VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียบทพูดเข้าจังหวะการออกเสียง สระเกร็ง-คลายภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกัน

พัชรี โชคเพิ่มพูน, สุกัญญา เรืองจรูญ, ติยนุช รู้แสวง

Abstract


ผู้วิจัยพัฒนาสื่อมัลติมีเดียบทพูดเข้าจังหวะ เพื่อแก้ปัญหาการออกเสียงสระเกร็ง-คลายภาษาอังกฤษของนักเรียน จำนวน 3 คู่ 6 เสียง คือ /i/-/ɪ/, /u/-/ʊ/, และ /eɪ/-/ɛ/ งานวิจัยนี้ศึกษาว่าการใช้สื่อมัลติมีเดียบทพูดเข้าจังหวะจะทำให้นักเรียนมีลักษณะการออกเสียงสระเกร็ง-คลายภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยวัดจากค่าระยะเวลา ค่าความถี่ฟอร์แมนท์ที่ 1 และ 2 (F1 และ F2) และนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบให้อยู่ในช่วงค่าเฉลี่ยต่ำสุดถึงช่วงสูงสุดกัยผลการวิจัยของไฮเลนแบรนด์และคณะ (Hilenbrand et al. 1995) ผลการวิจัยพบว่า ค่าระยะเวลาการออกเสียงสระ /ɪ/ /ʊ/ /eɪ/ และ /ɛ/ ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา ค่าความถี่ฟอร์แมนท์ที่ 1 (F1) การออกเสียงคู่เสียงสระ /i/-/ɪ/, /u/-/ʊ/, และ /eɪ/-/ɛ/ อยู่ในช่วงต่ำสุดถึงช่วงสูงสุดของเจ้าของภาษา แต่ค่า F1 ของเสียงสระ /ɪ/ /ʊ/ /eɪ/ ห่างไกลค่า F1 ของเจ้าของภาษามากขึ้น ส่วนค่าความถี่ฟอร์แมนท์ที่ 2 (F2) ของการออกเสียงคู่เสียงสระ /i/ และ /eɪ/ ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาเพิ่มขึ้นโดยมีค่าอยู่ในช่วงต่ำสุดถึงช่วงสูงสุดของเจ้าของภาษา แต่ค่า F2 ของการออกเสียงสระ /ɪ/ และ /ɛ/ ห่างไกลจากค่า F2 ในเจ้าของภาษามากขึ้น อีกทั้งคู่เสียงสระ /u/-/ʊ/ ไม่มีค่าใกล้เคียงเพิ่มขึ้นและไม่อยู่ในช่วงต่ำสุดถึงช่วงสูงสุดของเจ้าของภาษา อย่างไรก็ตามเมื่อนำค่า F1 และ F2 ที่ได้มาจัดรูปแบบด้วยการทำให้เสียงสระมีค่าเป็นปกติ (Vowel Normalization) พบว่า นักเรียนสามารถออกเสียงคู่เสียงสระเกร็ง-คลาย ทั้ง 3 คู่เสียงด้วยรูปแบบคล้ายกับเจ้าของภาษาเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้สื่อมัลติมีเดีย ในเชิงที่มีค่า F1 และ ค่า F2 ต่างจากช่วงค่าเฉลี่ยต่ำสุดและสูงสุดของเจ้าของภาษาที่ไฮเลนแบรนด์และคณะได้ระบุไว้


Keywords


สระเกร็ง-คลายภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกัน, ค่าระยะเวลา, ค่าความถี่ ฟอร์แมนท์ที่ 1 และ 2, สื่อมัลติมีเดียบทพูดเข้าจังหวะการออกเสียง สระเกร็ง- คลายภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกัน

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size