VACANA
School of Liberal Arts
Mae Fah Luang University

ISSN: 2287-0903

 

ป้ายร้านอาหารริมทางย่านเยาวราชและย่านจตุจักร: การวิเคราะห์ตามแนวภูมิทัศน์สัญศาสตร์

ภาษร วิรุณพันธ์, ศิริพร ปัญญาเมธีกุล

Abstract


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของป้ายร้านอาหารริมทางในย่านเยาวราชและย่านจตุจักร โดยใช้แนวคิดภูมิทัศน์สัญศาสตร์ โดยเก็บข้อมูลจากป้ายร้านอาหารริมทางย่านเยาวราช จำนวน 47 ป้าย ย่านจตุจักร 42 ป้าย รวมทั้งหมด 89 ป้าย ผลการวิเคราะห์พบว่าป้ายร้านอาหารริมทางมีลักษณะ ดังนี้ 1) สี สีพื้นหลังบนป้ายทั้งย่านเยาวราชและย่านจตุจักร  ผู้ประกอบการนิยมใช้สีขาวเป็นหลัก ส่วนสีตัวอักษรที่ผู้ประกอบนิยมใช้ทั้งในย่านเยาวราชและย่านจตุจักร คือ สีแดงและสีดำ 2) ชื่อร้าน ย่านเยาวราชมีป้ายที่มีชื่อร้านมากกว่าป้ายย่านจตุจักรแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับชื่อ  3) รายการอาหารและเครื่องดื่ม ป้ายย่านเยาวราช รายการอาหารปรากฏในตำแหน่งรองจากชื่อร้านมากที่สุด ส่วนย่านจตุจักร รายการอาหารและเครื่องดื่มปรากฏอยู่ในตำแหน่งด้านบนของป้ายเสมอ 4) รายละเอียด/ข้อมูลเพิ่มเติม ป้ายย่านเยาวราชผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับข้อความที่เกี่ยวข้องเวลา/สถานที่/การติดต่อ และลักษณะเด่นเฉพาะ/พิเศษ ส่วนป้ายย่านจตุจักรผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับลักษณะเด่นเฉพาะ/พิเศษมากที่สุด 5) ราคา ป้ายในย่านเยาวราชปรากฎการจัดวางราคาด้านขวามากที่สุด ส่วนย่านจตุจักรปรากฏการจัดวางราคาด้านล่างด้านขวามากที่สุด 6) สัญลักษณ์/โลโก้ ป้ายย่านเยาวราชมีการใช้สัญลักษณ์/โลโก้มากกว่าย่านจตุจักร และ 7) รูปภาพอาหารและเครื่องดื่ม ป้ายร้านอาหารริมทางย่านจตุจักรเน้นรูปภาพอาหารและเครื่องดื่มมากกว่าย่านเยาวราช

 

Abstract

This research aims to analyze the composition of roadside restaurant signs in the Yaowarat and Chatuchak districts of Bangkok. Using a semiotic landscape approach, the data was collected from 47 restaurant signs in Yaowarat and 42 from Chatuchak, including 89 signs total. The results showed that (1) Color: the most popular background color was white, followed by red and yellow in both Yaowarat and Chatuchak. The most popular font colors were red and black; (2) Name: Yaowarat quarter had more named signs than Chatuchak, showing the importance of names in this area; (3) List of food and drinks: Yaowarat has signs for food and drinks second most, after the name. Chatuchak, the list of food and drinks always appear on top of the sign; (4) Details and information: Yaowarat contained information about time, place. contact and special features while those in Chatuchak focused on the most special features; (5) Price: Yaowarat display prices on the right while those in Chatuchak display them on the bottom right; (6) Logo: Yaowarat signs used more logos than those in Chatuchak; and (7) Photographs of food and drinks: Chatuchak signs focused more on photographs of food and drinks than those in Yaowarat.


Keywords


ภูมิทัศน์สัญศาสตร์; ป้ายร้านอาหารริมทาง; กรุงเทพมหานคร

Full Text:

PDF

References


กฤตพล วังภูสิต. (2555). ชื่อธุรกิจการค้าในย่านสยามสแควร์: การศึกษาตามแนวภูมิทัศน์เชิงภาษาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ

ครอบครัวข่าว. (2559). กรุงเทพฯ เมืองอาหารริมทางที่ดีที่สุดในโลก. ค้นจาก http://news.ch3thailand.com/ข่าวด่วน/22990/กรุงเทพฯ-เมืองอาหารริมทางที่ดีที่สุดในโลก.html

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ (Discourse Analysis). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (2560). ตลาดนัดจตุจักร (Chatuchak Weekend Market).ค้นจาก https:/www.dpu.ac.th/dpuplace/สวนจตุจักร.html

เอสโตโปลิส. (2560). หลายเรื่องราวที่ ‘ไชน่าทาวน์ เยาวราช’ ถนนสายมังกรของกรุงเทพฯ.ค้นจาก https://www.estopolis.com/article/ไชน่าทาวน์-เยาวราช-ของกิน-ที่เที่ยว-ไป-อย่างไร

Backhaus, P. (2006). Multilingualism in Tokyo: A look into the linguistic landscape. International Journal of Multilingualism, 3(1), 52-66.

Claus, R.J. (2002). The Value of Signs for Your Business. Retrieved from http://www.signs.org/Portals/0/docs/signline/signline_38.pdf

Dray, S. (2010). Ideological Struggles on Signage in Jamaica. In a Semiotic Landscapes: Language, Image, Space. London: Continuum.

Eiseman, J. (2000). Pantone guide to communicating with color. USA: HOW Books.

Hamid, S.B.A. (2016). Road Signs: Geosemiotics and Human Mobility. (Doctoral dissertation). Aalborg University.

Huebner, T. (2006). Bangkok’s Linguistic Landscapes: Environmental Print, Codemixing and Language Change. International Journal of Multilingualism, 3(1), 31-51.

Kress, G & van Leeuwen, T. (2001). Multimodal Discourse: The Modes and Media of Contemporary Communication. New York: Bloomsbury Academic.

Kress, G & van Leeuwen, T. (2006). Reading Images: The Grammar of Visual Design. New York: Routledge.

Scollon, R & Scollon, S.W. (2003). Discourses in Place: Language in the Material World. New York: Routledge.

Yu, W. (2017). A Discussion of Color Metaphors From the Perspective of Cognition and Culture. CS Canada, 15(1), 19-23.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


User
Notifications
Journal Content

Browse
Font Size