VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

ปัจจัยด้านภาษาศาสตร์สังคมที่มีอิทธิพลต่อการแทรกเสียง CV ระหว่างพยางค์ในคำภาษาไทย

ธัยแอนนา ทองเจือ, สุกัญญา เรืองจรูญ

Abstract


คำในภาษาไทยบางคำสามารถออกเสียงได้ 2 แบบ คือ สามารถแทรกเสียงพยางค์เพิ่มในคำหรือไม่แทรกเสียงพยางค์เพิ่มในคำก็ได้ โดยการแทรกเสียงคือ การแทรกเสียงพยัญชนะ (Consonants) และสระ (Vowels) ซึ่งเป็นการเพิ่มพยางค์ในคำ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาเพื่ออธิบายปรากฏการณ์การแทรกพยางค์ CV โดยพิจารณาจากปัจจัยทางสังคม ได้แก่ รายได้ เพศ และวัจนลีลา ผ่านผู้บอกภาษาจำนวน 140 คน จากบริษัทมหาชนแห่งหนึ่ง และนำข้อมูลภาษาที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ t-test และการวิเคราะห์ Chi-Square ผลการวิจัยพบว่าผู้บอกภาษาที่มีรายได้ปานกลางและรายได้สูงแทรกเสียง CV ระหว่างพยางค์มากกว่าผู้บอกภาษาที่มีรายได้ต่ำ ด้วยเหตุผลที่ว่า
ผู้บอกภาษาที่มีรายได้ปานกลางและรายได้สูงจะระมัดระวังเรื่องการใช้รูปภาษาที่ได้มาตรฐานมากกว่า ซึ่งผลการวิจัยที่ได้สนับสนุนงานวิจัยของอาบิตบอลและคณะ (Abitbol et al., 2018) ที่กล่าวไว้ว่า ผู้บอกภาษาที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมระดับสูงจะใช้รูปภาษาที่ได้มาตรฐานมากกว่าผู้บอกภาษาที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมระดับอื่น ส่วนปัจจัยด้านเพศปรากฏว่า ผู้บอกภาษาเพศชายจะมีการแทรกเสียง CV ระหว่างพยางค์น้อยกว่าผู้บอกภาษาเพศหญิง เนื่องจากผู้บอกภาษาเพศชายอาจจะมีแนวโน้มที่จะออกเสียงคำที่มีพยางค์น้อยกว่า ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของเกรย์ (Gray, 2012) ในเรื่องของการสนทนาที่ผู้บอกภาษาเพศชายจะใช้รูปภาษาที่สั้นกว่าผู้บอกภาษาเพศหญิงที่มักจะใช้คำและพยางค์ที่ยาวขึ้น และปัจจัยด้านสุดท้าย คือ ปัจจัยด้านวัจนลีลา พบว่าวัจนลีลาเป็นทางการจะแทรกเสียง CV ระหว่างพยางค์มากกว่าวัจนลีลาไม่เป็นทางการ เนื่องจากวัจนลีลาเป็นทางการส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะใช้พยางค์ที่มีความยาวมากกว่าวัจนลีลาไม่เป็นทางการ

Keywords


การแทรกเสียง; ปัจจัยด้านภาษาศาสตร์สังคม; รายได้; เพศ; วัจนลีลา

Full Text:

PDF

References


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). คลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ค้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563, จาก http://ling.arts.chula.ac.th/ThaiConc/.

นิตยา กาญจนะวรรณ. (2560). ปัญหาการใช้ภาษาไทย=Problem in Thai usage. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ. (2554). ทฤษฎีไวยากรณ์=Grammatical theories. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เอเอ๊สพี.

Aronoff, M., & Fudeman, K. (2011). What is Morphology?. 2nd ed. Wiley.

Battistella, Edwin. L. (2005). Bad Language : Are Some Words Better than Others?. Oxford: Oxford University Press.

Chambers, J. K.; Schilling-Estes, N., & Trudgill, P. (2001). The Handbook of Language Variation and Change. Oxford: Blackwell Publishing.

Gray, J. (2012). Men are from Mars, women are from Venus: the classic guide to understanding the opposite sex. New York: HarperCollins.

Hazen, K. (2015). An introduction to language. Wiley.

Joos, M. (1967). The five clocks: [a linguistic excursion into the 5 styles of English usage]. New York: Harcourt, Brace & World.

Levy Abitbol, J., Karsai, M., Magué, J.-P., Chevrot, J.-P., & Fleury, E. (2018). Socioeconomic Dependencies of Linguistic Patterns in Twitter: A Multivariate Analysis. Retrieved 14 November, 2020, from https://arxiv.org/abs/1804.01155

Ruangjaroon, S. (2020). Variation of Oral and Nasal Stops by English and Japanese Learners of Thai. Journal of the Southeast Asian Linguistics Society, 13(1), 86 – 106. Retrieved March 25, 2021, from http://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/12035

William, L. (2006). The social stratification of English in New York City. New York: Cambridge University Press.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size