VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

การเปรียบเทียบคำเรียกญาติพื้นฐานของภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียน

อรรถสิทธิ์ บุญสวัสดิ์

Abstract



บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคำเรียกญาติพื้นฐานและระบบเครือญาติของภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียนตั้งแต่รุ่นอายุที่อาวุโสระดับสูงขึ้นไป 3 รุ่นอายุ (รุ่นอายุ+3) ถึงรุ่นอายุที่อาวุโสระดับต่ำลงมา 3 รุ่นอายุ (รุ่นอายุ -3) และ 2) อธิบายความเชื่อมโยงระหว่างระบบเครือญาติกับวัฒนธรรมในสังคมของผู้ที่พูดภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บอกภาษาชาวไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน และนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมายตามแนวคิดของ Nida (1979) และ Katz and Fodor (1963) ผลการวิจัยพบว่าภาษาไทยมีคำเรียกญาติพื้นฐาน จำนวน 16 คำ ภาษาลาว 18 คำ ภาษาเขมร 14 คำ ภาษาเวียดนาม 16 คำ ภาษาพม่า 20 คำ ภาษาจีนกลาง 33 คำ ภาษาอินโดนีเซีย 16 คำ ภาษาตากาล็อก 15 คำ และภาษามาเลย์ 14 คำ สำหรับระบบเครือญาติพบว่า คำเรียกญาติพื้นฐานภาษาเขมร พม่า อินโดนีเซีย ตากาล็อก และมาเลย์ มีการจำแนกมิติความแตกต่าง 4 ประการ ได้แก่ รุ่นอายุ สายเลือด อายุ และเพศ คำเรียกญาติพื้นฐานภาษาไทย ลาว เวียดนาม มีการจำแนกมิติความแตกต่าง 5 ประการ ได้แก่ รุ่นอายุ สายเลือด อายุ เพศ และฝ่ายพ่อหรือแม่ ในขณะที่คำเรียกญาติพื้นฐานภาษาจีนกลาง มีการจำแนกมิติความแตกต่าง 6 ประการ ได้แก่ รุ่นอายุ สายเลือด อายุ เพศ ฝ่ายพ่อหรือแม่ และตระกูล

 

Abstract

 

This research aimed 1) to compare basic kinship terminologies and systems among ASEAN languages from the third generation above ego (G+3) to the third generation below ego (G-3), and 2) to explain the relationship between kinship systems and cultures of the speakers of ASEAN languages. The basic kinship terms were collected from native informants in Thailand, Laos, Cambodia, Vietnam, Myanmar, Singapore, Indonesia, the Philippines, Malaysia, and Brunei. All data were analyzed using the componential analysis approach proposed by Nida (1979) and Katz and Fodor (1963). The study found that there were 16 basic kinship terms in Thai, 18 in Lao, 14 in Khmer, 16 in Vietnamese, 20 in Burmese, 33 in Mandarin Chinese, 16 in Indonesian, 15 in Tagalog, and 14 in Malay. For the basic kinship system, it was found that Khmer, Burmese, Indonesian, Tagalog, and Malay kinship terms contained four dimensions of contrast: generation, lineality, age, and gender, whereas Thai, Lao, and Vietnamese kinship terms contained five dimensions of contrast: generation, lineality, age, gender, and parental side, and Chinese kinship terms contained six dimensions of contrast: generation, lineality, age, gender, parental side, and family. 

 


Keywords


คำเรียกญาติพื้นฐาน; ระบบเครือญาติ; องค์ประกอบทางความหมาย; ภาษาอาเซียน; มิติความแตกต่าง

Full Text:

PDF

References


นิตยา กาญจนะวรรณ. (2556). ภาษาไทยภาษาอาเซียน. ภาษาและหนังสือ (ฉบับภาษาอาเซียน). 44 (44): 26.

ประชาไท. (2558). สถานการณ์สิทธิสตรีในพม่าย่ำแย่ ทั้งวัฒนธรรมบีบคั้นและกลุ่มชาวพุทธหัวรุนแรง. ค้นจาก https://prachatai.com/journal/2015/11/62295

สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (2563). ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของอาเซียน (ASEAN Cultural Diversity). ค้นจาก http://www.aseanthai.net/sub_convert.php?nid=385

สำนักอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2551). ข้อมูลพื้นฐานสาธารณรัฐสิงคโปร์. ค้นจาก http://www.education.dusit.ac.th/ASIAN/info/Singapore_Info.pdf

อรรถสิทธิ์ บุญสวัสดิ์ และสมทรง บุรุษพัฒน์. (2560). การแปรของคำเรียกญาติและระบบคำเรียกญาติภาษาตระกูลไทในประเทศลาว. วารสาร MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences. 6(1).

อรรถสิทธิ์ บุญสวัสดิ์ และสมทรง บุรุษพัฒน์. (2561). การแปรของคำเรียกญาติพื้นฐานภาษาไทดำในประเทศไทย ลาว และเวียดนาม. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 35 (1).

Boonsawasd, A. (2013). Chinese influence on Bouyei basic kinship terms. Dialectologia, 6(11), 67-84.

Bradley, D. (1989). Uncles and aunts: Burmese kinship and gender. South-east Asian Linguisitics: Essays in Honour of Eugénie J.A. Henderson, 147-162.

Huang, S., & Jia, W. (2000). The cultural connotations and communicative functions of Chinese kinship terms. American Communication Journal, 3(3), 32-47.

Jonsson, N. (1999). Some grammatical properties of Samoan kin terms. (Master Thesis). Stockholm University, Stockholm.

Katz, J.J., & Fodor, J.A. (1963). The structure of semantic theory. Language, 39, 170-210.

Löffler, L.G. (1968). A diachronic view of Burmese kinship terminologies. Retrieved from http://www.supras.biz/hosting/loeffler/pdf/loeffler_lg_060_diachronic.pdf

McCoy, J. (1970). Chinese kin terms of reference and address. Family and Kinship in Chinese Society, 209-226.

Nida, E. A. (1979). Componential analysis of meaning: An introduction to semantic structures. New York: Mouton Publisher.

Prapantasiri, V. (1992). Kinship terms in Kham Muang: An ethnosemantic analysis. (Master Thesis). Chulalongkorn University, Bangkok.

Prasithrathsint, A. (1990). Certain significant socio-cultural characteristics as evidenced in the use of kinship terms in Thai. Journal of Thai Language and Literature, 7(1), 61-79.

Prasithrathsint, A. (1996). A comparative study of the Thai and Zhuang kinship systems. Collection of Papers on the Relationship between the Zhuang and the Thai. 12-32.

Prasithrathsint, A. (2001). A componential analysis of kinship terms in Thai. Essays in Tai Linguistics, 261-276.

Qiu, Y. (2003). A comparative study of cultural differences between Chinese and English kin-term system. Journal of Sichuan International Studies University, 19(3), 28-43.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size