VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

พัฒนาการของเสียงวรรณยุกต์ที่เกิดจากอิทธิพลของเสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำในภาษามอญ: การศึกษาเชิงกลสัทศาสตร์

ผณินทรา ธีรานนท์

Abstract


เสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำต่อการเกิดของเสียงวรรณยุกต์มี 2 แนวคิด แนวคิดหนึ่งเชื่อว่าเสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำทำให้เกิดเสียงวรรณยุกต์ขึ้น (rising) อีกแนวคิดหนึ่งเชื่อว่าเสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำทำให้เกิดเสียงวรรณยุกต์ตก (falling) งานวิจัยนี้พิสูจน์แนวคิดที่ดังกล่าวโดยศึกษาภาษามอญ ในตระกูลภาษามอญ-เขมร ผู้บอกภาษามี 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป 35-45 ปี และต่ำกว่า 20 ปี ผู้วิจัยใช้วิธีเชิงกลสัทศาสตร์ และโสตสัทศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ คือ โปรแกรม Praat และสถิติ เช่น t-test ผลการวิจัยพบว่า เสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียง กล่าวคือ ในภาษามอญ ค่าความถี่มูลฐานหรือค่าเซมิโทนของสระที่ตามหลังเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวจะมีค่ามากกว่าเซมิโทนของสระที่ตามหลังเสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำ ในทั้ง 3 กลุ่มอายุ อย่างไม่มีนัยสำคัญ ในแง่การขึ้นตกของระดับเสียง ผลการวิจัยพบว่า เสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำทำให้เกิดได้ทั้งเสียงขึ้นและตก ผลการวิจัยเชิงกลสัทศาสตร์ช่วยยืนยันว่าแนวคิดเกี่ยวกับอิทธิพลของเสียงพยัญชนะต้นทั้ง 2 แนวคิดไม่มีแนวคิดใดถูกหรือผิด


Keywords


พัฒนาการของเสียงวรรณยุกต์ เสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำ กลสัทศาสตร์

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size