ความสัมพันธ์ของการขยายตัวของค้าชายแดนและการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย

การค้าชายแดนเริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในความเป็นจริงแล้วการค้าชายแดนเป็นการค้าระดับเล็กที่เป็นรูปแบบของการค้าภายในพื้นที่ระหว่างชาวบ้านของฝั่งไทย และประเทศเพื่อนบ้าน หากแต่ปัจจุบันการค้าชายแดนถูกมองในมุมที่กว้างขวางมากขึ้น จากที่เคยเน้นในการส่งออก และนำเข้าสินค้ากับประเทศที่มีแนวชายแดนเชื่อมต่อกัน เริ่มที่จะเชื่อมโยงไปยังการค้ากับประเทศที่สาม ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของทุน แรงงาน สินค้า และทรัพยากรระหว่างประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่าง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ สปป.ลาว กัมพูชา และจีนตอนใต้ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ทำให้เกิดการพัฒนาเส้นทางคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานบนระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC) และระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EWEC) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสะดวกในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางบก และทำให้เกิดการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมืออื่นที่มีความสำคัญ ได้แก่ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS) เป็นต้น จากความสำคัญของการค้าชายแดน ทำให้รัฐบาลมองเห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ชายแดน ในวันที่ 19 มิถุนายน จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และทำการประกาศพื้นที่ในการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยแบ่งพื้นที่ในการพัฒนาออกเป็นสองระยะ 2557 … Continue reading ความสัมพันธ์ของการขยายตัวของค้าชายแดนและการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย