VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

การสร้างความเป็นธรรมชาติในวาทกรรมท่องเที่ยว: กรณีศึกษานิตยสารท่องเที่ยวไทย

ภูพงัน ดาวกระจาย, จันทิมา อังคพณิชกิจ

Abstract



บทคัดย่อ

               ความเป็นธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหนึ่งของกระแสการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การศึกษาวิจัยนี้จึงต้องการวิเคราะห์ว่าความเป็นธรรมชาติถูกประกอบสร้างความหมายอย่างไรในวาทกรรมท่องเที่ยวไทยในสื่อสิ่งพิมพ์ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เก็บรวบรวมจากนิตยสารท่องเที่ยวไทย 2 ฉบับ ได้แก่ อนุสาร อ.ส.ท. ที่ผลิตโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนิตยสารหนีกรุงไปปรุงฝัน ที่ผลิตโดยบริษัทเอกชน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์วาทกรรมหลากรูปแบบ (Multimodal discourse analysis) (Kress and van Leeuwen, 2006) เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล

                ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นธรรมชาติในนิตยสารท่องเที่ยวไทยถูกประกอบสร้างความหมายผ่านกลวิธีทางภาษาและกลวิธีสัญญะ กลวิธีทางภาษาพบการอ้างถึง การขยายความ อุปลักษณ์ สหบท และการใช้เรื่องเล่า มีบทบาทสำคัญในการสร้างความหมายของความเป็นธรรมชาติในตัวบท สัญญะทัศนะด้านสี ภาพ การจ้องมอง และท่าทางของผู้คน ช่วยขยายความหมายความเป็นธรรมชาติ ให้เด่นชัดขึ้น ทั้งสองกลวิธีช่วยสื่อความหมายความเป็นธรรมชาติในฐานะความบริสุทธิ์ ความสงบ ความสวยงามอุดมสมบูรณ์ ความรู้ ความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นทรัพยากร บทความวิจัยนี้เน้นย้ำให้เห็นว่าองค์ประกอบด้านสัญญะและองค์ประกอบด้านภาษาเป็นกลไกการสื่อสารที่สำคัญยิ่งในสื่อนิตยสารที่จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้กับการท่องเที่ยวไทย

 

Abstract

               Naturalness is a key element of nature tourism in travel industry. This study examined how naturalness is constructed in Thai tourism discourse especially in printed media. The data were collected from two Thai tourism magazines. These were Or Sor Thor (อนุสาร อ.ส.ท.) organized by Tourism Authority of Thailand and Nee Krung Pai Prung Fun (หนีกรุงไปปรุงฝัน) produced by a private company. Both were published from January 2015 to December 2015. Analysis of the data followed the framework of Multimodal Discourse Analysis (Kress and van Leeuwen, 2006)   .

               The result found that naturalness in Thai tourism magazines was constructed linguistically, and semiotically. Linguistic strategies such as referencing, modifications, metaphors, intertextualities and narratives play an important role to make the scene of naturalness.  The visual semiotics of color, pictures, symbols and icons, gaze and posture enhance the meaning of naturalness. Both of strategies make the senses of naturalness as purity, as quietness, as beauty and richness, as knowledge, as holiness, and as resource. This paper emphasizes the vitality of visual and linguistic elements as important communication devices in magazines to promote Thai tourism destination.



Keywords


วาทกรรมหลากรูปแบบ; วาทกรรมวิเคราะห์; ความเป็นธรรมชาติ; การท่องเที่ยวไทย; นิตยสารท่องเที่ยว

Full Text:

PDF

References


จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2562). การวิเคราะห์ข้อความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2553). จากการประพาสป่าล่าสัตว์สู่พระราชพิธีสังเวยกล่อมช้าง: ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในวรรณคดีไทย. เอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติ วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. ค้นจาก http://www.phdlit.arts.chula.ac.th/proceedings_2nd/05.pdf

เอกชัย เอื้อธารพิสิฐ. (2545). สวนสัตว์: มายาคติว่าด้วยธรรมชาติและสัตว์ป่า. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Bottrill, M., Cheng, S., Garside, R., Wongbusarakum, S., Roe, D., Holland, M. B., & Turner, W. R. (2014). What are the impacts of nature conservation interventions on human well-being: a systematic map protocol. Environmental Evidence 3, 16. doi: 10.1186/2047-2382-3-16

David, N., Susan, A. M., & Ross, K. D. (2013). Natural Area Tourism: Ecology, Impacts and Management (2nd ed.). Toronto: Channel View Publications.

Fennell, D. A. (2008). Ecotourism: An Introduction (3rd ed.). London: Routledge.

Fairclough, N. (1992). Discourse and Social Change. Cambridge: Polity.

Goodwin, H. (1996). In pursuit of ecotourism. Biodiversity and Conservation, 5(3), 277-291.

Groenewegen, P. P., van den Berg, A. E., Mass, J., Verheji, R. A., & de Vries, S. (2012). Is a green residential environment better for health? If so, why? Annals of the Association of American Geographers, 102(5): 996-1003.

Halliday, M. A. K. (1978). Language as Social Semiotic: the Social Interpretation of Language and Meaning. London: Edward Arnold.

Kress, G., & van Leeuwen, T. (2006). Reading Images: The Grammar of Visual Design (2nd ed.). London: Routledge.

Maller, C., Townsend, M., Leger, L. S., Handerson-Wilson, C., Pryor, A., Prosser, L., & Moore, M. (2002). Healthy parks healthy people: the health benefits of contact with nature in park context. Parks Stewardship Forum, 26(2), 51-83.

Milner-Gulland, E. J., McGregor, J. A., Agarwala, M., Atkinson, G., Beven, P., Clements, T., & Wilkie, D. (2014). Accounting for the impact of conservation on human well-being: well-being and conservation. Conservation Biology, 28(5), 1160-1166.

Yang, W., Madeleine, C. M., & Will, R. T. (2015). Quantifying human well-being for sustainability research and policy. Ecosystem Health and Sustainability, 1(4), 1-13.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size