VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

การศึกษาเปรียบเทียบคำซ้อนสี่คำในภาษาไทยกับภาษาจีน

Theera Butsabokkaew, XIN YANG

Abstract


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบและชนิดคำของคำซ้อนสี่คำในภาษาไทยกับภาษาจีน โดยเก็บข้อมูลจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 และพจนานุกรมคำจีนร่วมสมัยเล่มที่ 7 พ.ศ. 2559 ผลการวิจัยด้านรูปแบบพบว่า รูปแบบคำซ้อนสี่คำในภาษาไทยมี 5 รูปแบบ ได้แก่ AXAY AXBY XAYA AABB และ ABXY ส่วนในภาษาจีนมี 10 รูปแบบ ได้แก่ AXBY AXAY AABB XAYA AXYA AAXY XAAY XYAA ABXY และ ABCD จะเห็นได้ว่า คำซ้อนสี่คำในภาษาจีนมีรูปแบบหลากหลายกว่า นอกจากนี้ผู้วิจัยพบว่า รูปแบบคำซ้อน 5 ประเภทที่พบทั้งในภาษาไทยและภาษาจีนมีลักษณะร่วมกัน กล่าวคือ รูปแบบ AXAY AXBY XAYA และ AABB ซึ่งปรากฏมากก็พบได้มากทั้งในสองภาษา เช่นเดียวกับรูปแบบ ABXY ซึ่งปรากฏน้อยก็ไม่ค่อยพบทั้งสองภาษาเช่นกัน ด้านชนิดคำพบว่า ชนิดคำของคำซ้อนสี่คำในภาษาไทยและภาษาจีนมี 3 ประเภท ได้แก่ คำกริยา คำวิเศษณ์ คำนาม อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยพบว่า ในภาษาไทยมักใช้เป็นคำกริยามากที่สุด รองลงมาคือ คำวิเศษณ์ และคำนาม ในขณะที่ในภาษาจีนมักใช้เป็นคำวิเศษณ์มากที่สุด รองลงมาคือ คำกริยา และคำนาม ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า แม้ภาษาไทยและภาษาจีนเป็นภาษาต่างตระกูลกัน แต่ภาษาทั้งสองก็ปรากฏคำซ้อนเช่นเดียวกัน
ซึ่งสะท้อนให้เห็นลักษณะที่ปรากฏร่วมกันของภาษาในภูมิภาคนี้

Abstract

The objectives of this research were to study and compare the forms and types of four-word compound words in Thai and Chinese.  Data were collected from the Royal Institute Dictionary of Thailand 2011 and the Dictionary of Contemporary Chinese Words Volume 7, 2016.  Five forms of the four-word synonymous and antonymous compound words are found in Thai which are AXAY AXBY XAYA AABB and ABXY.  In Chinese,10 forms are found which are AXBY AXAY AABB XAYA AXYA AAXY XAAY XYAA ABXY and ABCD.  It can be seen that the four-word synonymous and antonymous compound words in Chinese have more variations. 
In addition, the researcher found that in Thai and Chinese, there are similar forms, namely, AXAY, AXBY, XAYA and AABB, which appear more frequently and are more common in both languages.  For ABXY, it is less common in both languages.  In terms of word type, it was found that there are three types of word types in Thai and Chinese, including verbs, adverbs, and nouns. However, the researcher found that in Thai, it is most often used as a verb, followed by adverbs and nouns, while in Chinese, it is most often used as an adverb, followed by verbs and nouns, respectively. Although Thai and Chinese language are in different language family, these two languages also have synonymous and antonymous compound words reflecting the common nature of the languages of this region.


Keywords


คำซ้อนสี่คำ; รูปแบบคำซ้อนสี่คำ; ชนิดคำซ้อนสี่คำ

Full Text:

PDF

References


ภาษาไทย

เจนจิรา เอี่ยมอ่อน. (2550). คำซ้อนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

บรรจบ พันธุเมธา. (2518). ลักษณะภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญเกื้อ แทนวันชัย. (2538). การวิเคราะห์คำซ้อนซ้ำในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

เปรมจิต ชนะวงศ์. (2538). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครศรีธรรมราช: โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.

พิมพ์วิภา ดีอินทร์. (2538). วิเคราะห์คำซ้อนจากพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

พูนพงษ์ งามเกษม และอัญชลี สิงห์น้อย. (2555). คำซ้อนความหมายตรงข้าม. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2555, 1-16.

รัชฎาพรรณ เศรษฐวัฒน์. (2516). คำซ้อนในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามัธยมศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

ราตรี ธันวารชร. (2534). การศึกษาการซ้อนคำในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วินัย ภู่ระหงษ์. (2537). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิภาส โพธิแพทย์, (2562). ภาษาไทยในมุมมองแบบลักษณ์ภาษา. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2555). หนังสืออุเทศภาษาไทย ชุดบรรทัดฐานภาษาไทย ชนิดของคำ วลี ประโยคและสัมพันธสาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สุจิตรา จำนงอุดม. (2556). การใช้คำซ้อนสี่หน่วยในวัจนลีลา. วารสารธรรมศาสตร์, 32(1), 131-142.

สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2556). ระบบคำภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Zhao Huan. (2556). การศึกษาและเปรียบเทียบคำซ้อนสองพยางค์ในภาษาไทยและภาษาจีน. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2556, 1-31.

ภาษาจีน

广州外国语学院. (2559). 汉泰词典. 北京:商务印书馆

He Dongmei. (2555). 泰语构词法研究. 博士学位论文. 上海师范大学, 104-113.

Li Shaohong. (2552). 现代汉语并列四字格及其习得研究. 博士学位论文中央民族大学, 8-41.

Zhang Nana. (2560). 汉泰四音格词结构形式对比研究. 硕士学位论文. 云南民族大学东南亚学院, 97-104.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size