำรงอยู่แห่งพระพุทธศาสนา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่” (1139-1147). ลำพูน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน.
แพรวโพยม บุณยะผลึก. (2547). ภาษาฝรั่งเศสในภาษาไทย. วารสารอักษรศาสตร์, 33(1), 140-154.
ภัฐฬเดช มาเจริญ, และวชรภูมิ เบญจโอฬาร. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 6(2), 22-34.
ภาวดี สายสุวรรณ. (2561). การเลือกภาษาในสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อนิตยสารของไทย. วารสารมนุษยศาสตร์, 25(2), 232-257.
วราลี รุ่งบานจิต วรทา รุ่งบานจิต วรนาถ แซ่เซ่น วราการ แซ่พุ่น และภากร นพฤทธิ์. (2562). สำรวจและศึกษาการตั้งชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา (รายงานผลการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สมิทธ์ชาต์ พุมมา. (2563). การนำเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นและกลวิธีการตั้งชื่อชุดประจำชาติของมิสแกรนด์ไทยแลนด์ปี 2018. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(112), 61-77.
สุเมตตา ประสาทแก้ว จริญญา ธรรมโชโต และอนันต์ อารีย์พงศ์. (2561). การตั้งชื่อเรือประมงพื้นบ้านกลุ่มคนมาลายูชายฝั่งทะเลตะวันออกภาคใต้ตอนล่าง. ใน การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 56 (น. 758-765). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2549). กว่าจะเป็นนักภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพินท์ ศิริพงษ์. (2538 ). ชื่อหมู่บ้านในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อัญชลิน ปานทอง. (2560). การตั้งชื่อคลองในพื้นที่ฝั่งธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โอฬาร รัตนภักดี, และวิมลศิริ กลิ่นบุบผา. (2550). ภูมินามของหมู่บ้านในจังหวัดลำพูน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
____________. (2551). ภูมินามของหมู่บ้านในจังหวัดลำปาง (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Dobric, N. (2010). Theory of Names and Cognitive Linguistics - The Case of the Metaphor. Filozifija i drustvo, 21(1), 139-143.
Hillenbrand, P., Alcauter, S., Cervantes, J., & Barrios, F. (2013). Better Branding: Brand Names Can Influence Consumer Choice. Journal of Product & Brand Management, 22(4), 300-308.