VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

การเปลี่ยนผลัดการเล่าเรื่องภาษาไทยในชุมชนการเล่นบทบาทสมมติบนเฟซบุ๊ก : ศึกษาตามแนวคิดกฎในการมอบผลัดของ แซกส์ และ คณะ

มิ่งขวัญ สังขะวัฒนะ

Abstract



บทคัดย่อ

การเล่นบทบาทสมมติบนเฟซบุ๊กเป็นการเล่าเรื่องผ่านสื่อประเภทหนึ่ง มีลักษณะคล้ายการเขียนนวนิยายเรื่องเดียวต่อกันโดยผู้เขียนหลายคน ผู้เขียนแต่ละคนจะสร้างตัวละครและผลัดกันเขียนเรื่องผ่านการสวมบทบาทของตัวละครของตนเองกับผู้เขียนคนอื่น ในงานวิจัยนี้เรียกว่า “ผู้เล่น” ซึ่งหมายถึง “ผู้เล่นบทบาทสมมติ” ทำให้ผลัดการสนทนามีความยาวมาก จนบางครั้งต้องเกิดการจัดการผลัดขึ้น เพื่อป้องกันการชิงผลัดซ้อนกันและรักษาความเป็นเอกภาพของเรื่องที่ร่วมกันเล่า

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการผลัดการเล่าเรื่องในการเล่นบทบาทสมมติบนเฟซบุ๊ก โดยใช้ข้อมูลจากกลุ่มการเล่นบทบาทสมมติบนเฟซบุ๊กระยะสั้น (ใช้เวลาเล่น 7-15 วัน) จำนวน 2 กลุ่ม และ กลุ่มการเล่นระยะยาว (ใช้เวลาเล่น 3 เดือน – 1 ปี) จำนวน 2 กลุ่ม โดยใช้แนวคิด “กฎการมอบผลัด” ของแซ็กส์และคณะ (Sack et al., 1974) และ ระบบผลัดในการสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ ของศิริพร ปัญญาเมธิกุล (2558) มาวิเคราะห์ เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะข้อความประเภทสนทนา

ผลการศึกษาพบว่า ในการเล่นบทบาทสมมติบนเฟซบุ๊กจากข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมด มีการจัดการผลัดเป็นไปตามกฎการมอบผลัดตามที่แซ็กส์และคณะและศิริพร ได้อธิบายไว้ แต่ในกลุ่มการเล่นระยะยาวผู้วิจัยพบว่า มีข้อตกลงเพิ่มเติมร่วมกันเพื่อจัดการผลัด คือ มีการกำหนดระบบสัญลักษณ์ หรือ มีการตกลงลำดับการส่งผลัดร่วมกันก่อนเริ่มเล่น เช่น การใช้ #000 เพื่อสื่อสารบอกผู้เล่นคนอื่นให้รอการตอบของผู้ที่ระบุ #000 ก่อน หรือ การใช้  #777 เพื่อบอกว่าตนเองไม่อยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นต้น การจัดการผลัดลักษณะนี้ เกิดขึ้นในกลุ่มตัวอย่างการเล่นระยะยาวเท่านั้น ไม่ปรากกฎในกลุ่มตัวอย่างการเล่นระยะสั้น แม้ว่าบางกลุ่มอาจมีจำนวนผู้ร่วมสนทนาจำนวนมากก็ตาม

งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าในการเล่นบทบาทสมมติบนเฟซบุ๊กนั้น เมื่อกลุ่มการเล่นมีขนาดใหญ่และมีระยะเวลาการเล่นยาวนานอาจก่อให้เกิดข้อตกลงร่วมกันในการผลัดขึ้น เพื่อลดปัญหาในการสื่อสาร อย่างไรก็ดีในการมอบผลัดนั้นไม่มีการมอบให้ผู้ใดผู้หนึ่งชัดเจน ดังนั้นผู้เล่นแต่ละคนอาจต้องพยายามชิงผลัดในการเล่าเรื่องด้วยความเร็ว เพื่อให้การเล่าของตนเองนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการเล่นบทบาทสมมติบนเฟซบุ๊กและรักษาเอกภาพของเรื่องไว้ ในขณะที่เกิดการสนทนาแบบตามเวลาจริง (real time chat) นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นความพยายามในการทำลายข้อจำกัดในการสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ด้วย

 

Abstract

In Thailand, Facebook role-playing online narratives are among outstanding narrative discourses.Many recognized Facebook role-players create role-playing stories and narrate them together, bases on character roles in individual stories. There are special rules for organizing the sequence of appearances and turn-taking because of the length of role-playing texts, to avoid overlapping and maintain story unity.

This research studies and analyzes the organization of turn-taking in Facebook narrative role-playing communities. Two groups of short-term Facebook role-playes, lasting from seven to ten days; and two groups of long-term Facebook role-players, lasting from three to 12  months were analyzed following research precedent set by Sack et al., (1974), Panyametheekul, (2015). Data included conversational characteristics expressed in online role-playing.

Results were that in long-term role-playing, rules about turn-taking organization were announced by “custom signs.” Some players used the custom sign #000 to indicate “please waiting for me to type,” #777 for “away from the keyboard” (AFK), and made sequences or rules for player turn-taking correspondingly. This aspect appears only in long-term role-playing, though in short-term role-playing, there are many participants in each Facebook posting.

These findings reflect that there are special turn-taking organizational rules in Thai Facebook role-playing that may not appear in face-to-face conversations. Turn-taking organization was innovated because many players per group lacked a clear way to choose the subsequent speaker otherwise the subsequent speakers choose themselves, so each player was obliged to become involved in the conversation quickly. In addition, the implication is that players try to reduce computer mediated communication (CMC) problems or limitations, to maintain narrative unity.

 


Keywords


การเปลี่ยนผลัด; การจัดการผลัด; เฟซบุ๊ก; การเล่นบทบาทสมมติ

Full Text:

PDF

References


ธํารงสิทธิ์ พจนานุภาพ และสิริวรรณ นันทจันทูล. (2558). การใช้คำของคำคมที่ปรากฏในเว็บเพจคำคมจากเครือค่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2558, 786-793. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พีรญา กล่อมจิต. (2561). การใช้ภาษาในเพจใต้เตียงดารา. ม.ป.ก., การนำเสนอโครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติของนักศึกษา ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2561 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, กรุงเทพ ค้นจาก http://hs.ssru.ac.th/useruploads/files/20181003/882ea2309d9cb9baa560d85f084f546d93baa101.pdf

มิ่งขวัญ สังขะวัฒนะ และสุธาสินี ปิยพสุนทรา. (2562). คำเรียกตัวละครและคำเรียกเจ้าของตัวละครของผู้เล่นชาวไทย ในกลุ่มการเล่นบทบาทสมมติบนเฟซบุ๊ก : การศึกษาด้วยแนวคิดปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ภาษาผ่านสื่อคอมพิวเตอร์. เอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติสรรพศาสตร์สรรพศิลป์ ประจำปี 2562 (394-411). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วัชระ กัณธียากรณ์. (2557). การวิเคราะห์รูปแบบการร้องด้นสดของ บอบบี แมคเฟอร์ริน. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

รัชชานนท์ จิตรีสรรพ และนรุตม์ คุปต์ธนโรจน์. (2562) อนุภาคและแบบเรื่องของเรื่องเล่าสยองขวัญสมัยใหม่ในแอปพลิเคชันจอยลดา. ค้นจาก https://rsucon.rsu.ac.th/proceeding/article/2178

ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2546). ความต่อเนื่องของปฏิสัมพันธ์ในห้องสนทนาไทย : การส่งผลต่อกันระหว่างการเชื่อมโยงความ การมอบผลัดและความเกี่ยวข้องของเรื่องที่สนทนา. (วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ.

ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2558). ภาษาและอินเทอร์เน็ต Language & the Internet. กรุงเทพฯ: พริ้นท์ คอร์เนอร์

สิริญญา สุขสวัสดิ์ (2558). ลักษณะภาษาและกลวิธีการใช้ภาษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ในหน้าแฟนเพจ “ข้อความโดนๆ” ในเฟซบุ๊ก. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Crytal, D. (2001). Language & the internet. United Kingdom : Cambridge University Press

Herring, S. C. (1999). Interactional coherence in CMC. Journal of Computer-Mediated Communication 4 (4), 0. doi: 10.1111/j.1083-6101.1999.tb00106.x

Sack et al. (1974). A Simplest Systematics for the Organization of Turn-Taking for Conversation. Language, 50(4), 696-735.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size