VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

ภาพตัวแทนของผู้เรียนอาชีวศึกษาในวาทกรรมข่าวและบทความการศึกษาของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย

สิริภัทร เชื้อกุล, ศิริพร ภักดีผาสุข

Abstract


 

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพตัวแทนของผู้เรียนอาชีวศึกษาที่ประกอบสร้างผ่านกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมข่าวและบทความการศึกษาในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย และวิเคราะห์วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับการประกอบสร้างภาพตัวแทน เก็บข้อมูลจากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย 3 ชื่อฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ และมติชน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 913 ตัวบท ใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (CDA) เป็นกรอบในการศึกษา  ผลการศึกษาพบกลวิธีทางภาษาที่หลากหลายในการประกอบสร้างภาพตัวแทนผู้เรียนอาชีวศึกษาทั้งภาพด้านบวก ภาพด้านบวกที่สะท้อนมุมมองด้านลบของสังคม และภาพด้านลบ ข้อค้นพบที่สำคัญประการหนึ่งคือ ถึงแม้ข่าวและบทความการศึกษาในหนังสือพิมพ์รายวันจะเป็นพื้นที่สำหรับสนับสนุนการเรียนอาชีวศึกษา แต่ก็มีการนำเสนอภาพด้านลบ และภาพด้านบวกที่สะท้อนมุมมองด้านลบของสังคมต่อผู้เรียนอาชีวศึกษา การนำเสนอภาพในลักษณะที่สะท้อนมุมมองด้านลบของสังคมเช่นนี้ แม้ว่าจะมีจุดประสงค์เพื่อเสริมภาพด้านบวก แต่ก็มีส่วนแสดงให้เห็นมุมมองลบของสังคมต่อผู้เรียนอาชีวศึกษา ซึ่งอาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการเรียนอาชีวศึกษาตามนโยบายภาครัฐ

 

Abstract

This paper aims at analyzing the representations of vocational students linguistically constructed in education news and articles in Thai daily newspaper, and analyzing the discourse practice and sociocultural practice related to the construction of these representations. The data were gathered from three Thai daily newspapers: Thairath, Daily News, and Matichon starting from January 01, 2012 until December 31,2018. Intotal, 913 texts were gathered and analyzed. In this study, Critical Discourse Analysis (CDA) was adopted as an analytical framework. The analysis reveals that different kinds of linguistic strategies are employed for constructing the representations of vocational students in three main groups namely positive representations, positive representations with hidden negative attitude, and negative representations. It is noteworthy that although these discourses tend to be a space for promoting vocational education, the negative representations as well as the positive representations with hidden negative views against  vocational students were also found. These representations may unintentionally reemphasize the negative attitude towards vocational students which can be an obstacle of the government policy for the promotion of vocational education.


Keywords


ผู้เรียนอาชีวศึกษา; ภาพตัวแทน; วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์; อัตลักษณ์

Full Text:

PDF

References


กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อและวัฒนธรรมศึกษากับสังคมไทย. รัฐศาสตร์สาร, 23(3), 51-97.

ขัตติยะ นุตวัตร. (2552). กระบวนการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของนักเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษา เอกชนในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

คชาธิป พาณิชตระกูล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ว่าด้วยชายรักชายในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย พ.ศ.2555: การศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2558). หนังสือคำกล่าวนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

จันทิมา เอียมานนท์. (2549). การศึกษาวาทกรรมเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอดส์ในสังคมไทยตามแนวปฏิพันธวิเคราะห์. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

จิดาภา สืบวงษ์. (2553). สาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท: กรณีศึกษานักเรียน นักศึกษา อาชีวศึกษา โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม (ช่างกลสยาม) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพฯ.

ชุณพฤทธิ์กร จิรบวรกิจ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพแทนของผู้ให้สัมภาษณ์ที่เรียกว่า “เซเลบริตี้” ที่สื่อผ่านบทสัมภาษณ์ในนิตยสารภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์ แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงนภา มกรานุรักษ์. (2554). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2554-2564). (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ธีรวุฒิ บุญยโสภณ. (2553). แนวทางการพัฒนาการอาชีวศึกษาและเทคโนโลยีของประเทศไทยในทศวรรษหน้า. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1(1), 156-160.

ธีระ บุษบกแก้ว. (2553). กลวิธีทางภาษากับการนำเสนออัตลักษณ์ของตนเองในกลุ่มเกย์ออนไลน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธีระยุทธ สุริยะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนของชาวโรฮิงญาในสื่อออนไลน์ภาษาไทย: การศึกษาตาม แนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาภรณ์ รัตโน. (2552). การนำเสนออุดมการณ์ทางพุทธศาสนาของหนังสือพิมพ์รายวัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ

ประเวศ วะสี. (2556). การศึกษาเพื่อสัมมาชีพ จุดคานงัดระบบการศึกษาไทย. เดลินิวส์ (14 มิถุนายน 2556): 7.

ไปรยา ศรีสวัสดิ์. (2550). การสร้างอัตลักษณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษาสายช่าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ

ภักดี รัตนมุขย์. (2561). THAILAND 4.0 ตอบโจทย์ประเทศไทย?. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

ภารดี ดวงนภา. (2550). การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุมงคล “จตุคามรามเทพ” ของหนังสือพิมพ์รายวันและความคิดเห็นของประชาชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาเพื่อทบทวนความต้องการกำลังคนเพื่อใช้วางแผนผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา.

สุจิตรา แซ่ลิ่ม (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนของผู้ชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วงปี พ.ศ.2549-2557 ในพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ภาษาไทย: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ

สุดาพร สินประสงค์. (2553). สาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา ระดับอาชีวศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร. ( วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพฯ

สุภัทร แก้วพัตร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนคนอีสานในหนังสือพิมพ์ระดับชาติและหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. ( วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อมร ติ่วกุล. (2553). สภาพพฤติกรรมรุนแรงของนักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยการอาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตจังหวัดตรัง. ( วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Fairclough, N. (1992). Discourse and Social Change. Cambridge: Polity Press.

Fairclough, N. (1995a). Critical Discourse Analysis: The Critical Study of Language. London: Longman.

Fairclough, N. (1995b). Media discourse. London: Edward Arnold.

Machin, D. and Mayr, A. (2012). How to do critical discourse analysis: a multimodal introduction. Los Angeles : SAGE.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size