VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

พัฒนาการภาษาในระหว่างของอดีตกาลในภาษาอังกฤษ ของนักเรียนไทยที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน

ณญาดา สีลาเขตต์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาษาในระหว่าง (Interlanguage) ในการใช้รูปอดีตกาลภาษาอังกฤษ ของนักเรียนที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียน 3 ระดับชั้น ได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 3 และ 6 จำนวนทั้งหมด 90 คน แบ่งเป็นระดับชั้นละ 30 คน โดยทำการเก็บข้อมูลจากสถาบันสอนพิเศษในจังหวัดเชียงราย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งจำแนกประเภทของโครงสร้างประโยครูปอดีตกาลออกเป็น 3 โครงสร้าง คือ 1) ประโยคบอกเล่า(Affirmative Sentence) 2) ประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence) และ 3) ประโยคคำถาม (Interrogative Sentence) ผลการวิจัยพบว่า ข้อผิดพลาดในการใช้รูปอดีตกาลลดจำนวนลงตามระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษาในระหว่างมีความใกล้เคียงกับภาษาเป้าหมายมากขึ้นเมื่อระดับการศึกษาเพิ่มขึ้น โดยโครงสร้างที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ก่อนคือประโยคบอกเล่า ปฏิเสธ และคำถามตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องมาจากระดับความซับซ้อนของระบบภาษาแรก (L1) และภาษาเป้าหมาย (Target Language) ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบปัจจัยอื่นๆที่ทำให้พบปริมาณข้อผิดพลาดพลาดเพิ่มมากขึ้น ได้แก่การระบุคำบอกเวลา (Time Marker) และการใช้กริยาช่วย (Auxiliary Verbs) 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size