VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

สำเนียงภาษาไทยโซ่ง จังหวัดเพชรบุรี

สุพิดา เกิดอู่ม

Abstract


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเสียงและระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยโซ่งในจังหวัดเพชรบุรี และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาเปรียบเทียบกับภาษาไทดำที่พูดที่ประเทศเวียดนามจากงานวิจัยในอดีตเพื่อพิจารณาความเหมือนและความแตกต่างระหว่างสำเนียงภาษาไทยโซ่งที่พูดที่จังหวัดเพชรบุรีและสำเนียงภาษาไทดำที่พูดที่ประเทศเวียดนาม ผลการศึกษาพบว่าภาษาไทยโซ่งมีการแยกเสียงรวมเสียงวรรณยุกต์แบบ ABCD123-4 โดยวรรณยุกต์ DLDS123 และ DLDS4 เป็นวรรณยุกต์เดียวกันกับวรรณยุกต์ B123 และ B4 ตามลำดับ และมีจำนวนหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง ดังนี้ วรรณยุกต์ 1 A123 กลางค่อนข้างต่ำ-ขึ้น วรรณยุกต์ 2 A4 กลางค่อนข้างต่ำ-ขึ้น-ตก วรรณยุกต์ 3 B123 กลางค่อนข้างต่ำ-ขึ้น-สูง วรรณยุกต์ 4 B4 กลางระดับ วรรณยุกต์ 5 C123 กลางค่อนข้างต่ำ-ตก บีบเส้นเสียง และวรรณยุกต์ 6 C4 กลาง-ตก  บีบเส้นเสียง และจากการเปรียบเทียบระบบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยโซ่ง จังหวัดเพชรบุรีกับภาษาไทดำ ประเทศเวียดนามพบว่าทั้ง 2 ภาษามีการแยกเสียงรวมเสียงวรรณยุกต์และจำนวนหน่วยเสียงวรรณยุกต์ที่เหมือนกัน หากแต่สัทลักษณะของหน่วยเสียงวรรณยุกต์ A123 และ A4 ของภาษาไทยโซ่งที่พูดที่จังหวัดเพชรบุรีแตกต่างจากภาษาไทดำที่พูดที่ประเทศเวียดนาม 


Keywords


สำเนียง, ภาษาไทยโซ่ง, ภาษาไทดำ

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size