VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

การแปลบทบรรยายใต้ภาพยนตร์ (subtitles) ภาพยนตร์กะเทย จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ : กรณีศีกษาภาพยนตร์เรื่อง “ปล้นนะยะ(ภาค1)” และ “ว้ายบึ้มเชียร์กระหึ่มโลก”

สุทธิพงศ์ เพิ่มพลู

Abstract


งานวิจัยนี้วิเคราะห์ภาษากะเทยในภาษาไทย วิธีการแปลภาษากะเทยจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และถ่ายทอดคำที่ไม่มีสมมูลภาพในระดับคำในภาพยนตร์เรื่อง “ปล้นนะยะ (ภาค 1)” และ “ว้ายบึ้ม เชียร์กระหึ่มโลก” ผลการวิจัยพบว่าลักษณะภาษากะเทยในภาษาไทยสามารถจำแนกได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ ก.) คำศัพท์ วลี สำนวนและสแลงภาษากะเทย ได้แก่ คำศัพท์ สำนวน และวลีที่สร้างขึ้นใหม่ และคำศัพท์ สำนวนและวลีที่ดัดแปลงจากภาษามาตรฐาน ข.) คำเรียกขานและสรรพนามในภาษากะเทย ค.) คำผรุสวาทและคำต้องห้ามภาษากะเทย ง.) ศัพท์ วลี และประโยคคล้องจองในภาษากะเทย จ.) ศัพท์ วลี และสำนวนกำกวมในภาษากะเทย และ ฉ.) คำอนุภาคและคำบ่งบอกความเป็นกะเทย โดยคำศัพท์ วลี สำนวนและสแลงเป็นประเภทที่พบมากที่สุด ขณะที่คำอนุภาคและคำบ่งบอกความเป็นกะเทยพบน้อยที่สุด ในด้านการแปลภาษากะเทย ผู้แปลให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความหมายมากที่สุด และให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดลีลาภาษาและความเป็นภาษากะเทยตามลำดับ ในการถ่ายทอดคำที่ไม่มีสมมูลภาพในระดับคำ  ผู้แปลใช้ศัพท์เฉพาะวัฒนธรรมในภาษาปลายทางมากที่สุด ใช้วิธีแปลด้วยคำที่มีความหมายกว้างน้อยที่สุด และไม่ใช้คำยืมและการยกตัวอย่าง


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size