VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

การทำนายอนาคตของการปนภาษาอังกฤษในภาษาไทย

นันทนา รณเกียรติ

Abstract


บทคัดย่อ

ภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษากลาง (global language) ที่คนทั่วโลกใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่พูดภาษาต่างกัน และในประเทศไทยก็มีการใช้ภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายเช่นกัน ดังนั้นจึงมีปรากฏการณ์การใช้ภาษาอังกฤษปะปนในภาษาไทยหลากหลายรูปแบบ งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์จะทำนายอนาคตลักษณะการปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยในรูปแบบการปนภาษา (code-mixing) และการสลับภาษา (code-switching) โดยแยกแยะตามปัจจัยด้านอาชีพและเพศของผู้ใช้คนไทย

ในการวิจัยใช้วิธีสำรวจทัศนคติของผู้ใช้คนไทยที่มีต่อการใช้ภาษาอังกฤษปนกับภาษาไทยโดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามรูปแบบดิจิทัล Google form ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ้ก ไลน์ และนำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,866 คน มีทัศนคติเชิงบวกต่อการใช้ภาษาอังกฤษปนกับภาษาไทย ดังนั้นจึงทำนายได้ว่าในอนาคตการใช้ภาษาอังกฤษในภาษาไทยจะมีมากขึ้น ในประเด็นปัจจัยด้านอาชีพและเพศ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มอาชีพนักเรียน/นักศึกษามีความชอบต่อการปนภาษาและการสลับภาษามากกว่ากลุ่มคนที่มีอาชีพอื่นๆ สำหรับประเด็นด้านเพศ พบว่า เพศชาย เพศหญิงและเพศทางเลือกมีความชอบต่อการใช้การปนภาษาแตกต่างกัน แต่ในทางตรงกันข้าม ทัศนคติที่มีต่อการสลับภาษานั้นกลับไม่แตกต่างกัน

 

Abstract

The English language is recognized as a global common language between speakers of different mother tongues. In Thailand, English also finds widespread roles through many different applications. This research’s purpose is to predict future use of code-mixing and code-switching of English within the Thai language among different gender groups and professional fields.

The research on people’s attitude towards language mixing was done through google form surveys distributed through Facebook and Line. The statistical data analysis shows that most participants from the pool of 1,866 samples react positively towards the mix of English and Thai languages. Hence, we conclude that the trend of language mixing will continue to increase. Looking at different segments, the result suggests that students are the most receptive towards this trend, in both code-mixing and code-switching. Different genders (Male, Female, and LGBT) have a different level of preferences towards the use of code-mixing, but the attitude towards code-switching is comparable.

 


Keywords


การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทย; การปนภาษา; การสลับภาษา

Full Text:

PDF

References


กันทริน รักษ์สาคร. (2558). ปัญหาการใช้คำยืมจากภาษาอังกฤษในบริบทไทยและแนวทางการแก้ปัญหา: กรณีศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. สงขลา.

ณกฤติยา เพ็งศรี. (2557). การวิเคราะห์การสลับภาษาในเฟซบุ๊ก. วารสารการวิจัย กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 15-26.

ณัฏฐนุช มั่นสาคร. (2544). การสื่อสารสลับภาษาไทยและภาษาอังกฤษในรายการวิทยุสำหรับเยาวชน. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญาเรศ ธนบัตรและนครเทพ ทิพยศุภราษฎร์. (2562). การใช้คำปนภาษาอังกฤษในละครโทรทัศน์เรื่องยูปริ๊นซ์. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 112-120.

นันทนา รณเกียรติ. (2555). ทัศนคติการตั้งชื่อเล่นสองพยางค์ของคนไทย. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 31(1), 1-19.

นัฐยา บุญกอง. (2542). การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยกับทัศนคติทางภาษาของบุคคลต่างขั้นอาชีพ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภารัฐ ฐิติวัฒนา. (2539). การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยของอาจารย์ต่างสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ บัณฑุวงศ์. (2560). การใช้คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. กรุงเทพฯ.

เบญจภรณ์ อ้อนประเสริฐ. (2533). คำยืมภาษาอังกฤษในจดหมายเหตุไทยสมัยรัชกาลที่ 3-5. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประเทือง ทินรัตน์, อรรถวิทย์ รอดเจริญ และอุบลวรรณ สวนมาลี. (2559).

การศึกษาเชิงสำรวจ: การสัมผัส ภาษา ของผู้พูดภาษาไตหย่า อำเภอซินผิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(46), 331-347.

ประภัสสร สระโพธิทอง. (2554). พฤติกรรมการสลับภาษาในระหว่างปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิก (CPA). การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ภาควิชาภาษาตะวันตก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปาจรีย์ วิเชียรมณี. (2557). ค่านิยมในการตั้งชื่อเล่นเป็นภาษาอังกฤษของคนไทย.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระยาอุปกิตศิลปสาร. (2533). หลักภาษาไทย. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด. กรุงเทพฯ.

มัลลิกา มาภา. (2559). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี.

มงคล เดชนครินทร์. (2558). ศัพท์บัญญัติ-บัญญัติศัพท์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

วัชรี จันทร์หอม. (2554). การปนภาษาอังกฤษในนิตยสารสุขภาพไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจเพื่อการสื่อสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วราลักษณ์ พาพิจิตร์. (2556). การใช้คำปนภาษาอังกฤษในละครเรื่อง ฮอร์โมน เดอะ ซีรีส์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 200-201.

ศยามล ไทรหาญ. (2553). การปนภาษาอังกฤษในภาษาไทยในนิตยสารวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิธร ธาตุเหล็ก. (2541). ทัศนคติของคนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการพูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุกนธีร์ คำดานิตย์และปรีดาพร ศรีสาคร. (2559). การปนกันระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษในสื่อสิ่งพิมพ์ไทย: กรณีศึกษาหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. วารสารวิจัยมข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 52-66.

สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2526). คำต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพฯ. (อัดสำเนา)

สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์, อรทัย ชินอัครพงศ์ และอัญชลี สิงห์น้อย. (2551). ทัศนคติทางภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่มีต่อภาษาของตนเอง ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(2), 1-24.

สมปราชญ์ วุฒิจันทร์, โกวิท พิมพวง และวิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2559). ภาษาถิ่นใต้ของนักเรียนในภาคใต้. วารสารมจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(2), 71-84.

อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2555). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2. สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2540). ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

อำนาจ ปักษาสุข. (2561). ทัศนคติทางภาษาของวัยรุ่นไทยที่มีต่อผู้พูดภาษาไทยกลางและผู้พูดภาษาไทยถิ่น อีสาน. วารสารสหศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 18(2), 65-87.

Akmajian, et al. (2001). Linguistics: An Introduction to Language and Communication. Cambridge: MIT Press.

Dixon, B.R., Bouma, G.D., and Atkinson, G.B.J. (1987). A Handbook of Social Science Research. New York: Oxford University Press.

Ho, JWY. (2007). Code-mixing: Linguistic Form and Socio-Cultural Meaning. The International Journal of Language, Culture and Society, 21, 23-30.

Kannaovakun, P. and Gunther, A.C. (2003). The Mixing of English and Thai Television Program. Manusya: Journal of Humanities, 6 (2), 66-80.

Francis, W.N. (1985). “Word-Making: Some Sources of New Words” in Language: Reading. New York: St. Martin Press.

Yule, G. (1985). The Study of Language. Cambridge: Cambridge University Press.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size